ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่14ส.ค.ที่ระดับ 34.84 บาทต่อดอลลาร์

14 ส.ค. 2567 | 11:59 น.
อัพเดตล่าสุด :14 ส.ค. 2567 | 12:04 น.

ค่าเงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่ผันผวนมากขึ้นในช่วงบ่ายบางจังหวะที่กลับไปอ่อนค่ากว่าแนว 35.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางการเมืองในประเทศ และแรงขายพันธบัตรไทยของต่างชาติ แต่พลิกแข็งค่ากลับมาอีกครั้งในช่วงเย็น

เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 35.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเงินบาทมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างผันผวนระหว่างวัน ในช่วงประมาณ 34.84-35.12 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงแรกท่ามกลางกระแสการคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่า 25 basis points ในการประชุม FOMC เดือนก.ย.

อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่ผันผวนมากขึ้นในช่วงบ่าย โดยมีบางจังหวะที่กลับไปอ่อนค่ากว่าแนว 35.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางการเมืองในประเทศ และแรงขายพันธบัตรไทยของต่างชาติ แต่เงินบาทก็พลิกแข็งค่ากลับมาอีกครั้งในช่วงเย็น

ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังขาดแรงหนุนเนื่องจากตลาดยังรอติดตามตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ ในคืนนี้อย่างใกล้ชิด สำหรับทิศทางฟันด์โฟลว์ในวันนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 438.4 ล้านบาท แต่มีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 9,637 ล้านบาท 

ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 14 สิงหาคม จากเว็บไซต์ ธปท. อยู่ที่ -26.22 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ -22.77 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ ประเมินเบื้องต้นไว้ที่ 34.75-35.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์การเมืองในประเทศ 

ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนก.ค. ของจีน ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 2/2567 ของญี่ปุ่นและอังกฤษ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วย จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดค้าปลีกเดือนก.ค.  ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค. และผลสำรวจภาคการผลิตเดือนส.ค. ของเฟดสาขานิวยอร์กและฟิลาเดลฟีย