PM2.5 ระดับ 33.3-57.3ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเสี่ยงตายเพิ่ม4.14%

14 มี.ค. 2566 | 07:37 น.

PM2.5 ระดับ 33.3-57.3ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเสี่ยงตายเพิ่ม4.14% หมอธีระวัฒน์เผยรายงานในวารสารของสมาคมโรคหัวใจ ระบุประเทศไทยล่าสุดเสี่ยงเกือบทุกพื้นที่

PM2.5 กำลังเป็นปัญหาสำคัญต่อการดำเนินชีวิต หลังจากหลายพื้นที่ในประเทศไทยมีปริมาณที่เกินค้่ามาตรฐาน

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญก็คือปริมาณ PM2.5 มากแค่ไหนที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า

ทุก ๆ ปริมาณที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของฝุ่นจิ๋ว 2.5 ถึงระดับ 33.3 และและฝุ่นพีเอ็ม 10 จนถึงระดับ 57.3 

จะเพิ่มความเสี่ยงของการตาย 4.14% และสำหรับไนโตรเจนไดออกไซด์เพิ่ม

ความเสี่ยงในลักษณะเดียวกันโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นอีก 1.3%

การที่ได้รับฝุ่นพิษจิ๋วเล็ก 2.5 และจิ๋วใหญ่ขึ้นขนาด 10 ไมครอนภายในหนึ่งวัน หรือในวันนั้นเองจะส่งผลกับการตายอย่างมีนัยยะสำคัญ

และยิ่งถ้าปริมาณสูงมากกว่านั้นจะเป็นอย่างไร

รายงานในวารสารของสมาคมโรคหัวใจ (Journal of American College of Cardiology) วันที่ 26 มกราคม 2021  รวมทั้งบทบรรณาธิการ

จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 14 มีนาคม 2566 ณ เวลา 07.00 น. ภาพรวมปริมาณ "PM2.5" ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐาน ดังนี้

  • กรุงเทพฯ  
  • จ.นนทบุรี  
  • จ.สมุทรสาคร  
  • จ.สมุทรปราการ  
  • จ.เชียงราย  
  • จ.แม่ฮ่องสอน  
  • จ.พะเยา  
  • จ.เชียงใหม่  
  • จ.น่าน  
  • จ.ลำพูน  
  • จ.ลำปาง  
  • จ.แพร่  
  • จ.อุตรดิตถ์  
  • จ.สุโขทัย  
  • จ.พิษณุโลก  
  • จ.ตาก  
  • จ.กำแพงเพชร  
  • จ.พิจิตร  
  • จ.นครสวรรค์  
  • จ.อุทัยธานี  
  • จ.สิงห์บุรี  
  • จ.สระบุรี  
  • จ.อ่างทอง  
  • จ.สุพรรณบุรี  
  • จ.ราชบุรี  
  • จ.ชลบุรี  
  • จ.ระยอง
  • จ. เลย 
     

คุณภาพอากาศรายภาค

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 31 - 76 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 19 - 58 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 5 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 37 - 58 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 36 - 64 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 18 - 29 มคก./ลบ.ม.