โควิดวันนี้รวมatk ยอดผู้ติดเชื้อทะลุกว่า 5.3 หมื่นราย ปอดอักเสบเพิ่ม 10.77%

24 มี.ค. 2565 | 03:32 น.

โควิดวันนี้รวมatk ยอดผู้ติดเชื้อทะลุกว่า 5.3 หมื่นราย ปอดอักเสบเพิ่ม 10.77% หมอธีระเผยบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อเพิ่มถึง 478 คน

โควิดวันนี้รวมatk ยังคงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)   

 

ร.ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 27,024

 

  • ATK 26,768

 

  • รวม 53,792

 

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 1402 คน เป็น 1,553 คน เพิ่มขึ้น 10.77%

 

ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 504 คน เป็น 583 คน เพิ่มขึ้น 15.67%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน 15.18% แต่ลดลงกว่าสองสัปดาห์ก่อน 25.78%
 

บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อเพิ่มถึง 478 คน สูงที่สุดเท่าที่เคยระบาดมา (ชาย 81, หญิง 395, ไม่ระบุ 2)

 

ดูลักษณะรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มขึ้น น่าจะเป็นผลมาจากทั้งเรื่องไวรัสสายพันธุ์ BA.2 ที่แพร่ไวขึ้น และพฤติกรรมการป้องกันตัวระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

ทั้งนี้ในช่วง 7-10 วันข้างหน้า ควรเคร่งครัด ป้องกันตัวให้ดี เนื่องจากอาจเป็นช่วงสำคัญ หากป้องกันไม่ดีพอ จะยิ่งแพร่เชื้อกันได้มากตอนสงกรานต์และเกิดผลกระทบตามมาเป็นโดมิโน่

 

โควิดวันนี้รวมatk ยอดผู้ติดเชื้อทะลุกว่า 5.3 หมื่นราย

 

หมอธีระยังโพสต์ด้วยว่า

 

อัพเดตงานวิจัย

 

1. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีน ChAdOx1 และ Ad26
Kim AY และคณะ เผยแพร่งานวิจัยทบทวนอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมาน ในวารสารการแพทย์โรคติดเชื้อระดับสากล International Journal of Infectious Diseases เมื่อวานนี้ 23 มีนาคม 2565

 

โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันอยู่ที่ 28 ครั้งต่อการฉีดวัคซีน 100,000 โดส
 

บริเวณที่เกิดอุดตันบ่อยได้แก่ หลอดเลือดดำในสมอง 54%, หลอดเลือดดำในปอดหรือขา 36%, และในช่องท้อง 19%
การเกิดลื่มเลือดอุดตันนั้นมักพบบ่อยในเพศหญิง และพบในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี
คนที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันนั้นมีถึง 91% ที่ตรวจพบ antiplatelet factor 4 (anti-PF4) antibody
อัตราการเสียชีวิตหากเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน 32%
2. หลังฉีดวัคซีน หรือหลังติดเชื้อ พบว่าภูมิคุ้มกันระดับเซลล์คงอยู่ไปถึงอย่างน้อย 15 เดือน 

 

Wragg KM และคณะ จากประเทศออสเตรเลียทำการศึกษาพบว่า หลังฉีดวัคซีน หรือหลังเกิดการติดเชื้อ แม้ระดับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดหรือแอนติบอดี้จะลดลงไป แต่พบว่าภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ T cells นั้นขึ้นโดยอยูระดับคงที่ตั้งแต่ 6 เดือน และคงอยู่ได้นานถึง 15 เดือน

 

3. ติดโควิด-19 จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
Scherer PE และคณะ ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการแพทย์ ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันมีหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ยืนยันว่า หลังติดเชื้อโควิด-19 ไป แม้จะรักษาหายไปแล้ว แต่จะเกิดผลกระทบระยะยาว หรือ Long COVID ซึ่งส่งผลกระทบได้หลายระบบในร่างกาย รวมถึงปัญหาการเกิดโรคเบาหวาน