ส่องอันตรายน้ำอัดลมVSน้ำอัดลมปราศจากน้ำตาล ข้อควรระวัง เช็คที่นี่

04 มิ.ย. 2566 | 04:45 น.

ส่องอันตรายน้ำอัดลมVSน้ำอัดลมปราศจากน้ำตาล ข้อควรระวัง เช็คที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลจากกรมอนามัยไว้ให้แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่แนะนำคนทั่วไปใช้สารให้ความหวานควบคุมน้ำหนัก

สารทดแทนความหวานแทนน้ำตาล (Sweetener) เป็นทางเลือกของผู้ที่ติดการบริโภครสหวาน คือวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เพิ่มรสหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มเพื่อแทนน้ำตาล โดยมีทั้งแบบให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน โดยสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้สามารถใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงระดับค่าน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักจะเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะาพไปตรวจสอบเครื่องดื่มยอดนิยมอย่างน้ำอัดลมvsน้ำอัดลมแบบปราศจากน้ำตาลว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 

น้ำอัดลม 

น้ำอัดลม หวาน = น้ำตาล 9-12 ช้อนชา

ส่วนผสมหลัก ได้แก่

  • สีธรรมชาติ
  • สารให้ก๊าซคาร์บอน
  • สารควบคุมความเป็นกรด
  • น้ำตาล
  • วัตถุกันเสีย

น้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล)

หวาน = สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

ส่องความต่างน้ำอัดลมVSน้ำอัดลมปราศจากน้ำตาล ข้อควรระวัง

ส่วนผสมหลัก ได้แก่

  • สีธรรมชาติ
  • สารให้ก๊าซคาร์บอน
  • สารควบคุมความเป็นกรด
  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
  • (ซูคราโลสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม)

ข้อควรระวังของน้ำอัดลม

  • กินเป็นประจำติดน้ำตาล
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • น้ำหนักเกิน โรคอ้วน
  • ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลง เสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  • ภูมิคุ้มกันตก
  • แก่ก่อนวัย

ข้อควรระวังของน้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล)

  • กินเป็นประจำติดรสหวาน
  • กระตุ้นให้หิวบ่อยขึ้น
  • บริโภคมากไปอาจส่งผลกับสุขภาพ
  • กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กอายุ ต่ำกว่า 2 ปี หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่เป็นไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมซักควรหลีกเลี่ยง

อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่แนะนำให้คนทั่วไปใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดความเสี่ยงการเกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ข้อมูล : กรมอนามัย