โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน BA.2.12.1 เกิดจากอะไร น่ากลัวแค่ไหน อ่านเลย

21 เม.ย. 2565 | 05:24 น.

โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน BA.2.12.1 เกิดจากอะไร น่ากลัวแค่ไหน แพร่เชื้อไวไหม อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ระบุพบมากที่สุดในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน BA.2.12.1 คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน เป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจจากประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ที่ยังอยู่ในระดับสูง

 

"ฐานเศรษฐกิจ" ดำเนินการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ โอมิครอน BA.2.12.1 พบว่า

 

สายพันธุ์ย่อย “BA.2.12.1” เป็นโควิดโอมิครอนที่กลายพันธุ์มาจาก BA.2 ซึ่งพบว่ามีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

 

โดยปัจจุบันพบในสัดส่วน  1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วประเทศสหรัฐ และพบมากที่สุดในรัฐนิวยอร์กจากการรายงานของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ยังระบุอีกว่า โอไมครอนในประเทศไทย จากข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่ถอดมาต่อเนื่องบ่งชี้ว่า ดำเนินมาสู่ช่วงขาลง แต่สมาชิกสำคัญในกลุ่ม คือ

 

  • BA.1 ลดระดับลงจนสูญพันธุ์ไปแล้วในประเทศไทย

 

  • BA.2 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

แต่ที่ต้องระวังสมาชิกอื่นของโอไมครอนด้วยเช่นกันคือ BA.2.12 ที่กำลังแพร่ระบาดในไทยเพิ่มขึ้น 

 

หากเกิดการกลายพันธุ์ในส่วนโปรตีนหนามอีกเพียงตำแหน่งเดียวคือ “L452Q” 

 

โควิดสายพันธุ์ BA.2.12.1 เกิดจากอะไร น่ากลัวแค่ไหน

 

อาจกลายพันธุ์เป็น “BA.2.12.1” สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับที่เกิดขึ้นที่รัฐนิวยอร์กในขณะนี้

 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความเกี่ยวกับโควิด-19 โอไมครอนว่า BA.2.12.1 เป็นสายพันธุ์ลูกของ BA.2 ที่มีแนวโน้มเป็นสายพันธุ์หลักของโอไมครอนในสหรัฐอเมริกา ตัวเลขปัจจุบันระบุว่า BA.2.12.1 แพร่ไวกว่า BA.2 ปกติที่ 20% 

ไวรัสสายพันธุ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงที่โปรตีนหนามสไปค์ 2 ตำแหน่ง ที่สำคัญที่สุดคือ L452Q ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบในสายพันธุ์เดลต้า และ BA.4, BA.5 ที่ระบาดในแอฟริกาใต้ แต่ทั้งเดลตา และ BA.4 และ BA.5 จะเป็น L452R

 

ส่วนไวรัสที่มี L452Q ในอดีต คือ สายพันธุ์ Lambda หรือ C.37 ที่เคยระบาดหนักในเปรูเมื่อปีที่แล้ว 

 

นอกจาก L452Q แลัว BA.2.12.1 นี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่ง S704L ซึ่งอยู่นอกตำแหน่งที่สไปค์ใช้จับโปรตีนตัวรับ บทบาทของการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งนี้ยังไม่ชัดเจน

 

ข้อมูลล่าสุดจากการตรวจสอบ BA.2.12.1 ที่เมืองนิวยอร์ก พบการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมที่ตำแหน่ง 879 (A879V) 

 

ซึ่งยังไม่มีข้อมูลเช่นเดียวกันว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อไวรัสหรือไม่อย่างไร 

 

แต่ ไวรัส BA.2 เปลี่ยนแปลงไวมาก เมื่อเทียบกับ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ 

 

และการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง มุ่งไปที่ความสามารถในการแพร่กระจาย ติดง่าย ติดไวขึ้น 

 

ประเทศไทยคงมี BA.2.12.1 มาพร้อมกับการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวอีกในไม่ช้า