"โควิดรีบาวด์" เช็คอาการที่ต้องสังเกต กลุ่มไหนเสี่ยงบ้าง

06 ส.ค. 2565 | 07:30 น.

"โควิดรีบาวด์" คืออะไร เกิดขึ้นกับทุกคนที่ติดเชื้อหรือไม่ เช็คอาการที่ต้องสังเกต เเละคนกลุ่มไหนเสี่ยงบ้าง

"โควิดรีบาวด์" ก่อนหน้านั้นประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าว ว่า ไทยเจอผู้ป่วยโควิดที่เจอภาวะ "โควิดรีบาวด์" โดยพบในผู้ติดเชื้อสูงอายุ หลายคนคงเกิดความสับสนกับภาวะรีบาวด์ ว่าจะอันตรายหรือเทียบเท่ากับการกลับมาติดเชื้อซ้ำอีกรอบหรือไม่

"โควิดรีบาวด์" คืออะไร 

  • เกิดขึ้นหลังจากที่ติดเชื้อโควิดหายแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • บางรายเกิดขึ้นนานกว่า 30 วัน
  •  มักจะเกิดจากหารใช้ยาต้านไวรัส 2 ตัว คือ โมลนูพิราเวียร์ และ แพ็กซ์โลวิด 
  •  โควิดรีบาวด์ไม่ได้เกิดกับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด

ลักษณะอาการที่พบ และสามารถบอกได้ว่าคือ ภาวะรีบาวด์ มี 3 ลักษณะ  

  1. มีเชื้อกลับมาใหม่ จากการตรวจด้วยวิธี RT-PCR และตรวจ ATK หลังจากหายติดเชื้อแล้ว
  2. มีอาการกลับมาใหม่ ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อปวดหัว เจ็บคอ จมูกคัด น้ำมูกไหล ไม่รับรส กลิ่น อาเจียน ท้องเสีย ผื่น
  3. ต้องเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากอาการหนัก

 

กลุ่มเสี่ยง

  • ผู้ที่พบว่ามีอัตราการเกิดภาวะโควิดรีบาวด์มักจะเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว  มีโรคหัวใจ ความดันสูง มะเร็งโรคอัมพฤกษ์ โรคปอด โรคไตโรคตับ อ้วน เบาหวาน โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน การได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ รวมถึงการให้ยาต้านภูมิคุ้มกัน 

 

อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ภาวะดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นอันตรายหากมีอาการโควิดกลับมาเป็นอีกรอบก็ให้รักษาตามอาการได้เลย แต่ส่วนใหญ่อาการมักจะสงบไปเอง ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะภาวะโควิดรีบาวด์ไม่ได้เป็นอันตราย และไม่ใช่ภาวะที่อยู่คงที่ตลอดไป