โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก อาการ-สาเหตุ วิธีป้องกันต้องทำอย่างไรอ่านด่วน

18 ก.ค. 2565 | 21:25 น.

โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก Marburg อาการ-สาเหตุ และ การป้องกัน รวมถึงระยะฟักตัวนานกี่วัน อ่านรายละเอียดได้ทั้งหมดที่นี่

จากกรณีที่ กานา ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการว่า  พบผู้ติดเชื้อไวรัส “มาร์บวร์ก" (Marburg)  ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อตระกูลเดียวกับอีโบลา โดยผู้ป่วยทั้ง 2 คน เสียชีวิตแล้วในโรงพยาบาลในเขตปกครองอาชานติทางภาคใต้ของประเทศ หลังจากมีผลตรวจไวรัส "มาร์เบิร์ก"เป็นบวกเมื่อต้นเดือนนี้

 

ขณะที่ เพจสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แจ้งว่า โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บวร์ก (EBOLA-MARBURG VIRAL DISEASES) อาการ และ สาเหตุ มีดังนี้

 

 ลักษณะโรค

  • เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรงที่มีอัตราป่วยตายสูง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebolavirus)และเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก (Marburgvirus) 

 

ระบาดวิทยา

  • สถานการณ์ทั่วโลก : การระบาดของโรคพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในซูดาน 800 กิโลเมตรจากแซร์อีร์ (ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พ.ศ. 2547

 

สถานการณ์โรคในประเทศไทย

  • โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บวร์ก เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่งอัตราการแพร่ระบาดสูงและ เร็ว และอัตราค่อนข้างสูง(50-90%) ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้และโรคนี้ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวของประเทศไทย ก็อาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เชื้ออาจมาจากพื้นที่ระบาดของโรคเข้ามาในประเทศมาได้ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มประชากรบางกลุ่ม

 อาการของโรค

  • ไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก ตามด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียนท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่รุนแรงหรือในบางรายที่เสียชีวิต อาการเลือดออกง่ายมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวายอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง และช็อก โดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่

 

โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก อาการ-สาเหตุ

 

ระยะฟักตัวของโรค

  •  ประมาณ 2 - 21 วัน


 การวินิจฉัยโรค

  • อาจใช้วิธี RT-PCR หรือการตรวจหาแอนติเจนโดยวิธี ELISA ในตัวอย่างเลือด นํ้าเหลือง หรือจากอวัยวะ การวินิจฉัยมักจะเป็นการตรวจผสมผสานระหว่างการตรวจหาแอนติเจนหรือ RNA ร่วมกับหาแอนติบอดี IgM หรือ IgG (การตรวจพบแอนติบอดี IgMแสดงให้เห็นว่าเพิ่งพบการติดเชื้อไม่นานมานี้) การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ หรือการเลี้ยงในหนูตะเภาต้องทำให้ในห้องทดลองที่มีการป้องกันอันตรายระดับสูงสุด (BSL-4)
  • การตรวจด้วยวิธี ELISA จะใช้เพื่อตรวจหาความเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนชนิด IgM และ IgG ในนํ้าเหลือง (serum) ของผู้ป่วย บางครั้งอาจตรวจพบเชื้อได้จากการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในชื้นเนื้อจากตับ ม้าม ผิวหนัง หรืออวัยวะอื่นๆ การชันสูตรศพโดยการตรวจชื้นเนื้อ (Formalin-fi xed skin biopsy)หรือการผ่าศพพิสูจน์ด้วยการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์และเนื้อเยื่อสามารถทำได้การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี IFA เพื่อหาแอนติบอดี มักทำให้แปลผลผิดพลาด โดยเฉพาะในการตรวจนํ้าเหลืองเพื่อดูการติดเชื้อในอดีต
  • เนื่องจากโรคนี้มีอันตรายต่อมนุษย์สูงมากดังนั้นการตรวจและศึกษาทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ กระทำได้เฉพาะในระบบป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งชุมชนในระดับสูงสุด (BSL ระดับ 4)

 การรักษา

  •  ไม่มีการรักษาจำเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ

 การแพร่ติดต่อโรค การติดเชื้อไวรัสอีโบลาของคน เกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังนี้

  •  ในทวีปแอฟริกา เกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตายในป่าที่มีฝนตกชุก
  •  สำหรับไวรัสอีโบลา สายพันธุ์เรสตัน จะพบการติดต่อสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิง cynomolgus ที่ติดเชื้อ และยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศการติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือนํ้าอสุจินอกจากนี้การติดเชื้อในโรงพยาบาลก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ

 มาตรการป้องกันโรค

  • ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับทั้งไวรัสอีโบลาหรือมาร์บวร์กควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในนํ้าอสุจิ


มาตรการควบคุมการระบาด

  • แยกผู้ป่วยสงสัยจากผู้ป่วยอื่นๆ และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิด ใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาลอย่างเข้มงวด รวมถึงดำเนินการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว.