ลองโควิดคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด มีแนวทางการรักษาหรือไม่ อ่านเลยที่นี่

02 พ.ค. 2565 | 10:08 น.

ลองโควิดคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด มีแนวทางการรักษาหรือไม่ อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระอัพเดทข้อมูลทางวิชาการวิเคราะห์กลไกลที่ก่อให้เกิด LONG Covid

ลองโควิดคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด มีแนวทางในการรักษาหรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง

 

หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (Covid-19) สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) กระจายไปทั่ว 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

อัพเดต Long COVID

 

Umesh A และคณะได้ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับ Long COVID 
ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันเชื่อว่ามีหลายกลไกที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะ Long COVID 

 

ทั้งเรื่องผลจากการที่ไวรัสทำลายเซลล์โดยตรง (direct damage) 
การกระตุ้นภูมิคุ้มกันและกระบวนการอักเสบในร่างกาย (immune activation and inflammation) 

รวมถึงกระบวนการตอบสนองทางสรีรวิทยาของร่างกายภายหลังจากการติดเชื้อ (counter physiological response)

 

อาการผิดปกติเกิดขึ้นได้แทบทุกระบบในร่างกาย 

 

ทั้งระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด 

 

ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ และอื่นๆ

 

ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางมาตรฐานในการรักษาหรือป้องกัน Long COVID

 

ลองโควิดคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

 

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีกว่าการติดเชื้อแล้วรอเสี่ยงดวงว่าจะเป็น Long COVID หรือไม่

 

โควิด...ติด...ไม่ใช่แค่คุณ

 

โควิด...ติด...ไม่จบแค่หายหรือตาย แต่อาจเป็นปัญหาเรื้อรังระยะยาว

 

บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวันและการทำงาน 

 

รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

 

ใส่หน้ากาก สำคัญมาก

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลสถานการร์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย

 

วันที่ 2 พ.ค. 65 จากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า

 

  • ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 2,048,380 ราย  
  • เสียชีวิตเพิ่ม 84 ราย 
  • หายป่วยเพิ่ม 21,168 ราย
  • กำลังรักษา 129,068 ราย 
  • หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 1,945,552 ราย 
  • ผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,751 ราย 
  • อัตราการครองเตียงของผู้ป่วยปอดอักเสบ 23.0%