รู้ยัง F-16 เครื่องบินขับไล่ที่ตก ของทัพฟ้าไทย เป็นเครื่องมือ 2 อายุกว่า 40 ปี

08 มี.ค. 2565 | 09:16 น.

เครื่องบิน F-16 ตก  สังกัดกองบิน 1 ที่ จ.ชัยภูมิ ล่าสุด ฐานเศรษฐกิจ รวบรวมข้อมูล เปิดประวัติ F-16 เครื่องบินขับไล่ ของทัพฟ้าไทย

เกิดเหตุระทึก เครื่องบิน F-16 ตก  สังกัดกองบิน 1 ที่ จ.ชัยภูมิ นักบินดีดตัวออกจากเครื่องได้  โดย พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ 13.40 น. มีรายงานเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19 ก (F-16A) หมายเลข 10331 สังกัดฝูงบิน 103 กองบิน 1 ประสบอุบัติเหตุบริเวณพื้นที่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ขณะฝึกบินในภารกิจการบินขับไล่ขั้นมูลฐาน โดยเป็นเครื่องบินหมายเลข 1 ของหมู่บิน 2  

เบื้องต้นมีรายงานว่า จุดที่เครื่องบินตกเป็นไร่นาห่างจากชุมชนประมาณ 5 กม. ประชาชนแจ้งว่าเห็นเครื่องบิน F16 บินส่ายไปมาและร่อนลงด้วยความเร็ว มีคนดีดตัวออกจากเครื่อง 1 คน ทราบชื่อคือ เรืออากาศเอก ปกรณ์ พิสิทธิ์ศาสตร์ มีชั่วโมงบินรวม 782 ชั่วโมงบิน ตำแหน่งหัวหน้าหมู่บิน ได้รับบาดเจ็บที่แขนขวาและคอ ได้เคลื่อนย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลกองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา

รู้ยัง F-16 เครื่องบินขับไล่ที่ตก ของทัพฟ้าไทย เป็นเครื่องมือ 2 อายุกว่า 40 ปี

เครื่องบิน F-16 A หมายเลข 10331

  • เป็นเครื่องบิน F-16 ADF เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามาแล้ว 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524
  • กองทัพอากาศไทยได้จัดซื้อเป็นเครื่องบินมือสองมาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน รวมอายุการใช้งานเครื่องบินมากกว่า 40 ปี
  • ชั่วโมงบินรวม 6,009.7 ชั่วโมงบิน ชั่วโมงเครื่องยนต์ 3,588.3 ชั่วโมงบิน (เข้ารับการตรวจซ่อมตามระยะเวลาที่กำหนด)
  • เครื่องบินลำนี้ได้ถูกปลดประจำการจากฝูงบิน 102 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 แล้ว แต่กองทัพอากาศได้คัดเลือกเครื่องบินที่ยังสามารถบินได้มาใช้ประโยชน์ต่อ
  • โดยนำมารวมกับ F-16 ฝูงบิน 103 กองบิน 1 เปลี่ยนจากหมายเลข 10210 เป็น 10331และมีการซ่อมบำรุงตามวงรอบ 

 

 เครื่องบิน F-16 ในประเทศไทย

  • บรรจุเข้าประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2531  หรือเมื่อ 34 ปีที่แล้ว ตามโครงการ PEACE NARESUAN ที่เป็นโครงการที่กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยเข้าประจำการ
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องปรามและตอบโต้การรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศรอบข้าง
  • กองทัพอากาศได้จัดซื้อเครื่องบิน F-16 เพิ่มเติม เข้าประจำการยัง ฝูงบิน 103 LIGHTNING กองบิน 1 และฝูง 403 COBRA กองบิน 4 และ ฝูง 102 STARS กองบิน 1 ตามลำดับ
  • ฝูงบิน 103 ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ บ.ข.19 ก F-16A/B Block 15 OCU ในโครงการ Peace Naresuan I จำนวน 12 เครื่องในปี พ.ศ. 2531
  • โครงการ Peace Naresuan II จำนวน 6 เครื่องใน พ.ศ. 2535 
  •  Peace Carvin I จากสิงคโปร์จำนวน 7 เครื่อง
  • ทั้งหมด25 เครื่อง มีอายุใช้งานขณะนี้กว่า 30-34 ปี 

