สพฉ. ดัน Smart Living เชื่อมระบบแพทย์ฉุกเฉินช่วยผู้สูงวัย

08 ก.ย. 2561 | 05:49 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

สพฉ. ดัน Smart Living นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะเชื่อมระบบแพทย์ฉุกเฉิน ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และประชากรกลุ่มเปราะบางในเมืองหรือในชุมชน ที่ไม่สามารถพึ่งพิงตนเองได้ ผ่าน Smart Public Healthcare ที่เชื่อมโยงข้อมูลทั้งเทศบาลเมือง และสถานพยาบาล เพื่อช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวมเร็วและต่อเนื่องโดยในปี 2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็น 6.8% ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนการสำรวจล่าสุด พบจำนวนของประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นเป็น 14.9% ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีจำนวนผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นประชากรกลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ในงานประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้มีการนำเสนอวัตกรรรมที่เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อใช้ลดอัตราของการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนในทุกวัย รวมถึงผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ

ตัวทวนสัญญาณและอ่านค่าแก๊สรั่วภายในบ้าน นวัตกรรมที่ด้รับการนำเสนอ คือ “Thailand Smart Living” ซึ่งเป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับสังคมสูงวัยและดู แลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ภาวะติดเตียง คนพิการ หรือประชากรกลุ่มเปราะบาง โดย รศ.วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หัวหน้าโครงการและผู้คิดค้น นวัตกรรม Thailand Smart Living ระบุถึงที่มาที่ไปของนวัตกรรมชิ้นนี้ว่า โครงการนวัตกรรม Thailand Smart Living คือโครงการที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นถึงปัญหาทางสังคม โดยได้หยิบยกเอาปัญหาคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้สูงอายุหรือประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ ซึ่งช่วยเหลือตนเองไม่ได้และไร้คนดูแล โดยกลุ่มประชากรดังกล่าวมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สายรัดข้อมืออัจฉริยะ สำหรับรูปแบบนวัตกรรมของระบบ “Thailand Smart Living”  เน้นการสร้างระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ และประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ ในเมืองหรือในชุมชนที่ไม่สามารถพึ่งพิงตนเองได้ ผ่านรูปแบบการทำงานแบบ Smart Public Healthcare ที่จะเชื่อมโยงข้อมูลทั้งเทศบาลเมือง โรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลเอกชน คลินิกชุมชนหรือคลินิกเอกชน โดยในระบบ Smart Public Healthcare จะประกอบไปด้วย  ระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้สูงอายุภายในบ้านผ่านสายรัดข้อมืออัจฉริยะ ที่คอยเก็บข้อมูลและรายงานกิจวัตรประจำวัน พร้อมทั้งอุปกรณ์ในสายรัดข้อมืออัจฉริยะ จะเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ตรวจนับการออกนอกพื้นที่พักอาศัย เพื่อป้องกันการพลัดหลง และแจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติ เหตุหกล้มหรือต้องการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน สามารถส่งการแจ้งเตือนไปยังครอบครัวหรือผู้ดูแลเพื่อให้ ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
090861-1927-9-335x503 เพิ่มเพื่อน

ในระบบระบบ Smart Public Healthcare จะมีอุปกรณ์เกตเวย์ประจำบ้าน ที่จะเป็นอุปกรณ์รับสัญญาณจากสายรัดข้อมือ พร้อมทั้งติดตามกิจกรรมปุ่มขอความช่วยเหลือไร้สาย หรือตัวทวนสัญญาณอื่นๆ ที่อยู่ภายในพื้นที่และส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ดังกล่าวไปยังระบบ Cloud บนอินเตอร์เน็ต เพื่อทำการวิเคราะห์ และรายงานสถานะบนระบบดาต้าเบสและแอพพลิเคชั่น

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นโทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อติดต่อกับหน่วยงานที่ดูแล ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูลจากอุปกรณ์รัดสายข้อมือติดตามกิจกรรมและปุ่มขอความช่วยเหลือ ระบบยังมีปุ่มขอความช่วยเหลือไร้สาย เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับติดตั้งไว้ในที่พักอาศัย ใช้สำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มประชากรเปราะบาง ขอความช่วยเหลือโดยอุปกรณ์จะทำงานโดยการกดที่ตัวอุปกรณ์หรือดึงสายกระตุกที่ห้อยจากตัวอุปกรณ์ซึ่งจะทำให้ เกิดการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังเบอร์ที่ได้กำหนดไว้อาทิ เบอร์สายด่วน 1669 หรือเบอร์ญาติ

อุปกรณ์เกตเวย์ประจำบ้าน รูปแบบการทำงานของ Smart Public Healthcare ยังมีระบบติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งและใช้งานอยู่ในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถติดตามและเฝ้าระวังเหตุ การณ์ที่ผิดปรกติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าให้การช่วยเหลือในกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ อย่างทันท่วงทีด้วย

ขณะที่ นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า โครงการ ด้วยความทันสมัยของนวัตกรรม “Thailand Smart Living”ผ่านเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เชื่อว่าจะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ ซึ่งระบบของนวัตกรรม Thailand Smart Living อยู่ในระหว่างการทดลองเชื่อมโยงการทำงานในระบบสายด่วน 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งหากประสบผลสำเร็จเราจะกระจายติดตั้งให้กับท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้ใช้ด้วย

นอกจากนี้ ในส่วนของสพฉ.เองก็ได้ พยายามพัฒนาระบบในการแจ้งเหตุ ให้ตอบรับกับยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแอพพลิเคชั่นที่ให้ประชาสามารถแจ้งเหตุได้ และเรายังพัฒนาการทำงานร่วมกับหน่วยงานภารรัฐอื่นๆ อีกหลายหน่วยงาน ซึ่งในอนาคตประชาชนจะสามารถแจ้งเหตุผ่านวีดีโอคอลได้อีกช่องทางหนึ่งด้วยเช่นกัน

23626556