svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

"น้ำท่วม กทม." โอกาสเกิดขึ้นได้หรือไม่ น่ากลัวแค่ไหน เพราะอะไร เช็คเลย

12 กันยายน 2565

"น้ำท่วม กทม." โอกาสเกิดขึ้นได้หรือไม่ น่ากลัวแค่ไหน เพราะอะไร เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง รวบรวมสถิติย้อนหลังวิเคราะห์อนาคต และจุดเสี่ยง

นายสันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง โพสข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว (Sunt Srianthumrong) โดยมีข้อความว่า
 

น้ำท่วมกรุงเทพฯ : สรุปแล้วตกลงว่า น้ำมาก ฝนมาก หรือว่าเป็นที่การบริหารจัดการไม่ดี เรามาดูตัวเลขย้อนหลัง 5 ปีกัน 

 

บอกเลยว่า วันที่แย่ที่สุดของปีนี้ อาจจะยังมาไม่ถึง ทำใจไว้เลย และแน่นอนว่า ปีที่แย่ที่สุดก็น่าจะยังมาไม่ถึงเช่นกัน 

 

เรามาค่อยๆวิเคราะห์ตัวเลขข้อมูลย้อนหลัง 5 ปีกัน ตัวเลขที่คิดว่าบ่งชี้ได้ดีว่าท่วมหรือไม่ท่วมเมื่อฝนตกเฉียบพลันคือตัวเลขรายวัน เพราะว่าน้ำท่วมแบบฝนตก

 

ส่วนมากก็เกิดจากการระบายระยะสั้นไม่ทัน ส่วนค่าปริมาณฝนรายเดือนจะเหมาะกับการวิเคราะห์การท่วมของกทม.จากน้ำเหนือ ซึ่งปัญหาที่เราเจอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ปัญหาท่วมจากฝนตกหนักในพื้นที่แบบรายวัน 

 

ตารางที่ 1: ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง
ตัวเลขตั้งแต่ 1 ส.ค. - 10 ก.ย.
เช็คระดับ 100 ม.ม. 

 

  • ปี 2560 มีเกิน 100 ม.ม. 3 วัน
  • ปี 2561 มีเกิน 100 ม.ม. 0 วัน
  • ปี 2562 มีเกิน 100 ม.ม. 0 วัน
  • ปี 2563 มีเกิน 100 ม.ม. 1 วัน
  • ปี 2564 มีเกิน 100 ม.ม. 4 วัน
  • ปี 2565 มีเกิน 100 ม.ม. 8 วัน

 

ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด

 

ช่วง 6 ปีมีเกิน 100 ม.ม ทั้งหมด 16 วัน โดยมี 8 วันอยู่ในปี 2565

กราฟที่ 1: ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง
ตัวเลขตั้งแต่ 1 ส.ค. - 10 ก.ย.
เช็คระดับ 120 ม.ม. 

 

  • ปี 2560 มีเกิน 120 ม.ม. 0 วัน
  • ปี 2561 มีเกิน 120 ม.ม. 0 วัน
  • ปี 2562 มีเกิน 120 ม.ม. 0 วัน
  • ปี 2563 มีเกิน 120 ม.ม. 1 วัน
  • ปี 2564 มีเกิน 120 ม.ม. 2 วัน
  • ปี 2565 มีเกิน 120 ม.ม. 6 วัน

 

ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด

ช่วง 6 ปีมีเกิน 120 ม.ม ทั้งหมด 9 วันโดยมี 6 วันอยู่ในปี 2565 และทั้ง 9 วันอยู่ในช่วง 3 ปีหลัง 

 

กราฟที่ 2: ค่าเฉลี่ย 7 วันของ ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง ตัวเลขตั้งแต่ 7 ส.ค. - 10 ก.ย.

 

  • ปี 2560 สูงสุด 66.9 ม.ม. วันที่ 31 ส.ค. 
  • ปี 2561 สูงสุด 50.3 ม.ม. วันที่ 9 ก.ย. 
  • ปี 2562 สูงสุด 24.9 ม.ม. วันที่ 26 ส.ค. 
  • ปี 2563 สูงสุด 70.4 ม.ม. วันที่ 3 ก.ย. 
  • ปี 2564 สูงสุด 85.0 ม.ม. วันที่ 1 ก.ย. 
  • ปี 2565 สูงสุด 99.9 ม.ม. วันที่ 10 ก.ย. 

 

ค่าเฉลี่ย 7 วันของ ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด

ปีนี้ค่า 99.9 นับเป็นสถิติสูงสุดของ 7-day Moving Average ที่พบในเขตกทม.ในรอบ 6 ปี  ถ้าเราดูเส้นกราฟสีแดงจะเห็นได้ว่า พุ่งทำลายสถิติแบบที่น่ากังวลมากว่ามันอาจจะไม่จบแค่นี้

กราฟที่ 3: ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง
ตัวเลขช่วง 3 เดือนตั้งแต่ 1 ส.ค. - 31 ต.ค.

 

กราฟบ่งบอกอนาคต 

 

เราจะเห็นได้ว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กราฟแท่งสีเทาจะมีกราฟแท่งสูงๆในช่วงครึ่งหลังของหน้าฝน คือกลาง ก.ย. - ปลาย ต.ค. หนาแน่นกว่าในช่วงต้นหน้าฝน
ดังนั้น นี่คือความน่ากังวลว่า "วันที่เลวร้ายที่สุดของปีนี้ อาจจะยังมาไม่ถึง"
ท้ายตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย 10 วันแรกของเดือนกันยายน:

 

  • ปี 2560 ค่าเฉลี่ย 60.0 ม.ม. 
  • ปี 2561 ค่าเฉลี่ย 43.9  ม.ม. 
  • ปี 2562 ค่าเฉลี่ย 24.2 ม.ม. 
  • ปี 2563 ค่าเฉลี่ย 52.8 ม.ม. 
  • ปี 2564 ค่าเฉลี่ย 54.4 ม.ม. 
  • ปี 2565 ค่าเฉลี่ย 81.4 ม.ม. 

 

ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด

ทุบสถิติราบคาบ 

 

บทสรุป: 

 

  • ปีนี้ฝนที่ตกในเขตกทม. ช่วงต้นก.ย.มีค่าเฉลี่ยรายวันสูงมาก และเกิดขึ้นแบบหลายวันติดกัน
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยราย 7 วันทุบสถิติรอบ 6 ปีของช่วงเดือน ส.ค. - ต.ค. ไปแล้ว
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10 วันแรกของเดือนกันยายน ทุบสถิติเช่นกัน
  • จำนวนวันที่ฝนตกหนักกว่า 100 ม.ม ทุบสถิติ
  • จำนวนวันที่ฝนตกหนักกว่า 120 ม.ม ทุบสถิติ
  • ปัญหาที่ใหญ่มากคือ ค่าเฉลี่ยรายเดือนอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แต่ Extreme day กลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก นี่คือ Character ของปัญหา Climate Crisis 

 

สถิติที่ยังไม่ทุบ 

 

1. ปริมาณฝนสูงสุดรายเฉพาะวัน เจ้าของสถิติเดิมที่ 223 ม.ม. คือเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2560  ภาพข่าวจาก The Standard วันนั้นตกหนักต่อเนื่องจากช่วงกลางคืนแค่วันเดียวเท่านั้นก็เละแบบหมดสภาพ หนักยิ่งกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาเยอะ 
บางทีคิดว่านี่คือแค่จุดเริ่มต้น ซึ่งไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้นของปีนี้นะ

 

แต่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของหายนะภัยที่จะมาในปีต่อๆไปด้วย ยิ่ง Global Warming รุนแรงขึ้นเท่าใหร่ เราจะยิ่งเจอ Extreme Weather Event แบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หายนะจริงย่อมรุนแรงกว่าสัญญาณเตือน 

 

และถ้าน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่านี้อีกในช่วงปีค.ศ. 2050 สิ่งที่ผมกังวลที่สุดตอนนี้คือ กทม.และอีกหลายพื้นที่โดยรอบ จะยังคงสามารถอยู่อาศัยได้หรือไม่ ถ้าผู้คนยังไม่ใส่ใจและละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อมกันแบบนี้ มนุษย์เราส่วนมากก็มองเห็นกันแต่ พวกใครพวกมัน การเมือง เงินในกระเป๋า GDP และความมักง่ายสารพัด    
 

 

ไม่ได้พูดเล่นนะ พูดจริงๆ เที่ยวหน้าผมจะเอาแผนที่น้ำท่วมในปี 2050 มาวิเคราะห์ร่วมกับเรื่องโลกร้อนกัน แล้วค่อยมาดูกันว่า พ่อบ้านแม่บ้าน มนุษย์ธรรมดา จะเอาตัวรอดกันอย่างไร 

 

จำกันไว้ว่า This is just the Beginning. 

 

ปล. จากคนที่ไม่ลงทุนอสังหาฯในกทม.เลยแม้แต่บาทเดียว