โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ"โรงพยาบาลดิจิทัล"

27 ธ.ค. 2565 | 10:15 น.

กองทุนพัฒนาดิจิทัลฯติดตามผลงานนวัตกรรมการแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์ มช. ที่จัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ทางไกล และนำร่องพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบบริการทางการแพทย์อัจฉริยะ บริการเทเลเมดิซีนถึงผู้ป่วยในโรงพยาบาลเครือข่าย หรือบนรถพยาบาลได้ทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมติดตามผลงานนวัตกรรมด้านการแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

 

โดย ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ต้อนรับและร่วมหารือ แนวทางการต่อยอดผลงานนวัตกรรมการแพทย์ดิจิทัล เพื่อการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี และก่อให้เกิดการพัฒนาดิจิทัลของประเทศที่ครอบคลุมในทุกด้าน

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ\"โรงพยาบาลดิจิทัล\"

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ\"โรงพยาบาลดิจิทัล\"

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์ มช. สู่การเป็น Digital Hospital และการให้บริการด้านการดูแลและรักษาผู้ป่วย ด้วยระบบ Tele medicine เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการดูแลรักษาผู้ป่วย และการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศอย่างยั่งยืน 

 

โดยนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มช. ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยภายใต้กองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รพ.มหาราชนครเชียงใหม่) เพื่อขยายการเข้าถึงการให้บริการประชาชน โครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน (5G Smart Health) และโครงการนวัตกรรมฟื้นฟูภาวะสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสันด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะผ่านการกระตุ้นสมอง

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ\"โรงพยาบาลดิจิทัล\"

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ\"โรงพยาบาลดิจิทัล\"

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในวงการแพทย์มากขึ้น ตามยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นตัวอย่างในการสร้างระบบสาธารณสุขด้านเทเลเม็ดดิซีนแพลตฟอร์ต (telemedicine platform) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงทำโครงการขนาดใหญ่ร่วมกัน 2 โครงการ คือ โครงการจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อขยายการเข้าถึงการให้บริการประชาชน และโครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน (5G District) จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการ 5G Smart Health)

 

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยเทคโนโลยีจำลองภาพเสมือนจริงสามมิติด้วยรถพยาบาล อัจริยะ (AR technology with Smart ambulance) พร้อมบูรณาการแว่นตาอัจฉริยะ (AR consulting glasses) ผ่านเครือข่าย 5G ในการให้คำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยบนรถ Smart ambulance แบบ real time ระหว่างโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภอ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่ร่วมโครงการ จำนวน 20 แห่ง ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่าน Web Application ได้อย่างครบวงจร โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ\"โรงพยาบาลดิจิทัล\"

โดยผลลัพธ์ของทั้ง 2 โครงการจะเป็นการสร้าง telemedicine platform ที่บูรณาการระหว่างระบบการแพทย์ทางไกลของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช.  กับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภอ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน และมีการนำ AR technology และ 5G เทคโนโลยี มาเพิ่มประสิทธิภาพรถพยาบาลฉุกเฉิน  

 

ทำให้บุคลากรทางการแพทย์บนรถพยาบาลฉุกเฉิน สามารถปรึกษาและรักษาผู้ป่วย บนรถพยาบาลฉุกเฉินขณะส่งตัวผู้ป่วย ร่วมกับแพทย์เฉพาะทางที่ประจำอยู่ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ส่งผลให้โรคฉุกเฉินและโรควิกฤติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือดโรคเส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น สามารถได้รับการรักษาได้ทันที โดยแพทย์เฉพาะทางในแต่ละโรค ระหว่างส่งตัวผู้ป่วยทำให้ลดอัตราการตาย และภาวะแทรกซ้อน

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ\"โรงพยาบาลดิจิทัล\"

การเชื่อม telemedicine platform ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะส่งผลต่อการใช้ระบบเทคโนโลยี 5G กับระบบสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากเป็นการเชื่อมระบบการรักษาแบบไร้รอยต่อ ระหว่างโรงพยาบาลข้ามสังกัดกระทรวง โครงการนี้หากสำเร็จจะเป็นระบบต้นแบบที่ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด กล่าวคือการเข้ารับการรักษาภาวะฉุกเฉินใน โรงพยาบาลใดในจังหวัดเชียงใหม่ และหรือโรงพยาบาลในภาคเหนือตอนบน (ที่ร่วมโครงการ) ผู้ป่วยทุกท่านจะได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางเฉพาะโรค ผ่านระบบที่เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ ซึ่งทำให้ผลการรักษาพยาบาลมีความปลอดภัยมากขึ้น

 

ส่วนโครงการนวัตกรรมฟื้นฟูภาวะสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะผ่านการกระตุ้นสมอง เกิดจากการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างคณะผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มช. และ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ “Move Along” เป็นการพัฒนานวัตกรรมช่วยเหลือการเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่มีภาวะการเดินลำบาก ไม่สามารถช่วยได้ด้วยยา และการรักษาอื่น ๆ 

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ต้นแบบ\"โรงพยาบาลดิจิทัล\"

ทีมนักวิจัยได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเหลือการเดิน ที่สร้างเสียงจังหวะกระตุ้นการก้าวขาสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน ที่มีปัญหาในการเดิน สามารถเชื่อมต่อระบบปฏิบัติการผ่าน Application บนสมาร์ทโฟน โดยมีการออกแบบอัลกอลิทึมใ ห้สามารถบันทึกสัญญาณจากเซ็นเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับสภาวะการเดินของผู้ป่วย เพื่อผลิตจังหวะเสียง (Tempo) ให้สอดคล้องกับจังหวะการเดินของผู้ป่วย ซึ่งสามารถปรับจังหวะการเดินเฉพาะตัวของผู้ป่วยได้ พกพาง่าย ติดตัวได้ตลอด 

 

เบื้องต้นมีการใช้งานจริงกับผู้ป่วยที่ศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มช. และคลินิกเอกชนชีวาแคร์ (ศูนย์เวชศาสตร์ดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุ) เพื่อเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาระบบ ให้สะดวกต่อพฤติกรรมการใช้งานของผู้ป่วยได้มากที่สุด

 

ในอนาคตเทคโนโลยีนี้ก็จะถูกนำไปเชื่อมโยงกับระบบการให้บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช.ตามยุทธศาสตร์ในการมุ่งสู่การเป็น Digital Hospital เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ป่วยและประชาชนในอนาคต

 

นอกจากนี้ กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดสัมมนา คลินิกกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 2  เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับกองทุนฯ ตั้งแต่การขอรับทุน กระบวนการพิจารณาข้อเสนอ การกลั่นกรองโครงการ จนกระทั่งการลงนามในสัญญา รวมทั้งอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นการสร้างไอเดียในการเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับทุน และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่สนใจขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ต่อไป