สมัครประกันสังคมมาตรา40 ได้รับเงินทดแทน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อย่างไรบ้าง

25 ธ.ค. 2564 | 04:35 น.

ประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องไม่ลืมส่งเงินสมทบ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ รับเงินทดแทนกรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต เงื่อนไขมีอะไรบ้าง รวบรวมให้แล้วที่นี่

เงื่อนไขการเกิดสิทธิมาตรา 40

 

กรณีประสบอันตราย /เจ็บป่วย

 

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย

 

 

สมัครประกันสังคมมาตรา40 ได้รับเงินทดแทน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อย่างไรบ้าง

 

กรณีทุพพลภาพ 
(ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ)

 

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน 

ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ 

รับ 500 บาทต่อเดือน 

 

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน 

ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ 

รับ 650 บาทต่อเดือน

 

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน 

ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ 

รับ 800 บาทต่อเดือน

 

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน 

ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ

รับ 1,000 บาทต่อเดือน

 

กรณีตาย  

 

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน 

ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต

ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ

ทั้งนี้ผู้ประกันตนสามารถเลือกสมัครได้ 3 ทางเลือกและรับสิทธิประโยชน์  รายละเอียดดังนี้

 

 

สมัครประกันสังคมมาตรา40 ได้รับเงินทดแทน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อย่างไรบ้าง

 

1. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน ( * ลดเหลือ 42 บาท/เดือน) คุ้มครอง 3 กรณี

 

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้

 

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )
  • รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้  500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี  (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)
  • กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ  25,000 บาท

 

2. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน ( *ลดเหลือ 60 บาท/ เดือน) คุ้มครอง 4 กรณี

 

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )
  • รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้  500 - 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี  (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)
  • กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท
  • กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 50 บาท/เดือน

3.ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (ลดเหลือ 180 บาท/เดือน) คุ้มครอง 5 กรณี

 

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท 
  • รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 90 วัน/ปี
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาท ตลอดชีวิต
  • กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000บาท
  • กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 150 บาท/เดือน
  • กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ เดือนละ 200 บาท/คน คราวละไม่เกิน 2 คน

 

หมายเหตุ : การจ่ายสิทธิประโยชน์เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิสามารถติดต่อขอรับสิทธิประโยชน์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก

 

  • สำนักงานประกันสังคม ได้ปรับลดเงินสมทบให้แก่ผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 และจะสิ้นสุดในวันที่  31 มกราคม 2565

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

วิธีชำระเงินสมทบมาตรา 40  ง่ายๆ 

 

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น)
  • แอปพลิเคชัน ShopeePay
  • ตู้บุญเติม
  • เซ็นเพย์ พาวเวอร์ by บุญเติม 
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • เคาน์เตอร์โลตัส
  • เคาน์เตอร์บิ๊กซี

 

หมายเหตุ 

  • ผู้ประกันตน สามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบเพิ่มเติม (ถ้ามี) งวดเดือนปัจจุบันและชำระเงินสมทบงวดเดือนล่วงหน้าไม่เกิน 12 งวดเดือน รวมชำระเงินสมทบได้ไม่เกิน 13 งวด 
  • กรณีเงินสมทบเพิ่มเติม ชำระได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท 
  • ไม่สามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบเพิ่มเติม งวดย้อนหลังได้!

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน