โควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 3.2 หมื่นราย มากว่าสัปดาห์ก่อน 4.23%

24 เม.ย. 2565 | 02:05 น.

โควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 3.2 หมื่นราย มากว่าสัปดาห์ก่อน 4.23% หมอธีระเผยบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 301 คน

โควิดวันนี้atk ยังคงเป็นตัวเลขของการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 17,784

 

  • ATK 14,937

 

  • รวม 32,721

 

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบลดลงจาก 2,079 คน เป็น 1,929 คน ลดลง 7.21%

 

ใส่ท่อช่วยหายใจลดจาก 911 คน เป็น 899 คน ลดลง 1.33%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ มากกว่าสัปดาห์ก่อน 4.23% แต่น้อยกว่าสองสัปดาห์ก่อน 32.3%

บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 301 คน (ชาย 67, หญิง 234) 

 

โดยจังหวัดที่บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กรุงเทพฯ 59, ขอนแก่น 34, ศรีสะเกษ 24

 

หมอธีระ ยังโพสต์ด้วยว่า

 

การตัดสินใจเชิงนโยบายยามเกิดการระบาดทั่วโลก

 

โควิดวันนี้atk ยอดติดเชื้อกว่า 3.2 หมื่นราย

 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ รวมถึงยา และวัคซีน

 

ณ จุดเวลาของการตัดสินใจนั้น จำเป็นต้องสร้างนโยบายที่ใช้ข้อมูลวิชาการที่ดี มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ รวมถึงหากเป็นงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการสากลที่ผ่านการตรวจสอบจากหลายฝ่ายแล้ว ก็ยิ่งทำให้มั่นใจมากขึ้นด้วย

 

แต่หากการตัดสินใจ ณ จุดเวลานั้น มีข้อมูลสากลชัดเจน ทั้งชนิดที่ใช้ วิธีที่ใช้ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น แต่นโยบายในสังคมนั้นถูกผลักดัน ถูกชง ด้วยกิเลส ความเชื่อส่วนตัว สมมติฐานส่วนตัว ความงมงายเฉพาะกลุ่ม โดยไม่มีข้อมูลหลักฐานเพียงพอ แล้วนำไปใช้เป็นนโยบายสำหรับสาธารณะ การตัดสินเช่นนั้นย่อมไม่ต่างอะไรกับการนำคนในสังคมไปเป็นหนูทดลอง โดยไม่เป็นธรรม 

 

แม้ตอนหลังจะนำผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายที่ชง ไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ก็ไม่ได้หักล้างประเด็นความไม่เป็นธรรมของการตัดสินใจนโยบาย ณ จุดเวลาอดีตที่ผ่านมา

ในอดีตมีบทเรียนมากมาย ที่นักวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พยายามช่วงชิงโอกาสในการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือเพื่อแสวงหาคำตอบสมมติฐานในใจของตน แต่เป็นการละเมิดชีวิตของคนอื่น เช่น เชลยศึก คนที่ด้อยโอกาสทางสังคม หรืออื่นๆ จนเป็นที่มาของการเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรม จริยธรรมในการศึกษาวิจัยในมนุษย์

 

บทเรียนอันเจ็บปวด และน่าเสียใจในอดีตนั้น ล้วนสะท้อนให้สังคมปัจจุบันเฝ้าติดตาม กำกับ ตรวจสอบ การกระทำในลักษณะข้างต้น ไม่ให้เกิดขึ้น เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่กระทำไปนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และผลกระทบทั้งต่อร่างกาย จิตใจ ของผู้ที่เป็นเหยื่อรวมถึงสมาชิกในครอบครัว และสังคมโดยรวมทั้งหมด

 

การทำการวิจัย จึงไม่ใช่แค่ยึดตามปัญญา แต่ต้องมีจริยธรรมเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง มิใช่องค์ความรู้ที่แลกมาด้วยชีวิตและความสูญเสียอย่างไม่เป็นธรรม

 

หลักการข้างต้นคือหลักการสำคัญสำหรับทุกประเทศทั่วโลก และสำหรับทุกคนในสังคมโลก ที่ควรรู้เท่าทันและช่วยกันจัดการดูแลสังคมของตนให้ดี