"วัคซีนโควิด" หมอประสิทธิ อธิบายความจริงที่ควรรู้

22 ม.ค. 2564 | 01:30 น.

"หมอประสิทธิ" อธิบาย การฉีดวัคซีน เพื่อสร้าง ภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการแพร่ระบาดโควิด 19 และกำจัดไวรัสได้ในที่สุด พร้อมให้ข้อมูล วัคซีนที่เลือกใช้ ไม่จำเป็นต้องเลือกที่ได้ประสิทธิภาพ 100% เพราโดยธรรมชาติไม่มีวัคซีนไหนที่ไ่ด้ผล 100% แม้แต่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดกันทุกปี ยังมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 50-60%

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า การเลือกวัคซีน ไม่จำเป็นต้องเลือกวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงใกล้ 100% เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ไม่มีวัคซีนไหนที่ไ่ด้ผล 100% วัคซีนทั่วไปมีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 50% เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดประจำทุกปี ทั่วไปอย่างน้อยๆ มีประสิทธิภาพ 50-60% ดังนั้น คนที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว จึงอาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่จะไม่รุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิต

ปัจจัยสำคัญในการเลือกวัคซีน คือ ความปลอดภัย และต้องไม่เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือ การบริหารจัดการให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ เป็นอีกหนึ่งข้อพิจารณาที่สำคัญในการเลือก เช่น บางวัคซีนเก็บรักษายากมาก ต้องดูองค์ประกอบการในนำวัคซีนไปถึงผู้ป่วย มันยากมากน้อยแค่ไหน และเมื่อถึงแล้วยังคงประสิทธิภาพหรือไม่ 


สำหรับวัคซีนที่พัฒนากันอยู่เวลานี้ มีอยู่ประมาณ 20 ตัวที่การทดลองอยู่ในระยะ 3 และมี 8 ตัวที่ใช้กันในหลายประเทศ ใช้แบบกรณีฉุกเฉิน จำเป็น ใช้ในประชากรบางกลุ่ม มี 2 ตัว ที่ใช้ทั่วไป และถูกให้หยุดใช้ไปแล้ว 1 ตัวโดยการวิจัยและพัฒนาในระยะ 1-2 เป็นระยะการพัฒนาเรื่องความปลอดภัย ต้องปลอดภัยสำหรับคนในทุกๆ คน ทุกเชื้อชาติ ส่วนระยะ 3 เป็นการประเมินประสิทธิภาพ

ความจริงที่น่ารู้ เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน

- ประมาณ 95% ของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จะเกิดภูมิคุ้มกัน และอาจจะสูงพอป้องกันหรือยับยั้งเชื้อได้ตั้งแต่ 8 วันหลังการติดเชื้อ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ถ้ารุนแรงน้อย ระดับภูมิคุมกันที่เกิดขึ้นก็น้อยตามไปด้วย
- ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น จะเข็นเร็วใน 3 สัปดาห์แรก หลังการติดเชื้อ แล้วจะค่อยๆ ลดลง การศึกษาของ Public Health Endland (PHE) ระบุว่า ภูมิคุ้มกัน จะคงอยู่ไม่น้อยกว่า 5 เดือน แต่ไม่น่าจะคงอยู่นาน
- จากภูมิคุ้มกันที่ที่ไม่ได้อยู่นาน ทำให้คนๆ นั้นสามารถติดเชื้อซ้ำได้ 
- จำนวนสัดส่วนประชากรที่มีภูมิคุ้มกัน ที่จะก่อให้เกิด Herd (Community) Immunity หรือภูมิคุ้มกันหมู่ ในการแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังไม่ทราบชัดเจน สำหรับวนโรคหัด คือ 95% ในโปลิโอคือ 80%


ยกตัวอย่างการสร้าง ภูมิคุ้มกันหมู่ คือ สมมุติคนจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 15 คนที่ฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกัน ส่วนอีก 5 คนไม่ได้ฉีด ต่อมา 5 คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มี 4 คนที่ติดเชื้อ อีก 1 คนรอด ด้วยการป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวด ผู้ติดเชื้อ 4 คน คนหนึ่งเสียชีวิต ส่วน 3 คนที่เหลือรอด ก็จะเกิดภูมิคุ้มกัน รวมกับพววกที่ฉีดวัคซีน ก็คือจะมีคนที่มีภูมิคุ้มกัน 18 คน และคนที่ป้องกันตัวเองอีก 1 คน เชื้อในคนกลุ่มนี้ ก็จะหายไป

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ประสิทธิ์ ย้ำว่า ไวรัสมันลอยในอากาศ และจะเพิ่มจำนวนจากการเข้าไปอยู่ในสิ่งมีชีวิต ถ้ามันเข้าไม่ได้เพราะสิ่งมีชีวิตป้องกันตัวเอง การที่มันล่องลอยอยู่ในอากาศ มันจะจะลดจำนวนของมันลงไปเอง ซึ่งถ้าถึงจุดๆ หนึ่ง มันก็จะสลายไป สุดท้ายก็อาจจะไม่ต้องใส่หน้ากาก 

อีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้ สำหรับความจำเป็นในการฉีดวัคซีน คือ การฉีควัคซีนไม่ใช่การทำให้ไวรัสโควิด -19 หายไป แต่เป็นการป้องกันและเป็นความพยายามในการหยุดการแพร่ระบาด ยกตัวอย่างง่ายๆ ของการสร้าง ภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งเกิดได้ 2 ทางคือ จากการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน กับการติดเชื้อตามธรรมชาติ แต่อย่างหลัง หากอาการร้ายแรง ก็อาจะถึงเสียชีวิต แต่การฉีดวัคซีน จะทำให้คนไม่มีภูมิ เกิดภูมิคุ้มกัน การฉีดวัคซีนก็ต้องให้ความปลอดภัยด้วย