"Dow" ปั้นเยาวชนไทยออกแบบหุ่นยนต์ขนสินค้า

30 มี.ค. 2565 | 04:33 น.

Dow ปั้นเยาวชนไทยออกแบบหุ่นยนต์ขนสินค้า ผนึกกำลังพันธมิตรหวังพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในไทย ชูเป็นรากฐานของการพัฒนานวัตกรรมที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (DOW) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,บริษัท ชิชาง คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย)

 

,บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม จำกัด และบริษัท แกลสซี่แลนด์ จํากัด จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ FIRST® Tech Challenge Thailand ครั้งที่ 3 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

ทั้งนี้  ในส่วนของเวทีการแข่งขันเกิดจากความร่วมมือของ DOW กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพันธมิตร โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ STEM Education พรัอมพัฒนาทักษะด้านกระบวนการคิด การแก้ปัญหา การออกแบบ

 

และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ปีนี้ได้เปิดรับสมัครผู้ท้าชิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา  ม.1-ม.6 หรือเทียบเท่า ร่วมสร้างทีมจำนวน 4-10 คน เพื่อพิชิตภารกิจการขนส่งในหัวข้อ “FREIGHT FRENZY” 

 

อย่างไรก็ดี Dow มีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทำงานคิดค้นนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรมอยู่ทั่วโลกมากกว่า 7,000 คน จึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย เพราะจะเป็นรากฐานของการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

 

สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ร่วมสนับสนุน เวที FIRST® Tech Challenge THAILAND ที่มุ่งส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมและพัฒนาหุ่นยนต์ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำ และได้ฝึกใช้แนวทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยพัฒนาฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น และจะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต

 

Dow ปั้นเยาวชนไทยออกแบบหุ่นยนต์ขนสินค้า

 

การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ในระบบ “สะเต็ม” หรือ STEM Education ซึ่งประกอบด้วย 4 สาขาวิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) นำมาสู่การพัฒนาเยาวชนให้มี ทักษะ กระบวนการคิด การแก้ปัญหา การออกแบบ 

และพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยในปีนี้ได้กำหนดหัวข้อภารกิจในด้านการขนส่งให้ผู้เข้าแข่งขันแก้ไขโจทย์ที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นมา เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ในการฝ่าด่านและอุปสรรคในระบบการขนส่งสินค้า ทั้งนี้ หุ่นยนต์ที่เด็ก ๆ ได้ออกแบบขึ้นเองนี้มีโอกาสที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อการผลิตหุ่นยนต์ในเชิงพาณิชย์ใช้ในระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยได้ต่อไป

 

ดร.สิรินันท์ ศรีวีระสกุล ผู้จัดการ-ผู้อำนวยการโรงงานปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  เปิดเผยว่า รางวัล Winning Alliance Award (ชนะเลิศ) ได้แก่ ทีม Ezreal จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และทีม CKK Robot Senior จากโรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ป้ายประกาศเกียรติคุณรางวัลชนะเลิศ เกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง FTC พร้อมทุนการศึกษาทีมละ 10,000 บาท

 

รางวัล Finalist Alliance Award: 1st Runner Up (รองชนะเลิศอันดับที่ 1) ได้แก่ ทีม BEN2ROBOT จากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 จ.ฉะเชิงเทรา และทีม Sparkle จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้รับถ้วยรางวัล ป้ายประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตร เหรียญเงิน FTC พร้อมทุนการศึกษาทีมละ 5,000 บาท 

 

รางวัล Finalist Alliance Award: 2nd Runner Up (รองชนะเลิศอันดับที่ 2) ได้แก่ ทีม CKK-Robot Junior จากโรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน และทีม TRANSFINITY จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้รับถ้วยรางวัล ป้ายประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตร เหรียญทองแดง FTC พร้อมทุนการศึกษาทีมละ 2,500 บาท

 

นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิเศษอีก 12 รางวัล และผู้เข้าร่วมการแข่งขันยังได้รับเหรียญรางวัลและเกียรติบัตรทุกคน