นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก และ บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ขึ้นเวทีสัมมนาวิชาการภายใต้หัวข้อ "Wellness Hub Thailand: The Future of Global Wellness" ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยศาสตร์ Scientific Wellness พร้อมชูแนวคิด Wellness Hub Thailand ดัน Soft Power ด้านสุขภาพของประเทศไทยสู่เวทีโลก ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ทั้งนี้จากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระหว่างปี 2543-2562 พบว่า แม้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลกเพิ่มขึ้นจาก 66.8 ปี เป็น 73.4 ปี แต่ Health Span หรือช่วงชีวิตที่มีสุขภาพดีอยู่ที่เพียง 63.7 ปี เท่านั้นขณะที่สถานการณ์สุขภาพของประชาชนซาอุดีอาระเบีย ที่แม้จะมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 74.3 ปี แต่มีช่วงชีวิตที่มีสุขภาพดีเพียง 64 ปี เท่านั้น
"หมายความว่า ประชาชนจำนวนมากต้องใช้ชีวิตท่ามกลางปัญหาสุขภาพหรือโรคเรื้อรังยาวนานถึง 10.3 ปี ก่อนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต"
ที่น่าเป็นห่วงคือสถิติโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในซาอุฯ ที่อยู่ในระดับที่น่าตกใจ ปัจจุบันประชากรกว่า 73% ในประเทศซาอุฯ เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คิดเป็นจำนวนสูงถึง 105,200 ราย ต่อปี หรือเทียบเท่ากับการสูญเสียประชากรเฉลี่ย 12 ราย ในทุกหนึ่งชั่วโมง
สาเหตุหลักของการเสียชีวิตได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคมะเร็ง, โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคเบาหวาน ประเด็นสำคัญอีกประการคือปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในซาอุฯ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกในปี 2022 เผยว่า ประชากรชาวซาอุฯ กว่า 73% หรือประมาณ 25,016,370 คน กำลังเผชิญกับภาวะดังกล่าว
"ภาวะโรคอ้วนสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤตสุขภาพอย่าง COVID-19"
จากข้อมูลวิจัย พบว่าผู้ที่มีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้แก่ ความดันโลหิตสูง: เสี่ยงเพิ่ม 2 เท่า, โรคหัวใจหรือเบาหวาน: เสี่ยงเพิ่ม 3 เท่า, โรคหลอดเลือดสมอง: เสี่ยงเพิ่ม 4 เท่า และโรคอ้วน: เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงถึง 7 เท่า
ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตสุขภาพดังกล่าวแนวคิด Scientific Wellness หรือการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบองค์รวม ที่เน้นการป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดขึ้น แทนการรักษาหลังจากป่วย จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ Saudi Vision 2030 ที่มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน การพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)
นายแพทย์ตนุพล กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีจุดเด่นหลายประการที่ทำให้สามารถก้าวสู่การเป็น "Wellness Destination of the World" ประกอบด้วย
การแลกเปลี่ยนครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการต่อยอดความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยการนำเสนอแนวคิด Wellness Hub Thailand ไม่เพียงสะท้อนศักยภาพของประเทศไทย แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมโยงนโยบายด้านสุขภาพของไทยและซาอุฯ เข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม
"ผ่านความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสุขภาพร่วมกัน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็น Wellness Destination of the World ขณะเดียวกันก็สนับสนุนเป้าหมายของซาอุดีอาระเบียในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้กับผู้คนในประเทศอย่างยั่งยืน"