คำให้การ “วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ” STARK ถูกประทุษร้าย จนพังพินาศ

29 ม.ค. 2567 | 08:45 น.

“วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ” แถลงต่อศาลแพ่ง ระบุ การพังพินาศของ STARK มีสาเหตุมาจากการถูกประทุษร้าย จากชนินทร์ เย็นสุดใจ อดีตประธานและนายศรัทธา CFO บริษัท กับพวก นําเงินกว่า 8,841ล้านบาท ออกไป จากการสร้างยอดขายปลอม

รายงานข่าวจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ผู้ถือุห้นใหญ่ บริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  STARK จำเลยที่ 1 ในคดี กลุ่มผู้เสียหายหุ้นกู้ STARK ที่ใช้ชื่อกลุ่มว่า "ห้อง STARK ตัวจริง" ได้ให้การต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 

โดยช่วงหนึ่ง นายวนรัชต์ ให้การต่อศาลกรณีที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ซึ่งเป็นผู้ที่ รับผิดชอบคดีทุจริต บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ตรวจพบว่า นายชนินทร์ เย็นสุดใจ อดีตประธาน กรรมการ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ได้โยกย้ายเงินจํานวน 8,000 ล้านบาท ไปเก็บไว้ที่ประเทศอังกฤษ

"ชนินทร์"โยกย้ายเงิน STARK เข้าบัญชีกว่า 8 พันล้าน

นายวนรัชต์ ระบุว่า ข้อมูลที่ปรากฏในข่าวดังกล่าวของป.ป.ง. ทําให้รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานราชการสามารถติดตาม ตรวจสอบจนพบว่า เงินที่สูญหายออกไปจากระบบของบริษัท สตาร์คฯและกลุ่มสตาร์คส่วน ใหญ่เกือบจะทั้งหมดได้ถูกนายชนินทร์ โยกย้ายไปซุกซ่อนไว้ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งการตรวจพบดังกล่าวถือ เป็นพยานหลักฐานชิ้นสําคัญที่สุด และเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ใครเป็นผู้ที่ รับประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการทุจริตในบริษัท สตาร์คฯ ที่เกิดขึ้น

นายชนินทร์ เย็นสุดใจ อดีตประธาน กรรมการ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน)

นายวนรัชต์ ให้การต่อไปว่า การตรวจพบเงินจํานวน 8,000 ล้านบาทดังกล่าวยังเป็นสัญญาณที่ดี สําหรับผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหลายที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการทุจริตที่เกิดขึ้นในบริษัท สตาร์คฯและกลุ่มสตาร์คอีกด้วย เพราะหากสามารถนํากลับมาใช้ในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายได้แล้ว ย่อมเป็นการบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้เสียหายเกือบจะทุกรายที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการทุจริตในครั้งนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด

“นอกจากนี้ เงินจํานวน 8,000 ล้านบาท ที่ถูกนําไปซุกซ่อนไว้ที่ประเทศอังกฤษนั้น เมื่อนํามา รวมกับทรัพย์สินมูลค่ารวม 349.9 ล้านบาท ของผู้กระทําความผิดที่ถูกสํานักงาน ปปง. ยึดและอายัดไว้ชั่วคราวเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ทําให้ยอดเงินและทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้ายจาก การดึงเงินออกจากระบบเงินทุนหมุนเวียนของสตาร์คและกลุ่มสตาร์คเพิ่มขึ้นเป็น 8.3 พันล้านบาท” นายวนรัชต์ ระบุ

นอกจากนี้ยังพบเส้นทางเงินถูกโอนไปยังนายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ โดยถูกแบ่งโอนออกเป็นสองเส้นทางย่อย คือ บัญชีธนาคารกสิกรไทยจํากัด (มหาชน) ชื่อ นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ เลขที่ 078-8-55116-9 จํานวน 36 ครั้ง เป็นเงินจํานวน 491,172,250 บาท จากนั้นได้โอนไปยังบัญชีต่างๆอีกหลายบัญชี

คำให้การ “วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ” STARK ถูกประทุษร้าย จนพังพินาศ

พบเงิน STARK กว่า 1 หมื่นล้านสูญหาย

นายวนรัชต์ ระบุอีกว่า ได้เข้าไปตรวจสอบบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค พบว่า เงินส่วนใหญ่จํานวนเกือบทั้งหมดประมาณ 10,000 ล้านบาท ได้สูญหายไปจนหมดสิ้น จึงได้ริเริ่มให้สตาร์ค ทําการว่าจ้าง บริษัท ดีลอยท์ ทัช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จํากัด ให้เข้ามาทําหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเชิงลึกทางบัญชี (Forensic Audit) เพื่อสืบหาความจริงและเสาะหาตัวผู้กระทํา ความผิดมาฟ้องลงโทษ

โดย ดีลอยท์ ที่ปรึกษา ได้ส่งทีมงานเข้ามาทําการตรวจสอบในเชิงลึก แต่ต่อมาในระหว่างที่การ ตรวจสอบยังไม่เสร็จสิ้น ตัวของนายวนรัชต์เองก็มาถูกคําสั่งของ ก.ล.ต. ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่กรรมการลงเสียก่อน และ ดีลอยท์ ที่ปรึกษา ก็ได้มีหนังสือแจ้งมายังบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ขอยกเลิกสัญญาและหยุดปฏิบัติหน้าที่ในทันที จึงทํา ให้การตรวจสอบต้องยุติลงเพียงแค่นั้น

นายวนรัตช์ กล่าวอีกว่า ต่อมาได้ทราบจากรายงานตรวจสอบพิเศษ (Special Audit) ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) โดยผู้สอบบัญชี บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จํากัด ซึ่งจัดทําขึ้นตามคําสั่งของ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามหนังสืออ้างอิงเลขที่ กลต.จท-1. 1278/2566 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ในหน้าที่ 7

นายวนรัตช์ ระบุว่า บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) นําเงินส่วนใหญ่ที่ได้รับจากการออก หุ้นกู้ไปให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท เฟลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จํากัด และบริษัท ไทยเคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และชําระสินเชื่อและเงินกู้ยืมจากธนาคาร

ดังนั้น เงินที่ควรจะเหลืออยู่ในบัญชีธนาคารของ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) จํานวน 14,778,000,000 บาท ส่วนใหญ่จึงถูกโอนไปยัง บริษัท เฟลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จํากัด และบริษัท ไทยเคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และชําระสินเชื่อและเงินกู้ยืมจากธนาคาร ตามที่ปรากฏ ในรายงานฉบับดังกล่าว

จากพยานหลักฐานที่ปรากฏชัด ณ ขณะนี้ เงินและทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้ายจากการดึงเงินออกจากระบบเงินทุน หมุนเวียนของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์คจํานวน 8,349,933,130.26 บาท ที่อยู่ในความ ครอบครองของนายชนินทร์ กับ เงินที่ถูกนายศรัทธาฯ กับพวกทุจริตออกไปจากระบบเงินหมุนเวียนจํานวน 491,172,250 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจํานวน 8,841.105,380.26 บาท นั้น เป็น หลักฐานสําคัญที่ชี้ให้เห็นตัวผู้กระทําความผิดในการทุจริตที่เกิดขึ้นใน บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด(มหาชน) และกลุ่มของสตาร์ค อย่างชัดเจน

คำให้การ “วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ” STARK ถูกประทุษร้าย จนพังพินาศ

 

STARK ถูกประทุษร้าย จนพังพินาศ

เงินจํานวนมากมายมหาศาลจํานวน 8,841.105,380.26 บาท ที่ถูกประทุษร้ายออกไปนั้น ทําให้ความสามารถในการ ชําระหนี้ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค สูญหายไปจนหมดสิ้นจนทําให้เกิดการผิดนัด ชําระหนี้หุ้นกู้และเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งหมดในเวลาต่อมา

“หรือกล่าวสรุปอย่างง่าย ๆ ก็คือ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอ เรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค เจ๊ง เพราะถูกประทุษร้ายนําเงินจํานวน 8,841.105.380.26 บาท ออกไปนั่นเอง ซึ่งเงินอยู่ที่ใคร ผู้นั้นก็คือ ผู้ที่กระทําความผิด”นายวนรัตช์ระบุ

นายวนรัตช์ ระบุว่า ปัญหาที่ยังต้องการตอบ ก็คือ เงินจํานวน 8,841,105,380.26 บาท (เท่าที่พยานหลักฐานปรากฏในขณะนี้) ที่ถูก ประทุษร้ายด้วยการดึงเงินออกจากระบบเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่ม สตาร์คนั้น ผู้กระทําความผิดร่วมมือกับใคร และใช้วิธีการอย่างไร ที่ทําให้เงินจํานวนดังกล่าว สูญหายออกไปจากระบบเงิน หมุนเวียนของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค เพราะเงินจํานวนมากมายมหาศาลดังกล่าว ไม่ควรสูญหายออกไปจากระบบได้อย่างไร้ร่องรอย

