เปิดสาเหตุโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแพร่เชื้อได้ง่ายเพราะอะไร คลิกอ่านเลย

24 พ.ย. 2565 | 01:15 น.

เปิดสาเหตุโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแพร่เชื้อได้ง่ายเพราะอะไร คลิกอ่านเลยที่นี่มีคำตอบ ดร.อนันต์ชี้ไม่ใช่เพราะไวรัสคงทนขึ้น หรือทำลายได้ยากขึ้น 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

 

ไวรัสที่ติดง่ายอย่างโอมิครอน หรือ เดลตา จริงๆแล้วไม่ได้ติดง่ายเพราะอยู่ในอากาศ 

 

หรือ พื้นผิว ได้นานกว่าไวรัสสายพันธุ์เก่า ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการของ NIH ในสหรัฐอเมริกา พบว่า 

 

ไวรัสกลุ่มโอมิครอน มีความคงทนในสภาวะแวดล้อมภายนอกร่างกายคนติดเชื้อที่น้อยกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมากที่สุดเมื่อเที่ยบกับไวรัสรุ่นก่อนๆ 

 

ดังนั้น สาเหตุที่เราติดไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมมาก ไม่ใช่เพราะไวรัสคงทนขึ้น หรือทำลายได้ยากขึ้น 

 

แต่น่าจะเป็นเพราะไวรัสปรับตัวให้จับเซลล์ในร่างกายเราดีขึ้น และหนีภูมิคุ้มกันที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญ เช่น ในจมูกของเราได้ดีขึ้นมากกว่า

ดร.อนันต์ ยังโพสด้วยว่า

 

ยาต้านไวรัสกับความสามารถในการแพร่เชื้อ

 

ช่วงนี้คนติดโควิดกันเยอะขึ้น ยาต้านไวรัสทั้งแพ็กซ์โลวิด (ขอย่อว่า Pax) และ โมลนูพิราเวียร์ (ขอย่อว่า MolV) มีพร้อมใช้งานมากขึ้น 

 

ความสามารถของยาต้านในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสมีข้อมูลประกอบมากพอสมควร 

 

แต่คำถามข้อนึงที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันคือ ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงใช้ยาต้านมีความสามารถแพร่กระจายเชื้อในร่างกายให้คนอื่นมากแค่ไหน

 

ซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจและคงเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการแพร่ของโควิดได้ดี

 

สาเหตุโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแพร่เชื้อได้ง่ายเพราะอะไร

 

งานวิจัยชิ้นนึงได้เผยแพร่ออกมาเป็น Pre-print จากทีมวิจัยในสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Pax และ MolV ในสัตว์ทดลอง 2 ชนิด 

 

ชนิดแรกเป็นหนูแฮมสเตอร์ที่จะตอบสนองต่อการติดเชื้อได้ไว และเชื้อสามารถลงปอดและส่งผลให้สัตว์ทดลองตายได้ 

 

ชนิดที่สองคือ Ferret ซึ่งติดโควิดได้แต่ไม่มีอาการรุนแรง เชื้อจะไปอยู่ที่ทางเดินหายใจส่วนบน 

 

และสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ Ferret ตัวอื่นๆได้ ซึ่งทีมวิจัยได้นำแฮมสเตอร์มาทดสอบประสิทธิภาพของยาต้านทั้งสองต่อการป้องกันอาการรุนแรงที่จะติดลงสู่ปอด พบว่า 

หนูที่ได้ยาทั้ง 2 ชนิด สามารถมีชีวิตรอดจากการติดเชื้อได้ดี ในขณะที่หนูตัวอื่นๆอาการหนักและส่วนใหญ่ตาย ผลยืนยันว่ายาต้านทั้งสองช่วยป้องกันอาการรุนแรงในหนูได้ดีมาก

 

ผลใน Ferret มีอะไรที่น่าสนใจ ทีมวิจัยออกแบบการทดลองโดยใช้ Ferret ที่ติดเชื้อแล้วให้ยาต้านแต่ละชนิดตามไปหลังติดเชื้อ (ในขนาดที่เท่าๆกับให้คน เทียบกับน้ำหนักตัว) 

 

หลังจากนั้น นำไป Ferret ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านเลี้ยงรวมกับ Ferret ปกติเป็นเวลา 2 วัน หลังจากนั้น แยก Ferret ปกติออกมาเพื่อติดตามการติดเชื้อจากตัวอย่างในช่องจมูกเป็นเวลา 4 วัน 

 

ผลการทดลองพบว่า Ferret ที่ได้รับยา Pax สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อให้กับ Ferret ตัวอื่นได้ เมื่อเทียบกับ Ferret ที่ได้ยา MolV ในการศึกษานี้พบว่า ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อให้ Ferret ตัวอื่นได้ หรือ ได้น้อยมากๆ

 

ผลการทดลองชุดที่สองคือ การนำ Ferret ที่ติดเชื้อไปเลี้ยงรวมกับ Ferret ปกติที่ให้ยาต้านแต่ละชนิดไปด้วยเป็นเวลา 6 วัน  และติดตามการติดเชื้อไวรัสใน Ferret ปกติเหล่านั้น ผลที่ได้มาคือ Ferret กลุ่มที่ได้ยา Pax รอไว้ก่อน ทุกตัวติดเชื้อจากการอยู่ร่วมกับ Ferret ติดเชื้อ

 

แต่กลุ่มที่ได้ยา MolV ไม่พบการติดเชื้อตลอดเวลา 6 วันที่อยู่ร่วมกับ Ferret ติดเชื้อ ซึ่งทีมวิจัยสรุปว่าการใช้ยา MolV อาจส่งผลให้ Ferret ป้องกันการติดเชื้อในสภาวะที่อยู่รวมกับสัตว์ที่ติดเชื้ออย่างใกล้ชิดได้ แต่ Pax อาจไม่มีคุณสมบัตินั้น
ทั้งนี้งานวิจัยนี้ยังต้องมีข้อมูลสนับสนุนจากมนุษย์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี