"แพกซ์โลวิด" รักษาผู้ป่วยโควิด กลุ่มไหนใช้ยาได้ ไม่ได้

21 เม.ย. 2565 | 03:40 น.

กรุงเทพมหานคร เตรียมพร้อมกระจาย "แพกซ์โลวิด" รักษาผู้ป่วยโควิด ที่มีความเสี่ยงสูง จะเกิดอาการรุนแรง พร้อมกำหนดแนวทางปฏิบัติในการจ่ายยารักษาผู้ป่วย กลุ่มไหนใช้ยาได้ ไม่ได้ เช็คเลย

กรุงเทพมหานคร เตรียมความพร้อมกระจาย "ยาแพกซ์โลวิด Paxlovid" เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด ไปยังโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ซึ่งแนวทางปฏิบัติในการจ่ายยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วย ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือการรักษาตัวในโรงพยาบาล

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รับมอบยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) จากบริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวนการจัดซื้อ 50,000 คอร์สการรักษา รวม 1.5 ล้านเม็ด ซึ่งยาดังกล่าวกำหนดทยอยส่งมอบจนครบภายในเดือน เม.ย.นี้ โดยมอบให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นหน่วยจัดเก็บและกระจายยา โดยยาแพกซ์โลวิดที่จัดซื้อถือครั้งนี้เบื้องต้นถือว่ามีจำนวนเพียงพอ

ปัจจุบันมีการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ และยาตัวใหม่ที่กำลังจะนำมาใช้ คือ ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid)

 

ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) คืออะไร

  • เป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ด สำหรับผู้ป่วยโควิด ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรง
  • สามารถลดความเสี่ยงการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ถึง 88%

 

ผู้ป่วยโควิด ที่เหมาะกับยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid)

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับเพียง 1 เข็ม

 

แนวทางในการจ่ายยาต้านไวรัสชนิดต่างๆ ให้กับบุคลากร เป็นไปตามคำแนะนำและข้อบ่งชี้ในการใช้ยาที่กรมการแพทย์ สธ.กำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย ซึ่งดำเนินแนวทางการรักษา

  • ผู้ป่วยต้องรับประทานยาครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
  • ห้ามใช้กับผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม
  • ผู้ที่การทำงานของตับหรือไตบกพร่อง
  • การเลือกใช้ยาแพกซ์โลวิดจะให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับยาทุกคน
  • กลุ่มอาการดีไม่มีความเสี่ยงพิจารณาให้ยาตามอาการ เช่น ฟ้าทะลายโจร หรือฟาวิพิราเวียร์