นายวนรัตช์ ระบุว่า ตามข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ปรากฏในคําฟ้อง คดีหมายเลขดําที่ อ. 90/2567 นั้น นายศรัทธา กับพวก ได้กระทําการ ทุจริตด้วยการนําเงินออกไปจํานวน 491,172,250 บาท ครั้นพอถูกจับได้กลุ่มบุคคลที่กระทําการทุจริตก็แก้ตัวว่า การตกแต่งบัญชีด้วยการสร้างยอดขายปลอมและการหมุนวนเงินเพื่อนํามากลบยอดขายปลอมที่ใกล้จะถึงกําหนดชําระนั้น ไม่ได้ทําให้บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค ได้รับความเสียหาย

เพราะเงินที่ถูกหมุนไม่ได้สูญ หายไปไหนแต่เงินจะถูกนํากลับเข้ามาสู่บัญชีเงินฝากของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค ทั้ง ยังโยนความผิดมาให้ ข้าพเจ้า โดยอ้างว่าการตกแต่งบัญชีด้วยการสร้างยอดขายปลอมนั้น ทําเพื่อสร้างมูลค่าเทียมให้กับ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์คเพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกด้วย

แต่ในความจริงนั้น การที่ข้าพเจ้าจะได้กําไรหรือขาดทุนจากการขายหุ้นสามัญในลักษณะบิ๊กล็อต (“Big Lot”) ของ ข้าพเจ้าในตลาดหลักทรัพย์นั้น ไม่มีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องใด ๆ กับการพังพินาศของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอ เรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค เพราะเส้นทางของเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันแต่อย่างใด แต่การที่บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค เจ๊ง!!! นั้น มีสาเหตุมาจากการถูกประทุษร้ายนําเงินจํานวน 8,841,105,380.26 บาท ออกไปต่างหาก

 

คำให้การ “วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ” STARK ถูกประทุษร้าย จนพังพินาศ

 

"วนรัตช์"อ้างถูกหลอกให้ถือหุ้นใหญ่ STARK

การสร้างยอดขายปลอมทําให้ผลประกอบการของบริษัทดูเหมือนจะดี แต่ความจริงนั้นกลับเป็นโกหกหลอกลวง ข้าพเจ้าในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยทําให้ข้าพเจ้าคิดว่าหุ้นของบริษัทที่ถืออยู่กําลังเจริญเติบโตไปในทิศทางที่ดีนั้นมี มูลค่าสูง ควรค่าแก่การเก็บรักษาเอาไว้ แต่ความจริงแล้วภายในกลับกลวงได้มูลค่า

นายวนรัตช์ ระบุว่า ข้าพเจ้ามาคิดทบทวนได้ในภายหลังว่า ข้าพเจ้า โดนหลอกให้ถือหุ้นที่ไร้มูลค่าในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัทเพื่อสร้างภาพให้สถาบันการเงินปล่อย สินเชื่อแก่บริษัท โดยหลอกใช้ ข้าพเจ้า ให้เข้าค้ําประกันเงินกู้อีกชั้นหนึ่ง เพราะหากข้าพเจ้าไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว สถาบันการเงินก็คงจะไม่ปล่อยสินเชื่อแก่บริษัทเป็นแน่ เนื่องจากสถาบันการเงินมีความเชื่อถือในเครดิตและชื่อเสียงของข้าพเจ้า

ดังนั้นไม่เพียงแต่สถาบันการเงินที่ถูกหลอกแต่ ข้าพเจ้าเองในฐานะผู้ค้ําประกันก็ถูกหลอกไปด้วยเช่นกัน หาก ข้าพเจ้า รู้ว่านายชนินทร์ ฯ กับพวก มีการสร้างยอดขายปลอมทําให้ผลประกอบการของบริษัทดูดีแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขับไล่นายชนินทร์ ฯ กับพวกออกไปจากบริษัทอย่างแน่นอน

การสร้างยอดขายปลอมทําให้ผลประกอบการของบริษัทดูเหมือนจะดีเพื่อสร้างภาพให้เกิดมูลค่าเทียมขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะให้บริษัทสามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนรายใหม่ได้นั้น นอกจากจะทําให้ผู้ลงทุนรายใหม่ที่เข้าซื้อหุ้นกู้ได้รับ ความเสียหายแล้ว ยังทําให้ผู้ถือหุ้นรายเดิมรวมถึง ข้าพเจ้าในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้รับความเสียไปด้วยพร้อม ๆ กัน

ทั้งนี้เนื่องจากการระดมทุนจากผู้ลงทุนรายใหม่ด้วยการออกหุ้นกู้นั้น ผู้ถือหุ้นกู้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกันกับเจ้าหนี้ เงินกู้ ซึ่งรวมถึงสถาบันการเงินทั้งหลายและข้าพเจ้า ในฐานะเจ้าหนี้เงินกู้ที่ให้เงินกู้แก่บริษัทด้วย สภาพของเจ้าหนี้ทุกราย ไม่ว่าจะเป็นรายเก่าหรือรายใหม่ ก็ไม่ได้มีลักษณะใดที่ผิดแผกแตกต่างกัน เพราะโดนหลอกให้ได้รับความเสียหายด้วยกันทั้งหมด

การสร้างยอดขายปลอมทําให้ผลประกอบการของบริษัทดูเหมือนจะดี แต่กลับทําให้บริษัทต้องสูญเสียเงินออกไป เพราะต้องนําเงินในการจ่ายภาษี แทนที่บริษัทจะสามารถนําเงินนั้นไปลงทุนทําธุรกิจเพิ่มเติมต่อไป

 

คำให้การ “วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ” STARK ถูกประทุษร้าย จนพังพินาศ

 

สร้างยอดขายปลอมต้นเหตุ STRAK พังพินาศ

ประการสุดท้าย การสร้างยอดขายปลอมทําให้ผลประกอบการของบริษัทดูเหมือนจะดีอันเป็นการสร้างมูลค่าเทียม ให้กับบริษัทนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการทําลายบริษัทให้พังพินาศลงอย่างที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ทุกคนที่เกี่ยวข้องไม่ ว่าจะเป็นบริษัท คู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนเพิ่มทุน ผู้ถือหุ้นกู้ สถาบันการเงิน พนักงานและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องย่อม ได้รับความเสียหายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเกี่ยวพันที่มีอยู่กับบริษัท

แต่สําหรับข้าพเจ้าในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดและผู้ค้ำประกันเงินกู้จากสถาบันการเงินต้องกลายเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการสร้างยอดขายปลอม โดยนายชนินทร์ ฯ กับพวก ซึ่งเพียงแต่ภาระการค้ำประกันนั้นก็มีมูลค่าเป็นจํานวนกว่าหมื่นล้านบาทแล้ว ยังไม่รวมมูลค่า หุ้นที่ต้องสูญเสียไปทั้งหมด

อีกประการหนึ่ง การเล่นกลกับตัวเลขด้วยการปั่นยอดขายนั้นไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดการผิดนัดชําระหนี้ให้กับ กลุ่มผู้ถือหุ้นกู้และสถาบันการเงินทั้งหลาย แต่การทุจริตดึงเงินออกจากระบบเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอ เรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์คจํานวน 8,841,105,380.26 บาท ต่างหากที่ทําให้บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์คขาดสภาพคล่องจนถึงขนาดต้องผิดนัดชําระหนี้ และพบกับความวิบัติอยู่จนถึงทุกวันนี้

การเริ่มต้นปลอมยอดขายให้สูงขึ้นที่ นายชนินทร์ฯ และนายศรัทธาฯ กับพวกได้สร้างยอดขายปลอมขึ้น โดยยังไม่มี การชําระเงินอันเป็นการตกแต่งบัญชีลูกหนี้ค้างจ่ายนั้น เป็นการสร้างโอกาสในการทุจริตแสวงหาประโยชน์เข้าตนเอง โดยทําการดึงเงินออกจากระบบเงินหมุนเวียนของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และกลุ่มสตาร์ค เพราะการ สร้างยอดขายเทียมให้สูงขึ้น ย่อมมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับการสั่งซื้อวัตถุดิบประเภททองแดงและอลูมิเนียม การโยกย้าย วัตถุดิบไปผลิตที่ประเทศเวียดนาม การบริหารจัดการและการขายเศษซากวัตถุดิบที่สูญเสียจากการผลิต ตลอดจนสต๊อก สินค้าคงคลังที่ผลิตเสร็จแล้ว เพราะยอดตัวเลขทั้งหมดที่กล่าวมานั้นย่อมจะต้องเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

นอกจากนี้ การสร้างยอดขายปลอมขึ้นมานั้น ยังมีส่วนทําให้นายชนินทร์ฯ นายศรัทธาฯ กับพวก ซึ่งเป็นทีมงานที่ บริหารจัดการบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) บริษัท เฟลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จํากัด บริษัท ไทยเคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด ตลอดจนบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้รับคํายกย่องชื่นชม จากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้น คู่ค้า สถาบันการเงิน และบุคคลอื่น ในความสําเร็จจอมปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ลวงตา ทุก ๆ คนรวมถึงตัวข้าพเจ้า ด้วย

