วันที่ 10 มิถุนายน 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไหหลำ ประมาณ 680 กิโลเมตร พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย อย่างช้าๆ โดยมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และคาดว่าในช่วงวันที่ 13–14 มิ.ย. 68 จะเคลื่อนผ่านทางด้านตะวันออกของเกาะไหหลำเข้าประเทศจีนตอนใต้ หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ
โดยศูนย์กลางของพายุลูกนี้จะไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบโดยตรง แต่อาจทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้บริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
อนึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (15 วันล่วงหน้า) ตั้งแต่วันนี้ -24 มิถุนายน 2568 อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) โดยสถานการณ์ฝนยังมีการมีการเปลี่ยนแปลง ในสัปดาห์นี้ประเทศไทย จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบนใกล้ร่องมรสุม และด้านรับมรสุม ต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ช่วง 10-12 มิ.ย.68 ทั้งนี้สามารถตรวจสอบไทม์ไลน์สภาพอากาศ ฝนฟ้าอากาศล่วงหน้า 15 วันดังต่อไปนี้
วันที่ 10-12 มิ.ย.68
- ยังคงมีฝนเพิ่มขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคกลาง กทม. ปริมณฑล ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งอันดามันด้านรับมรสุม โดยมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และตกหนักมากด้านรับมรสุมภาคใต้ฝั่งอันดามันและภาคตะวันออก (จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ระยอง จันทบุรี ตราด)
- เนื่องจากมรสุมจะมีกำลังแรงขึ้น และคาดว่าจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมรับมือ จากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและฝนที่ตกสะสม คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรงขึ้นโดยเฉพาะในทะเลอันดามัน ชาวเรือ ชาวประมงเดินเรือด้วยความระวัง เรือเล็กในทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
วันที่ 13 -24 มิ.ย.68
- ประเทศไทยตอนบนยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง มีฝนลดลง เนื่องจากลิ่มความกดอากาศสูง(ridge) จากซีกโลกใต้แผ่ขึ้นมาปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง
ทั้งนี้ในช่วง 10 -14 มิ.ย. ในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวและมีโอกาสที่จะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้ เนื่องจากอยู่ในทะเลจะใช้เวลารวบรวมพลังงาน 1-2 วัน (ช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย.68) ก่อนที่จะมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ เคลื่อนเกาะไหหลำ ขึ้นฝั่งที่ประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่14 มิ.ย.68 (ทิศทางการเคลื่อนตัวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้) ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น
ขณะที่สภาพอากาศประเทศไทยวันนี้ -พรุ่งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ภาคเหนือ
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
- บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
- บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครราชสีมา อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
- บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
- บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
- บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
- บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
- อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.