 

ข้อมูลเครื่องบิน F-16

  • F-16 มีสมรรถนะเหนือกว่าเครื่องบินรบอื่นๆ มันสามารถ ที่จะชี้ หรือบอก ตำแหน่ง เป้าหมาย ได้ทุกสภาพ อากาศ และสามารถตรวจจับอากาศยานที่บินในระยะต่ำ ในการโจมตีภาคพื้นดิน
  • F-16 สามารถบินได้ไกลกว่า 500 ไมล์ (860 ก.ม.) ทิ้งระเบิดได้แม่นยำ ป้องกันตัวเอง และ บินกลับฐาน ความสามารถปฏิบัติการได้ ทุกสภาพอากาศ ทำให้การโจมตีได้อย่างแม่นยำ โดยที่มองไม่เห็น โครงสร้างที่เบา และยังคงแข็งแรง สามารถรับแรงได้ถึง 9 G ( เก้าเท่าของ แรงดึงดูดของโลก) ซึ่งมากกว่า เครื่องบินในปัจจุบัน ที่มีอยู่
  • F-16 ใช้ระบบ ควบคุมการบินด้วยระบบ FIRE BY WIRE ใช้ไฟฟ้าแทนระบบ สายเคเบิล และใช้คันควบคุมด้านข้าง ( side stick) แทนคันควบคุมที่อยู่ตรงกลาง
  • F-16A ใช้นักบินเพียงคนเดียว สร้างเสร็จส่งมอบเมื่อ เดือนมกราคม 1979
  • F-16B ใช้นักบินทำการบินสองคน โดยต่อฝาครอบนักบิน (canopy) ออกไป คลุมนักบินคนที่สอง และลดพื้นที่ถังน้ำมัน และพื้นที่เก็บอุปกรณ์ avionics เพื่อนักบินที่สอง
  • F-16C&D เพียงเป็นรุ่นที่เพิ่ม แรงขับให้กับรุ่น F-16A&B การเปลี่ยนแปลง หลัก คือการเปลี่ยนแปลงในห้องนักบิน ทั้งอุปกรณ์ และ software
  • F16-E เป็นรุ่นใหม่ที่กำลังได้รับการพัฒนาโดยบริษัท GENERAL DYNAMICS. ทราบกันโดยทั่ว ไปว่า Supersonic Cruise Aircraft Modification Program(SCAMP) เพิ่มพื้นที่ปีกสามเหลี่ยม เพิ่มความจุถังเชื้อเพลิง เพิ่มน้ำหนักบรรทุก เพิ่มระยะทางทำการบิน ลดระยะทางในการวิ่งขึ้น และบินเร็วขึ้นอีก 90 ไมล์อากาศ.

 

ประเทศไทย โดยกระทรวงกลาโหม ได้ตัดสินใจซื้อเครื่อง F-16 A/B ที่ใช้แล้ว จากกองทัพสหรัฐฯ เพิ่มเติมอีกจำนวน 16 เครื่อง ในราคาเครื่องละประมาณ 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 132,770,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีความสนใจที่จะซื้อเครื่องบินขับไล่ สเตลธ์ F-35 จากบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน  โดย รัฐบาลไทยอนุมัติงบประมาณ 13,800 ล้านบาทให้กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนเครื่องบิน F-16 ด้วยงบประมาณประจำปี 2566 จำนวน 8 ลำ

เปิดปัญหา “สเตลธ์ F-35” เครื่องบินรบที่ไทยสนใจซื้อ