ข้าพเจ้า ขอยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงช่องทางและวิธีการในการทุจริตดึงเงินออกจากระบบเงินหมุนเวียน ดังนี้ จากรายงานตรวจสอบพิเศษ (Special Audit) ของสตาร์ค โดยผู้สอบบัญชี พี.ดับบลิว.ซี (สิ่งที่ส่งมาด้วย 3) ในหน้าที่ 28 ข้อ 3.2.2 และ 3.2.3 ซึ่งระบุว่า

“3.2.2 การซื้อวัตถุดิบจาก Marubeni Corporation (Marubeni) อ้างอิงใบแจ้งหนี้เลขที่ OMH00106-1 ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จํานวน 7,516,658 เหรียญสหรัฐ (อ้างอิงเอกสารบันทึกบัญชีเลขที่ 3120007490) PDITL มีรายการ ชําระเงินในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564 จากการตรวจสอบพบว่า PDITL โอนเงินค่าสินค้าผ่านทางธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (SCBT) บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 001-0-025646-5 ไปยังบัญชีเงินฝากธนาคารของนายศรัทธาคิดเป็นจํานวน 235,233,812.11 บาท ซึ่งรายการนี้เกี่ยวข้องกับรายการรับ-จ่ายเงินที่ตรวจพบ อ้างอิงข้อ 3.3.2.3

3.2.3 การซื้อวัตถุดิบจาก IXM อ้างอิงใบแจ้งหนี้เลขที่ CHCM10-61269 ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จํานวน 1,298,045.28 เหรียญสหรัฐ (อ้างอิงเอกสารบันทึกบัญชี 3120014130) PDITL มีรายการชําระเงินในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จากการตรวจพบว่า PDITL โอนเงินค่าสินค้าผ่านทางธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (SCBT) บัญชีกระแส รายวัน เลขที่ 001-0-025646-5 ไปยังบัญชีเงินฝากธนาคารของนายศรัทธาคิดเป็นจํานวน 43,679,223.67 บาท ซึ่ง รายการนี้เกี่ยวข้องกับรายการรับ-จ่ายที่ตรวจพบ อ้างอิงข้อ 3.3.2.3” ปรากฏตามรายงานตรวจสอบพิเศษ (Special Audit) ของสตาร์ค สิ่งที่ส่งมาด้วย 3

เฉพาะตัวอย่างสองรายการที่ถูกตรวจพบดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็เป็นเงินรวมกันเป็นเงินท่ากับ 278,913,035.78 บาท แล้ว ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงช่องทางอื่น ๆ ที่ทําให้นายชนินทร์ฯ นายศรัทธาฯ กับพวก สามารถดึงเงินหมุนเวียนออกไปจากระบบ ของสตาร์คและกลุ่มสตาร์คไปเป็นจํานวนสูงถึง 8,841,105,380.26 บาท

ข้าพเจ้าขอเรียนย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การสร้างยอดขายปลอมขึ้นเพื่อสร้างโอกาสในการทุจริตเพื่อดึงเงินจํานวนมากมาย มหาศาลออกไปนอกระบบดังกล่าวนั้น เป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้สตาร์คกับกลุ่มของสตาร์ค ผู้ถือหุ้น รวมถึงผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งรวมทั้งตัวข้าพเจ้าด้วย ได้รับความเสียหายอย่างยับเยินอยู่ทุกวันนี้

ด้าน นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ตัวแทนจาก “กลุ่มรวมพลังหุ้นกู้สตาร์ค” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนผู้เสียหายจากการถือหุ้นกู้อีกกลุ่มซึ่งมาร่วมฟังการพิจารณาคดีและอยู่ในเหตุการณ์ ได้เปิดเผยว่า ตนได้รับฟังข้อมูลเบื้องต้นและกำลังรอฟังข้อเสนอจากทางนายวนรัชต์ ว่าพร้อมจะแสดงความจริงใจช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างไร โดยกลุ่มตนพร้อมหาแนวทางทำให้เกิดความเป็นธรรมได้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องเสียเวลาฟ้องคดียาวนานซึ่งผู้เสียหายบางท่านอายุมากหรือเจ็บป่วยอาจรอนานไม่ไหว โดยผู้เสียหายสามารถเข้าร่วมกับกลุ่มตนได้ผ่านกลุ่มไลน์ 'รวมพลังสตาร์ค' @ThaiStark