บล.ทรีนีตี้ชูหุ้น4ธีมโอกาสโตฝ่าวิกฤตซ้อนวิกฤต แนะถือเงินสด20%

18 ส.ค. 2565 | 01:27 น.

ทรีนีตี้-TRINITYชูหุ้น4ธีม “เปิดเมือง-ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลด-ปันผลสูง-ดอกเบี้ยขาขึ้น”โอกาสโตฝ่ายวิกฤตซ้อนวิกฤต ชี้กลุ่มแบงก์รับอานิสงค์อุปสรรคส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายสู่เงินกู้มุ่งช่วยลูกหนี้คุมNPL Cliff

"ทรีนีตี้-TRINITY" แนะนำลงทุนช่วงที่เหลือปี2565 " ตลาดหุ้นไทย 25% ตลาดหุ้นเวียดนาม 10-15% ตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว 10% ตราสารหนี้โลก 25% ทองคำ 5% Weighting ในกลุ่มน้ำมัน - Commodity 5% และถือเงินสด 15-20%"

 

ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด(TRINITY) เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มเชิงบวก จากดัชนีที่ติดลบน้อยลง เห็นได้จากอัตรากำไรต่อหุ้น(EPS)ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มต่อเนื่อง หลังจากขยับมาอยู่ที่102บาทจากเดิมอยู่ที่ 90บาทและEPSมีแนวโน้มเพิ่มได้ได้

บล.ทรีนีตี้ชูหุ้น4ธีมโอกาสโตฝ่าวิกฤตซ้อนวิกฤต แนะถือเงินสด20%

บริษัทมองเป้าหมายของดัชนีอยู่ที่ 1,690 จุด หลังผ่านจุดต่ำสุด 1,500จุดมาแล้ว ขณะที่EPS มีโมเมนตัมเป็นบวกจากการปรับเพิ่มของกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ขณะที่  สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกให้ผลตอบแทนติดลบตั้งแต่ -1.8% ถึง -50% นับตั้งแต่ต้นปี2565จนถึงปัจจุบันแต่ตลาดหุ้นไทยยัง Outperform ตลาดหุ้นโลก

ขณะเดียวกันตลาดหุ้นทั่วโลกกำลังพัฒนาจากภาวะ“ความกลัวเงินเฟ้อ (Inflation Fear)” มาสู่ภาวะ “ความกลัวเศรษฐกิจถดถอย (Recession Fear)” จากการปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงของประเทศสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศยุโรป

 

นอกจากนี้ การที่ Fed เริ่มมีนโยบายลดความรุนแรงในการขึ้นดอกเบี้ย (Less Hawkish) นำไปสู่การทำกำไรของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และภายหลังจากการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.5-0.75% ในเดือนกันยายนนี้ อาจจะทำให้เกิดความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สำหรับแนวทางจัดสรรเงินลงทุนในสถานการณ์วิกฤตซ้อนวิกฤต (Asset Allocation) ช่วงที่เหลือของปี 2565 โดยสินทรัพย์ที่แนะนำลงทุน ได้แก่ ตลาดหุ้นไทย 25% ตลาดหุ้นเวียดนาม 10-15% ตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว 10% ตราสารหนี้โลก 25% ทองคำ 5% Weighting ในกลุ่มน้ำมัน และ Commodity 5% และถือเงินสด 15-20% เนื่องจากสินทรัพย์เสี่ยงยังไม่ได้สะท้อนถึงความเสี่ยงที่ยังไม่คาดการณ์

 

ทรีนีตี้ยังแนะนำให้ Overweight หรือให้น้ำหนักมากกว่าตลาด ในกลุ่มหุ้นที่เป็น “Thematic Play” ที่ได้สร้างแบบจำลองทาง Macro Economic 4 ธีมหลัก ได้แก่

ธีมที่ 1 : บริษัทที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง (reopening) และการท่องเที่ยวโดยประเมินประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางออกนอกประเทศได้ใน 3-12 เดือนข้างหน้าหรืออย่างช้าที่สุดไตรมาส2ปี2566                     

 

