เคาท์ดาวน์ปีใหม่ กรุงเทพฯ สรุปมาตรการ ศบค. สกัดโอมิครอน

31 ธ.ค. 2564 | 06:00 น.

เช็คกันอีกรอบ ทวนกันอีกครั้ง สำหรับมาตรการควบคุมโควิด โดยเฉพาะ โอมิครอน ในงานเคาท์ดาวน์ปีใหม่ กรุงเทพฯ ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

31 ธันวาคม 2564 เป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีหม่ 2565 ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า เชื่อว่าหลายคนกำลังมองหาสถานที่เคาท์ดาวน์ปีใหม่ โดยเฉพาะใครที่ไม่ได้เดินทางไปต่างจังหวัดก็คง กำลังคงกำลังวางแผนจะไปเช็คอินงานเคาท์ดาวน์กันอยู่แน่ๆ แต่ก็อย่างที่ทราบสถานการณ์โควิดยังน่ากังวลโยเฉพาะสายพันธ์โอมิครอน ซึ่งทางรัฐบาลแหละหน่วยงานด้านสาธารณสุขก็มีความเป็นห่วงจึงออกมาตรการควบคุมเคาท์ดาวน์ปีใหม่ปี

เอาเป็นว่าก่อนจะไปเคาท์ดาวน์กันคืนนี้มาทบทวนกันหน่อยว่าทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบกิจการต่างๆ ต้องปฎิบัติตัวอย่างไรบ้าง

เริ่มกันที่ร้านอาหารทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือ สถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร

  • บริโภคในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ
  • ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. สามารถพิจารณากำหนดมาตรการ และเวลาเพิ่มเติมได้ตามสถานการณ์ของพื้นที่ได้
  • ดื่มสุรา ในคืนวันที่ 31 ธ.ค.64- 1 ม.ค.65 สามารถเปิดบริการ และบริโภคสุราได้ไม่เกิน 01.00 น. และเฉพาะร้านที่เปิดโล่งอากาศถ่ายเทสะดวกเท่านั้น  แต่ต้องเคร่งครัดตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่สาธารณสุขกำหนด (COVID Free Setting)

 

กรณีมีผู้ร่วมงานตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป ต้องปฎิบัติตาม COVID Free Personnel ทั้ง ผู้จัดงาน พนักงาน นักร้อง นักดนตรี

  • ต้องได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบตามเกณฑ์
  • ต้องมีการตรวจ ATK ก่อนจัดงานภายใน 72 ชั่วโมง
  • คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้างาน ด้วย Thai save Thai หรือแอปพลิเคชันอื่น
  • ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA

 

ผู้เข้าร่วมงาน

  • ต้องลงทะเบียน และแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์
  • มีผลตรวจ ATK เป็นลบก่อนเข้างานภายใน 72 ชั่วโมง
  • คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้างาน ด้วย Thai save Thai หรือแอปพลิเคชันอื่น
  • ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA

 

 

สิ่งเเวดล้อม

  • จัดงานในพื้นที่ที่ควบคุมการเข้าออกได้ (พื้นที่ปิด) และในที่โล่งแจ้งเท่านั้น
  • ไม่ให้เกิดความแออัด โดยการจัดให้มีการจองตั๋วล่วงหน้าหรือลงทะเบียนล่วงหน้า ก่อนถึงวันจัดงาน
  • กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 1 คนต่อ 4 ตร.ม. และติดป้ายแสดงจำนวนผู้ใช้บริการให้เห็นชัดเจน
  • กำหนดโซนของผู้เข้าร่วมงาน ระบุที่นั่ง อาจจัดเป็นกลุ่ม (ไม่เกิน 5 คน) หรือ 2 ที่เว้น 1 ที่ และเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
  • งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความไร้ระเบียบ หรือสัมผัสใกล้ชิดกัน เช่น การจัดพื้นที่เต้นรำส่วนกลาง หรือทำกิจกรรมร่วมกัน
  • เน้นการทำความสะอาดพื้นที่ พื้นผิว หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสร่วมกัน ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
  • กรณีมีการแสดง ควรจัดระยะห่างระหว่างเวทีและผู้ชมอย่างน้อย 5 เมตร และเว้นระยะห่างของนักดนตรี นักแสดงบนเวทีอย่างน้อย 1 เมตร

 

กิจกรรม/กิจการที่มีความเสี่ยง

ขนส่งสาธารณะ

  • สถานีขนส่ง ท่ารถ หรือท่าเรือ จัดมีมาตรการเว้นระยะห่าง มีการระบายอากาศเป็นตามเกณฑ์ และทำความสะอาดบ่อย ๆ
  • ยานพาหนะ เน้นทำความสะอาดหลังจากใช้บริการแต่ละครั้ง กรณีพาหนะที่เป็นแบบปรับอากาศ ให้เปิดระบายอากาศ ทุก 2 ชม. หรือขณะพักรถ และหลังจากให้บริการแต่ละเที่ยว
  • ผู้โดยสารสวมหน้ากากตลอดเวลา และห้ามไม่ให้รับประทานอาหารขณะกำลังโดยสาร

 

ปั๊มน้ำมัน

  • ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมบ่อย ๆ โดยเฉพาะห้องน้ำ บริเวณจุดที่พักคอย
  • กิจการที่อยู่ในปั๊มน้ำมัน ให้ดำเนินการตามมาตรการ CFS ทุกกิจการ

 

ร้านอาหาร

  • จัดให้มีการระบายอากาศ และควบคุมความหนาแน่นในร้านอาหาร
  • งดไม่ให้มีกิจกรรมส่งเสริมการขายแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ และบริการที่ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด
  • การทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมบ่อยๆ โดยเฉพาะห้องน้ำ
  • ห้างสรรพสินค้า หรือคอมมูนิตี้มอล
  • ควบคุมการรวมกลุ่ม  เว้นระยะห่างในการใช้บริการ โดยเฉพาะศูนย์อาหาร ร้านอาหาร บริเวณที่จัดให้มีการแสดงสินค้า หรือส่งเสริมการขาย ลานกิจกรรม โรงภาพยนตร์ ฯลฯ
  • ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมบ่อย ๆ โดยเฉพาะห้องน้ำ ที่พักคอย
  • ทุกกิจการย่อยในห้างสรรพสินค้าให้ดำเนินการตามมาตรการ CFS

 

แหล่งท่องเที่ยว

  • ควบคุมการรวมกลุ่ม และเว้นระยะห่าง
  • กิจการ กิจกรรมภายในแหล่งท่องเที่ยวให้ดำเนินการตามมาตรการ CFS
  • กิจกรรมรวมตัวของเครือญาติ จัดงานสังสรรค์ที่บ้าน

 

คำเเนะนำ

  • ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
  • สวมหน้ากาก โดยเฉพาะเมื่อต้องใกล้ชิดผู้สูงอายุ
  • จัดในที่มีอากาศระบายได้ดี หรือที่โล่ง งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน
  • ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน งดร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน