"โอมิครอน" ในไทย มีเวลารับมือเท่าไหร่ ควรทำอย่างไร เช็กเลย

22 ธ.ค. 2564 | 04:07 น.

"โอมิครอน" ในไทย มีเวลารับมือเท่าไหร่ ควรทำอย่างไร อ.นิด้ามองอนาคตไทมไลน์จากการพบผู้ป่วยรายแรก พร้อมสรุปสิ่งที่ควรทำ ชี้ปีใหม่ฉลองได้แต่ต้องเพิ่มวินัย

นายสันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว (Sunt Srianthumrong) โดยมีข้อความว่า
Covid-19: เรามีเวลาเท่าไหร่จาก 1st Local Omicron (โอไมครอน) เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.
มองอนาคตจาก Timeline ที่ผ่านมาของ South Africa (แอฟริกาใต้)
นับจากจาก Patient Zero:
1. คนไข้ที่ตรวจพบคนแรก อาจไม่ใช่ Patient Zero ในกรณี S.Africa น่าจะพบช้าไป 22 วัน
2. จากการตรวจพบครั้งแรก ไป Daily New Case ระดับ 2,000 ใช้เวลา 16 วัน
3. จากการตรวจพบครั้งแรก ไป Daily New Case ระดับ 10,000 ใช้เวลา 23 วัน

4. South Africa มีประชากร 60 ล้าน ตัวเลขวิ่งขึ้นไปที่วันละ 25,000 - 30,000 อย่างรวดเร็ว แต่ไปอื่มตัวที่ระดับนั้นยังไม่ขึ้นต่อ
5. เราฉีดวัคซีนไปมากกว่า S. Africa อย่างมาก สถานการณ์อาจจะดีกว่า
6. ถ้าเราทำ Contact Tracing ดีและเร็วพอ เรายังอาจยัง Contain มันได้อยู่ 
7. กราฟ %Increase ประเทศไทยสีแดง ยังเกาะเส้นขาลงสีเหลืองดีมาก ถ้าเส้นสีแดงเริ่มแยกจากเส้นเหลืองแบบ "Verticle" ขึ้นลิฟต์ เมื่อไหร่ เมื่อนั้นต้องยกการ์ดสูงสุดทันที เราจะจับตาดูกราฟนี้วันต่อวัน

ไทยมีเวลาเท่าไหร่ในการรับมือโอมิครอน
สิ่งที่ควรทำทันที

1. ยกเลิก Test and Go ทันทีต้องเข้า State Quarantine 14 วันทั้งหมด เพราะระบาดในยุโรปและ US มากพอๆกันหรือมากกว่า Delta แล้ว
2. ต้องเข้มงวดการสวมหน้ากากทั่วประเทศทันที ตอนนี้การ์ดตกกันสุดๆ
3. จังหวัดที่วัคซีนต่ำ ต้องเร่งรณรงค์และควรใช้ Vaccine Passport ในหลายกิจกรรมได้แล้ว  

ถ้าเราการ์ดตกกันมาก Major Impact ที่เราน่าจะเริ่มรู้สึกน่าจะอยู่แถวๆกลางๆเดือนมกรา 2565 แต่ถ้าเราช่วยกันยกการ์ดเสียหน่อย ก็จะน่ายืดเวลาไปได้อีกมากครับ ปีใหม่ยังเที่ยวได้ ฉลองได้ แต่ขอให้เพิ่มวินัยกันให้มากขึ้นอีกนิดครับ แล้วหลังจากนั้นพร้อมรบ

กราฟแสดงการติดเชื้อโควิด-19
สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19)ในประเทศไทย วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 นั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น  2,532 ราย  
ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 2,170,198 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 31 ราย หายป่วยเพิ่ม 3,191 ราย กำลังรักษา 38,202 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 2,111,962 ราย