เปิดเบอร์โทร สายด่วนโควิด กทม. นำผู้ติดเชื้อเข้าระบบ HI/CI ครบทุกเขตที่นี่

17 ส.ค. 2564 | 19:30 น.

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกรุงเทพฯ โทรสายด่วน สปสช. 1330 หรือ สายด่วนโควิด 50 เขต นำเข้าระบบการรักษาพยาบาล การกักตัวที่บ้าน(HI) /การกักตัวในชุมชน (CI) เช็คเบอร์โทรครบทุกเขตที่นี่

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกรุงเทพฯ โทรสายด่วน สปสช. 1330 หรือ สายด่วนโควิด 50 เขต เขตละ 20 คู่สาย  Standby 24 ชั่วโมง ให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 และนำเข้าระบบการรักษาการกักตัวที่บ้าน(Home Isolation : HI) / การกักตัวในชุมชน(Community Isolation : CI) เช็คเบอร์โทร ที่นี่

เปิดเบอร์โทร สายด่วนโควิด กทม. นำผู้ติดเชื้อเข้าระบบ HI/CI ครบทุกเขตที่นี่

สายด่วนโควิด 50 เขต

กรุงเทพเหนือ

  • จตุจักร 0 2026 3100
  • ดอนเมือง 0 2026 3122
  • บางเขน 0 2026 3166
  • บางซื่อ 0 2026 3233
  • ลาดพร้าว 0 2026 3499
  • สายไหม 0 2026 3500
  • หลักสี่ 0 2026 6800

กรุงเทพกลาง

  • ดินแดง  0 2092 7016
  • ดุสิต  0 2092 7121
  • ป้อมปราบศัตรูพ่าย  0 2092 7313
  • พญาไท  0 2092 7580
  • พระนคร  0 2092 7643
  • ราชเทวี  0 2092 7701
  • วังทองหลาง  0 2092 7910
  • สัมพันธวงศ์  0 2094 1429
  • ห้วยขวาง  0 2096 9112

กรุงเทพตะวันออก

  • คลองสามวา 0 2096 9202
  • คันนายาว 0 2483 5000
  • บางกะปิ 0 2483 5001
  • บึงกุ่ม 0 2483 5002
  • ประเวศ 0 2483 5003
  • มีนบุรี 0 2483 5004
  • ลาดกระบัง 0 2483 5005
  • สะพานสูง 0 2483 5006
  • หนองจอก 0 2483 5007

กรุงเทพใต้       

  • คลองเตย 0 2096 2823
  • บางคอแหลม 0 2096 2824
  • บางนา 0 2096 2825
  • บางรัก 0 2096 2826
  • ปทุมวัน 0 2096 2827
  • พระโขนง 0 2096 2828
  • ยานนาวา 0 2096 2829
  • วัฒนา 0 2096 2830
  • สวนหลวง 0 2096 2831
  • สาทร 0 2096 2832

กรุงธนเหนือ

  • คลองสาน 0 2023 9900
  • จอมทอง 0 2023 9911
  • ตลิ่งชัน 0 2023 9922
  • ทวีวัฒนา 0 2023 9933
  • ธนบุรี 0 2023 9944
  • บางกอกน้อย 0 2023 9966
  • บางกอกใหญ่ 0 2023 9977
  • บางพลัด 0 2023 9988

กรุงธนใต้

  • ทุ่งครุ 0 2483 5008
  • บางขุนเทียน 0 2483 5009
  • บางแค 0 2483 5010
  • บางบอน 0 2483 5011
  • ภาษีเจริญ 0 2483 5012
  • ราษฎร์บูรณะ 0 2483 5013
  • หนองแขม 0 2483 5014

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบันที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้เร่งดำเนินการค้นหาเชิงรุก เพื่อนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กทม.จึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กสทช True, Dtac AIS และ NT จัดตั้ง “สายด่วนโควิดเขต” เป็นสายตรงถึง 50 สำนักงานเขต เขตละ 20 คู่สาย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาโดยเร็ว โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 

ทั้งนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากผู้ป่วยติดเชื้อผ่านทางสายด่วนโควิดเขต จะมีการประเมินอาการและความพร้อมในการเข้ารับการรักษาตามระดับอาการ หากผู้ป่วยสามารถแยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation (HI) ได้ เจ้าหน้าที่จะแนะนำขั้นตอนในการรับการดูแล

หากไม่พร้อมจะดำเนินการรับผู้ป่วยมาพักคอย ณ ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (community isolation : CI) โดยจะมีทีมแพทย์พยาบาลประเมินอาการ ให้ยารักษา และส่งต่อเข้ารับการรักษาตามอาการต่อไป ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 เข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วขึ้น อันจะเป็นการลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ ขอให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ดูแลโทรแจ้งเขตพื้นที่ที่พักอาศัยในปัจจุบัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อประสานความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วต่อไป

ผู้ป่วยที่มีผลตรวจโควิดจาก Antigen test หรือ RT- PCR สามารถโทรติดต่อสายด่วน 1330 หรือสายด่วนของสำนักงานเขต ซึ่งนอกจากการดำเนินการเกี่ยวกับ HI/CI แล้วยังประสานให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ในเรื่องอื่นๆ ด้วย

โดยสายที่โทรมาที่เขตจะมีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยไปที่ระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ สปสช. เป็นผู้แจกจ่ายเคสให้กับทีมที่ต้องเข้าไปประเมินตามลักษณะอาการของผู้ป่วย สำหรับรายที่ต้องเข้าระบบ HI และ CI กทม. โดยศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง จะเป็นผู้ดูแล ร่วมกับคลินิกชุมชนอบอุ่น และคลินิกภาคเอกชนที่เป็นเครือข่าย

ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์