ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 4 เกณฑ์ล่าสุด ต้องฉีดสูตรไหน ห่างกันกี่เดือน

28 ม.ค. 2565 | 03:45 น.

ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 4 หลายจุดเริ่มเปิดให้บริการเเล้ว มาอัพเดทเกณฑ์ล่าสุด ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 4 ต้องฉีดสูตรไหน ห่างกันกี่เดือน

สถานการณ์โควิด 19 ยังคงน่าเป็นห่วง ยอดโควิดวันนี้ ยอดโควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 8,450 ราย เสียชีวิต 28 คน หายป่วย 7,484 ราย หลายหน่วยงานสาธารณสุขเริ่มเปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 4 กันแล้ว เพราะมีความจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้กับประชาชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน 

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขไฟเขียวแผนการ "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็มกระตุ้นให้แก่ประชาชนสำหรับผู้ที่เคยรับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาแล้วืในช่วงไตรมาสแรกช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. 2565 ด้วย ขณะนี้ ศบค.เห็นชอบแผนการฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 4 ให้กับประชากรในพื้นที่ 10 จังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดที่พบการติดเชื้อสูง ได้แก่

พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร 4 จังหวัด ได้แก่

  • ภูเก็ต
  • สุราษฎร์ธานี
  • กระบี่
  • พังงา

 

พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว หรือมีการระบาด 6 จังหวัด ได้แก่

  • กรุงเทพมหานคร
  • ชลบุรี
  • สมุทรปราการ
  • นนทบุรี
  • กาญจนบุรี
  • ปทุมธานี

 

ที่ผ่านมาประกาศให้ฉีดเฉพาะกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และกลุ่มเสี่ยง 608 เท่านั้น การฉีดวัคซีนเข็ม 4 จะเน้นในจังหวัดสีฟ้า เพื่อรองรับการเปิดพื้นจังหวัดท่องเที่ยว (Sandbox) ดังนั้น ประชาชนที่รับวัคซีนเข็ม 3 ไปแล้วเกิน 3 เดือนสามารถเข้ารับเข็ม 4 ได้

 

วัคซีนโควิดเข็ม 4 จากเข็ม 3 ห่าง 3 เดือน

1.บุคลากรทางการแพทย์

2.บุคลากรด่านหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19

 3.ประชาชนที่มีโรคประจำตัว/โรคเรื้อรัง เช่น ผู้สูงวัย ผู้กินยากดภูมิ ฯลฯ

ทั้งสามกลุ่ม ต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์เข็มที่ 3 ไปแล้ว โดยหากได้รับเข็ม 3 มาแล้วในระยะเวลา 3 เดือน ก็ให้ไปรับเข็มที่ 4 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ (ระหว่าง "เข็ม 3" กับ "เข็ม 4" ให้เว้นห่าง 3 เดือน)

 

สูตร "ฉีดวัคซีนโควิด" เข็ม 4  

  1. ประชาชนที่ฉีดเข็ม 1-2 ซิโนแวค + เข็ม 3 แอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 4 แนะนำแอสตร้าเซนเนก้า
  2. ประชาชนที่ฉีดเข็ม 1-2 แอสตร้าเซนเนก้า + เข็ม 3 ไฟเซอร์ เข็ม 4 แนะนำไฟเซอร์

 

สามารถติดต่อรับ วัคซีนเข็ม 4 จะเป็นหน้าที่ของทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการฯ จะวางแผนการบริหารจัดการวัคซีนในแต่ละจังหวัด กำหนดจุดฉีด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามารับเข็ม 4 ต่อไป สามารถติดตามในส่วนของแต่ละจังหวัดได้