7 เทรนด์เทคโนโลยี-นวัตกรรมทางการแพทย์ แลนด์สเคปใหม่ระบบสาธารณสุขไทย

07 มี.ค. 2566 | 09:50 น.

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ เปิด 7 เทรนด์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์มาแรง พร้อมและรับสร้างระบบ Teleconsultation and Telemedicine ที่เสถียรและครอบคลุมทุกโรงพยาบาลบนระบบเดียวกัน ยกระดับการแพทย์ในจังหวัดห่างไกล ลดกำแพงขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคซับซ้อน

นพ.สุนทร ศรีทา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรวมใจรักษ์ กล่าวในงานสัมมนา “อนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ”  หัวข้อ “เทคโนโลยีใหม่เปลี่ยนไทย-เปลี่ยนโลก” จัดโดยสปริง กรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจและโพสต์ทูเดย์  ว่า สำหรับโรงพยาบาลรวมใจรักษ์เป็นโรงพยาบาลน้องใหม่ที่เปิดบริการได้เพียง 6 เดือน โดยนำเทคโนโลยีอนาคตเข้ามาช่วยทั้งส่วนของการรักษาที่รวดเร็วและแม่นยำขึ้นโดยใช้ AI ประมวลผล,การรวมทีมแพทย์เฉพาะทางในการออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล และการทำให้การชำระค่าบริการเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่าย

นพ.สุนทร ศรีทา

ทั้งนี้ปัจจุบันเทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการแพทย์มี 7 ประเด็นที่น่าสนใจคือ

1. AI เทคโนโลยีที่แทรกซึมเข้ามามีบทบาทในระยะหลายปีที่ผ่านมา ทั้งช่วยตรวจวินิจฉัยในหลายๆส่วนเช่นการเอ็กซเรย์ เพื่อให้แพทย์มองเห็นจุดบกพร่องต่างๆ  รวมไปถึงการวินิจฉัยโรค  การแปลผลแลป ผลเอ็กซเรย์ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของโรคหรือโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไปจนถึงการเลือกใช้ยาแต่ละประเภทให้เหมาะกับอาการของโรค

2. Data Breach ซึ่งเป็นเทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะต้องระมัดระวัง เนื่องจากปัจจุบันมีการแฮกข้อมูลในโรงพยาบาลหรือถูกโจมตีด้วยไวรัสเกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นการใช้เทคโนโลยีในโรงพยาบาลในเรื่องของ  Data Breach เป็นเรื่องที่โรงพยาบาลต้องให้ความสำคัญมากโดยเทคโนโลยีล่าสุดที่กำลังถูกพูดถึงคือ การใช้ facial recognition เข้ามาเสริมการป้องกัน

3 Nano medicine หรือเทคโนโลยีในการผลิตยา และ Robot ตัวเล็กๆเพื่อใช้ในการมัลติฟลาย แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังไม่ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย แต่เชื่อว่าในอนาคตเทคโนโลยีนี้จะนำเข้าและใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยอย่างแน่นอน แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาในประเทศไทยและถูกใช้งานแล้วคือ precision medicine ซึ่งช่วยในการรักษาโรคหลายอย่าง รวมถึงการให้ยาในคนไข้แต่ละราย ซึ่งจะต้องอาศัยการวินิจฉัยในเรื่องของยีนส์เพื่อระบุว่ายาที่เหมาะสมกับคนไข้หรือโรคคือยาชนิดไหน

4 เทคโนโลยี IoT  ในทางการแพทย์ตอนนี้เครื่องมือแพทย์ขนาดใหญ่ๆสามารถ connect กับระบบส่วนกลางได้ไม่ว่าจะเป็นการ monitor หรือเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคต่างๆ แต่ต่อไปในอนาคตจะมี personalized device ที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการวัดออกซิเจน

เครื่องมือมอนิเตอร์ชีพจร การหายใจต่างๆ เข้ามาที่ centralised ผ่านระบบที่กำลังพัฒนากันอยู่หรือ wearable gadget เช่น smart watch ทำให้การดูแลคนไข้ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามการพัฒนา smart device และเครื่องมือต่างหู ระบบ 5G หรือ 6G จำเป็นต้องถูกพัฒนาให้เกิดความเสถียรมากยิ่งขึ้น

นพ.สุนทร ศรีทา

5. Teleconsultation and Telemedicine ซึ่งใช้ทั้งในการดูแลและวินิจฉัย ผ่านRemote monitoring แพทย์สามารถติดตามชีพจร ความดันของคนไข้ที่อยู่ที่บ้าน รวมทั้งสามารถ Remote care management แนะนำการดูแลตัวเองเช่นการกินอาหารให้เพียงพอ ซึ่งตอนนี้โรงพยาบาลหลายแห่งมีการลงทุนและพัฒนาเรื่องของ Teleconsult และ Telemedicine ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้การดูแลคนไข้มีความสะดวก ลดการเดินทางและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. Big data for healthcare ประเทศไทยทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน มีคนไข้เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลเกือบ 200 ล้านคนต่อปี แต่ยังไม่สามารถเชื่อมข้อมูลเป็น single data ของประเทศได้ ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการวางแผนดูแลระบบสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งวางแผนที่ดูแลและการป้องกันโรคระบาดหรือโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

7. VR & AR และ Mix reality in healthcare ในการวินิจฉัยโรคและช่วยในการเรียนรู้ของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งใช้ระบบหุ่นยนต์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้และการดูแลรักษาคนไข้ได้มากยิ่งขึ้น

"โรงพยาบาลรวมใจรักษ์เองพยายามที่จะปรับหลายๆเรื่องเข้ามา แต่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะadoptทุกเรื่องเข้ามาในครั้งเดียว แต่ต้องค่อยๆพัฒนาต่อไป เช่นเดียวกับในภาพรวมสาธารณะสุขของประเทศ ซึ่งถ้าหากว่าสามารถพัฒนาเทคโนโลยีต่อได้ ประเทศก็จะได้ประโยชน์ เช่นรื่องของ Teleconsultation ไทยเรามีหมอผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ

แต่จังหวัดเล็กๆยังขาดแคลนหมอผู้เชี่ยวชาญอีกมาก เวลาที่จะปรึกษาเคสโรคยากหรือเคสซับซ้อนกว่าจะทำได้บางเคสคนไข้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ถ้าหน้างานเรามีระบบ Teleconsultation ได้ทั่วถึงด้วย network ที่เข้มแข็งและอยู่บนระบบเดียวกันได้ทั้งประเทศ โรงพยาบาลในต่างจังหวัดก็สามารถคอนเซาท์มาได้ทุกเมื่อเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งจะช่วยคนไข้ได้ทุกชีวิตในประเทศไทยทั้งระดับชนชั้นสูงไปจนถึงชนชั้นรากหญ้า"