โรคระบาดอีโบลาอันตรายแค่ไหน ติดเชื้อได้อย่างไร เช็คที่นี่

25 ต.ค. 2565 | 23:17 น.

ไขข้อข้องใจโรคอีโบลา เช็คเลยต้นกำเนิดมาจากไหน อาการของโรค ใครเสี่ยงติดโรคมากที่สุด การรักษามียาหรือวัคซีนป้องกันหรือไม่ ตรวจสอบทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับอีโบลาที่นี่

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคอีโบลาว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร อาการ-อันตรายมากน้อยแค่ไหน การติดเชื้อมาจากแหล่งใด ใครเป็นผู้ที่เสี่ยงในการติดโรคมากที่่สุด และโรคชนิดนี้มียารักษา หรือ วัคซีนป้องกันหรือไม่ "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมข้อมูลมานำเสนอดังนี้

 

1. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาคืออะไร
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคที่มักจะรุนแรงถึงชีวิตซึ่งมีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 90 โรคนี้พบทั้งในคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่คน (nonhuman primates เช่น ลิง กอริลลาและชิมแพนซี) โดยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2519  

 


2. มนุษย์ติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้อย่างไร
ในการระบาดของโรคที่แอฟริกา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ล้มป่วยเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง โดยทั่วไปจะต้องมีใครสักคนหนึ่งที่ได้สัมผัสกับสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งที่มีเชื้อไวรัสอีโบลา ก่อนที่เชื้อนี้จะแพร่ระบาดต่อไปในชุมชนมนุษย์โดยแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง

3. ใครมีความเสี่ยงต่อการติดโรคมากที่สุด
ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคมากกว่าผู้อื่น ได้แก่

  • บุคลากรสาธารณสุข
  • สมาชิกในครอบครัว หรือผู้อื่นที่สัมผัสคลุกคลีกับผู้ติดเชื้อ
  • ผู้มาร่วมพิธีศพที่ได้สัมผัสแตะต้องร่างของผู้ตายโดยตรง และ

 

นอกจากนั้นแล้วยังต้องมีการศึกษาวิจัยมากกว่านี้เพื่อทำความเข้าใจว่าคนบางกลุ่ม เช่น ผู้มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันหรือผู้ที่มีภาวะสุขภาพอื่นๆ ประจำตัว จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายกว่าคนกลุ่มอื่นหรือไม่

 

ทั้งนี้การควบคุมการสัมผัสไวรัสเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยปฏิบัติตามมาตรการปกป้องตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในคลินิกและโรงพยาบาล ในที่ประชุมชน รวมทั้งในบ้าน

 

4. อาการของโรค และอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อ ได้แก่อะไร
ไข้เฉียบพลัน อ่อนเพลียรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว และเจ็บคอ เหล่านี้เป็นอาการของโรค และอาการที่แสดงว่าติดเชื้อ หลังจากนั้น อาการที่เกิดตามมา ได้แก่ อาเจียน อุจจาระร่วง ผื่นขึ้นตามร่างกาย ไตและตับทำงานบกพร่อง และในผู้ป่วยบางรายจะมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายใน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ มีปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดตํ่าแต่เอ็นไซม์ตับมีระดับสูงกว่าปกติ 

 

ระยะฟักตัวของโรค ซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนถึงเวลาที่แสดงอาการ ตั้งแต่ 2 ถึง 21 วันผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะแพร่เชื้อในทันทีที่แสดงอาการ ผู้ป่วยที่ยังอยู่ในระยะฟักตัวของโรคจะไม่แพร่เชื้อ การยืนยัน การติดเชื้อไวรัสอีโบลาทำ ได้โดยการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น


 

5. ควรจะเข้าพบแพทย์เมื่อใด
ผู้ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา หรือผู้ที่สัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยยืนยันหรือต้องสงสัยว่าป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา หากเริ่มแสดงอาการแล้ว ควรจะเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาในทันที

 

ในกรณีที่มีผู้ใดถูกตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคนี้ ควรเร่งส่งรายงานไปยังหน่วยสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุดโดยทันที การให้บริการทางการแพทย์โดยเร็ว มีส่วนสำคัญยิ่งในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากโรคนี้ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และกระบวนการควบคุมการติดเชื้อจำเป็นต้องเริ่มต้นในทันที

 

6. การรักษาโรคนี้ทำ ได้อย่างไร
ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจำ เป็นต้องรักษาแบบประคับประคองชนิดเข้มข้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดนํ้าและจำ เป็นต้องให้สารเหลวทางหลอดเลือดดำ หรือให้สารละลายเกลือแร่ทางปาก

 

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายจากโรคนี้ผู้ป่วยบางรายจะหายจากโรคได้เองหากได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมมิให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดต่อไป ผู้ที่ต้องสงสัยว่าป่วยหรือได้รับการยืนยันแล้วว่าป่วยด้วยโรคนี้ ควรถูกแยกกักให้ห่างจากผู้ป่วยอื่นๆ และได้รับการดูแลจากบุคลากรสาธารณสุข โดยใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้ออย่างเข้มงวด

 

7. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ป้องกันได้หรือไม่? มีวัคซีนป้องกันโรคหรือยัง
ขณะนี้ยังไม่มียาหรือวัคซีนใดที่ผ่านการทดสอบจนได้รับอนุญาตให้ใช้สำ หรับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาแต่มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่อยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อและการแพร่โรค
ผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลารายแรกๆ นั้น ติดโรคมาโดยการจับต้องสัตว์ที่ติดเชื้อหรือซากสัตว์ ในขณะที่ผู้ป่วยรายถัดมาล้วนแต่ติดโรคโดยการสัมผัสโดยตรงกับสารเหลวจากร่างกายของผู้ป่วยรายอื่นทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโดยผ่านวิธีที่ไม่ปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย หรือโดยผ่านวิธีที่ไม่ปลอดภัยในการฝังศพ

 

ในการระบาดของโรคคราวนี้ พบว่าโรคส่วนใหญ่ได้แพร่ระบาดไปจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง การป้องกันการติดเชื้อและการจำกัดหรือหยุดยั้งการแพร่โรคมีวิธีทำ ได้หลายขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

  • ทำความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของโรค วิธีแพร่โรคและวิธีหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค 
  • ติดตามรับฟังและปฏิบัติตามคำชี้แนะที่จัดทำ โดยกระทรวงสาธารณสุขในประเทศ
  • หากสงสัยว่ามีผู้ใดที่ใกล้ชิดหรืออยู่ในชุมชนกำลังป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ขอให้เชิญชวนและสนับสนุนให้ไปรับการตรวจรักษาที่เหมาะสมที่หน่วยบริการทางการแพทย์
  • หากตัดสินใจที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยตนเองที่บ้านของ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ทราบความประสงค์ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้จัดการฝึกอบรม มอบถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลที่เหมาะสม (ถุงมือ เสื้อคลุมที่นํ้าซึมผ่านไม่ได้ รองเท้าบูต หรือรองเท้าหุ้มปิดที่มีแผ่นยางกันนํ้าหุ้มทับด้านนอก หน้ากากอนามัยและแว่นป้องกันของเหลวกระเด็นเข้าตา) รวมทั้งให้คำชี้แนะที่เป็นข้อควรจำ เรื่องวิธีให้การดูแลที่เหมาะสมสำ หรับผู้ป่วย วิธีปกป้องตนเองและครอบครัว และวิธีทิ้งอุปกรณ์ปกป้องกันร่างกายส่วนบุคคลอย่างถูกต้องหลังการใช้งาน


ที่มาข้อมูล

  • คู่มือปฏิบัติการโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา