ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังประหยัดช่วยมีวัคซีนเหลือใช้เพิ่ม 5-10 เท่า

08 ต.ค. 2564 | 02:03 น.

หมอธีระวัฒน์ชี้ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังปลอดภัย ผลข้างเคียงมีเพียงตำแหน่งฉีด ผลรุนแรงบไม่มี ประหยัดช่วยมีวัคซีนเหลือใช้เพิ่ม 5-10 เท่า

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า ข้อมูล ที่มา ความสำคัญ กลไก ความปลอดภัย ของการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง
การฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันผ่านกลไกอีกระบบหนึ่งที่ไม่กระตุ้นหรือมีผลน้อยที่สุดในการก่อการอักเสบแบบระบบที่ฉีดเข้ากล้าม
นอกจากนั้นปริมาณที่ใช้จะน้อยมาก
ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับยังคงอยู่แต่ลดผลข้างเคียงทั้งระยะเฉียบพลันและระยะยาวที่จะเกิดขึ้น
นอกจากนั้น ประหยัดและสามารถมีวัคซีนเหลือใช้ได้กับคนเพิ่มขึ้นห้าถึง 10 เท่า
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดกันทุกวันนี้ก็มีแบบเข้าชั้นผิวหนังเช่นกันและอนุมัติใช้ในประเทศสหรัฐด้วย

อย่างไรก็ดี "หมอธีระวัฒน์" ยังได้โพสต่ออีกด้วยว่า 
ถ้าฉีดได้วันละ 1 ล้านห้า ทุกว้น
วัคซีนเข้ามากระปริบกระปรอยก็ไม่ว่า 
10 ล้านโดส เป็น 30 เป็น 50 หรือ 100 ล้านโดส ขึ้นกับยี่ห้อ

ฉีดเข้าชั้นผิวหนังช่วยมีวัคซีนเพิ่มขึ้น 5-10 เท่า
ถ้าใช้การฉีดเช้าชั้นผิวหนังที่พิสุจน์แล้วได้ผล 
ผลข้างเคียงถ้าจะมี ก็ที่ตำแหน่งฉีด เท่านั้น ผลรุนแรงแทบไม่มี หรือ น้อยกว่าเข้ากล้ามเป็น 10 เท่า
ทำแล้ว ที่ มอ  วชิระภูเก็ต ทีม ประสาน อาจารย์หมอเขตต์ ดร.อนันต์ อาจารย์หมอทยา และเราด้วย
แล้วคนไทยจะมีความสุขแค่ไหน
ทำเลย วันนี้ 

สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 (covid-19) ในประเทศไทยนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-6 ต.ค. 64 มีการฉีดสะสมแล้วจำนวน 57,387,052 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 33,774,684 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 22,005,722 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน 1,606,646 ราย