เชื้อโควิดอยู่ในร่างกายกี่วัน ควรกักตัวนานแค่ไหน อ่านเลย

25 เม.ย. 2565 | 12:48 น.

เชื้อโควิดอยู่ในร่างกายกี่วัน ควรกักตัวนานแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระชี้การติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ Omicron หรือเดลตา มีระยะเวลาพอๆ กัน

เชื้อโควิดอยู่ในร่างกายกี่วัน เป็นคำถามที่เวลาประชาชนให้ความสนใจ เนื่องจากปัจจุบันการแพร่ของเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) อยู่ในช่วงทรงตัวในระดับสูง

 

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้ดำเนินการหาคำตอบเรื่องดังกล่าว พบว่า 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า   

 
ติดเชื้อแล้ว ควรแยกจากคนอื่น 14 วัน

 

Boucau J และคณะ จากสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาระยะเวลาในการตรวจพบเชื้อไวรัสที่มีชีวิต โดยทำการเพาะเชื้อ (culture) 


พบว่ายังสามารถเพาะเชื้อได้ถึง 25% ณ 7 วัน แต่จะเพาะเชื้อไม่ขึ้นหากติดตามไป 14 วันหลังจากติดเชื้อ

การติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ Omicron หรือเดลตา มีระยะเวลาพอๆ กัน

 

ผลการศึกษานี้ช่วยให้เรานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หากตนเอง สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เกิดติดเชื้อโรคโควิด-19 ขึ้นมา ควรแยกกักตัวจากคนอื่นไป 2 สัปดาห์ หรือ 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะตัดโอกาสแพร่เชื้อ

 

นอกจากนี้  มีการศึกษาพบว่า เมื่อทำการเพาะเชื้อไวรัสในวันที่ 7 ยังเพาะเชื้อได้ถึง 25% แต่เพาะเชื้อไม่ขึ้นแล้วในวันที่ 14 นั่นหมายความว่า 

 

เชื้อโควิดอยู่ในร่างกายได้กี่วัน

 

หลังติดเชื้อโควิดไปได้ 7 วัน อัตราการแพร่เชื้อจะเริ่มลดลง และเมื่อถึงวันที่ 14 ก็ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีก 

 

ดังนั้นทางการแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกักตัวหรือแยกจากผู้อื่นประมาณ 10-14 วัน เพื่อตัดโอกาสการแพร่เชื้อ

 

สำหรับผู้ที่หายป่วย คือพ้น 14 วันแล้ว ถ้าลองตรวจ RT-PCR ยังอาจมีผลบวกอยู่ก็ได้ค่ะ เพราะมีซากเชื้อ 
 

หรือจุลชีพที่ถูกร่างกายทำลายจนหมดฤทธิ์แล้วหลงเหลืออยู่ แต่ตรงนี้ก็วางใจได้ว่าซากเชื้อนี้ไม่สามารถเพาะเชื้อและแพร่เชื้อได้อีกแล้ว

 

อย่างไรก็ดี ก็ไม่ใช่ว่าเชื้อจะหมดไปจากร่างกายเสียทีเดียว เพราะผลพวงจากการติดไวรัสชนิดนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพไปได้อีกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือในบางคนอาจลากยาวไปจนถึง 9 เดือน

 

โดยข้อมูลจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) พบว่า เชื้อโควิด 19 ที่เข้าสู่ร่างกายไม่ได้อยู่แค่ในระบบทางเดินหายใจ 

 

แต่ยังสามารถแบ่งตัวในเซลล์มนุษย์ส่วนอื่น ๆ และแพร่กระจายไปยังหัวใจ สมอง และเกือบทุกระบบของร่างกายภายในไม่กี่วันหลังจากติดเชื้อ

 

นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่หายป่วยจากโควิดแล้ว ยังต้องเผชิญกับภาวะลองโควิด (Long Covid) หรืออาการคงค้างหลังหายป่วย ในหลายระบบของร่างกาย แม้ว่าตอนที่ป่วยโควิดอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลยก็ตาม