ธีมที่ 2 :  บริษัทที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า              

 

ธีมที่ 3 : หุ้นปันผลสูงเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (Inflation hedge )

 

ธีมที่ 4 : บริษัทได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ได้แก่ กลุ่มธนาคารยังเป็นหุ้นที่น่าสนใจ เพราะอุปสรรคของการชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ยแม้จะกระทบรายได้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM)แต่ธนาคารยังสามารถสร้างรายได้จากส่วนอื่นๆที่สำคัญการคุม  NPL Cliff ได้     

ทั้งนี้ การส่งผ่านการขึ้นดอกเบี้ยไปเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ในรอบเศรษฐกิจนี้จะมีประสิทธิภาพน้อยลง เนื่องมีอุปสรรคจากที่ธนาคารให้น้ำหนักการช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่งฟื้นตัวโดยพยายามควบคุมไม่ให้เกิดNPL Cliffและมู่งดูแลระบบเศรษฐกิจทำให้กลุ่มแบงก์

 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความกลัวเศรษฐกิจถดถอยยังมีเม็ดเงินของนักลงทุนต่างประเทศที่เข้าไทยในเดือนสิงหาคม ซึ่งถือเป็น Renewed ของฟันด์โฟลว์หรือฟันด์โฟลว์รอบใหม่ โดยตั้งแต่ต้นเดือนมีนักลงทุนต่างประเทศเริ่มกลับเป็นฝ่ายซื้อสุทธิในตลาดหุ้นกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท และตลาดพันธบัตรกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท

บล.ทรีนีตี้ชูหุ้น4ธีมโอกาสโตฝ่าวิกฤตซ้อนวิกฤต แนะถือเงินสด20%

นายวิศิฏฐ์สะท้อนมุมมองด้านเงินเฟ้อ  โดยระบุว่า  มองว่าเงินเฟ้อทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย อาจจะถึงจุดสูงสุดในไตรมาส 3 ปีนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ผ่านจุดสูงสุด (Peak) ไปแล้ว และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ประเมินเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะPeakในไตรมาส3หรือเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้จากนั้นจะทยอยปรับลด โดยส่วนตัวมองว่า ยังมีความเสี่ยงเรื่องเงินพื้นฐาน (Core Inflation) ที่ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3% ในเดือนกรกฎาคม 2565 และการที่ค่าแรงขั้นต่ำมีโอกาสปรับขึ้นได้ 5-8% ทำให้ Core Inflation มีโอกาสสูงกว่ากรอบของธปท.ที่ 1-3% โดยเฉพาะตัวเลขเงินฟ้อเดือนส.ค.ที่จะประกาศในช่วงต้นเดือนก.ย.นั้นมีโอกาสจะเห็น8-9%แต่อย่าตกใจตัวเลขดังกล่าว เพราะอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะทยอยปรับลดลงหลังจากนั้น

 

ส่วนมุมมองค่าเงินบาท มองว่านับตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่ามากที่สุดในสกุลเงินอาเซียน โดยแข็งค่าขึ้นกว่า 4% และคาดว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 34-35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงของเงินทุนไหลออกจากนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากการส่งออกเงินปันผลของนักลงทุนต่างประเทศช่วงเดือนกันยายน 2565 ประกอบกับ Fed อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกอย่างน้อย 0.5%

 

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยมองการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะติดลบสูงสุดในไตรมาส 3 ของปี 2565 และจะปรับขึ้นเป็นบวกระดับ 4% ของ GDP ในปี 2566 (เปรียบเทียบ+10% ของ GDP ในช่วงก่อน เกิด COVID) คาดว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 3% ของ GDP ในไตรมาส 3 และเป็น 5% ของ GDP ในไตรมาส 4 และอาจเพิ่มเป็น 7% ของ GDP ในไตรมาส 1 ปี 2566 ขณะที่การเติบโตของฐานเงินอย่างกว้างหรือ M2 เพิ่มขึ้น 6.20% ในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดที่เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี บ่งบอกถึงสภาพคล่องเริ่มดีขึ้น