พันธบัตรออมทรัพย์ "ออมไปด้วยกัน" เริ่มขาย 15 พ.ย. เงื่อนไขดอกเบี้ยน่าสนไหม

07 พ.ย. 2564 | 03:09 น.

พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น"ออมไปด้วยกัน" เริ่มจำหน่าย 15 พฤศจิกายนนี้ อายุ 5 ปี และ 10 ปี ลงทุนขั้นต่ำ 100 บาท / 1,000 บาท เช็กเงื่อนไขผลตอบแทนดอกเบี้ย จูงใจไหม

ในวันที่ 15 พ.ย.64 กระทรวงการคลังจะเริ่มเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รุ่น “ออมไปด้วยกัน” ในวงเงินรวม 80,000 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน สามารถเลือกออมได้ 2 รุ่นอายุ คือ 5 ปี และ 10 ปี และซื้อได้ทั้งในวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง และธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง 

 

สำหรับการจ่ายดอกเบี้ย พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น “ออมไปด้วยกัน” จะจ่ายแบบขั้นบันได้ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 2.10% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 3.00% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน 

 

พันธบัตรออมทรัพย์ \"ออมไปด้วยกัน\" เริ่มขาย 15 พ.ย. เงื่อนไขดอกเบี้ยน่าสนไหม

 

เทียบผลตอบแทนดอกเบี้ยฝาก

 

ทั้งนี้หากเทียบกับผลตอบแทนดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ฝากประจำ 12 เดือน ปัจจุบันต่ำสุดและสูงสุดอยู่ที่ 0.4000-1.3500% และเทียบเงินฝากปลอดภาษี ( Tax Free Account ) ในกรณี พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น "ออมไปด้วยกัน" อายุ 5 ปี หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยรับ ผลตอบแทนดอกเบี้ยสุทธิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.785% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยรับ ผลตอบแทนดอกเบี้ยรับสุทธิ เฉลี่ยอยู่ที่ 2.55% ต่อปี 

ขณะที่บัญชีเงินฝากปลอดภาษี 36 เดือน จะจ่ายดอกเบี้ยต่ำสุดและสูงสุดที่อัตรา 1.50 - 2.15% โดยธนาคารพาณิชย์ไทย 3 อันดับแรกที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากปลอดภาษีสูงสุดได้แก่

 

  • ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย จ่ายดอกเบี้ย 2.15% ต่อปี ฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท 
  • ธนาคารไอซีบีซี ไทย จ่ายดอกเบี้ย 1.90% ต่อปี ฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์  จ่ายดอกเบี้ย 1.70% ฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท

 

อย่างไรก็ดีการออม พันธบัตรออมทรัพย์ และเงินฝากปลอดภาษี ยังมีเงื่อนไขรายละเอียดแตกต่างกัน ผู้ออมต้องทำความเข้าใจก่อนซื้อหรือลงทุน   

 

เงื่อนไข พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น "ออมไปด้วยกัน" รายละเอียดมีดังนี้

พันธบัตรออมทรัพย์ \"ออมไปด้วยกัน\" เริ่มขาย 15 พ.ย. เงื่อนไขดอกเบี้ยน่าสนไหม

 

อายุพันธบัตร

 

  • รุ่นอายุ 5 และ รุ่นอายุ 10 ปี

 

อัตราดอกเบี้ย

 

รุ่นอายุ 5 ปี (SBST26NA)

  • อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

(เฉลี่ยร้อยละ 2.10 ต่อปี)

 

รุ่นอายุ 10 ปี (SBST31NA)

  • อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

(เฉลี่ยร้อยละ 3.00 ต่อปี)

บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

(ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อนการซื้อพันธบัตร ณ สาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  /

 

พันธบัตรออมทรัพย์ \"ออมไปด้วยกัน\" เริ่มขาย 15 พ.ย. เงื่อนไขดอกเบี้ยน่าสนไหม

 

รุ่นอายุ 5 ปี (SBST26NB)

(ประชาชนทั่วไปที่มีสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย)

  • อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

(เฉลี่ยร้อยละ 2.10 ต่อปี)

 

รุ่นอายุ 10 ปี (SBST31NB)

(ประชาชนทั่วไปที่มีสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย)

  • อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

(เฉลี่ยร้อยละ 3.00 ต่อปี) 

 

รุ่นอายุ 10 ปี (SB31NA)

(เฉพาะนิติบุคคลที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร)

  • อัตราดอกเบี้ยคงที่

ร้อยละ 2.20 ต่อปี

(อัตราดอกเบี้ยโปรดดูในรู้ก่อนซื้อหรือหนังสือชี้ชวน)

 

พันธบัตรออมทรัพย์ \"ออมไปด้วยกัน\" เริ่มขาย 15 พ.ย. เงื่อนไขดอกเบี้ยน่าสนไหม

 

วงเงินจำหน่ายรวม

 

10,000 ล้านบาท /

70,000 ล้านบาท

 

วันที่จำหน่ายทั่วไป

 

  • วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 - 3 ธันวาคม 2564

จำหน่ายผ่าน วอลเล็ตสะสมบอนด์มั่งคั่ง
(วอลเล็ต สบม.) ในแอปพลิเคชันเป๋าตัง  /

 

  • รุ่นอายุ 5 ปี (SBST26NB) /รุ่นอายุ 10 ปี (SBST31NB)

วันที่ 22 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2564 

ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ทุกสาขาของธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธ.กรุงเทพ , ธ.กรุงไทย , ธ.กสิกรไทย , ธ.ไทยพาณิชย์

 

  • รุ่นอายุ 10 ปี (SB31NA)

วันที่ 24 พฤศจิกายน -3 ธันวาคม 2564
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ทุกสาขาของธนาคารตัวแทนจำหน่าย  ได้แก่ ธ.กรุงเทพ , ธ.กรุงไทย , ธ.กสิกรไทย , ธ.ไทยพาณิชย์

 

ผู้มีสิทธิ์ซื้อในตลาดแรก

 

  • บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

(ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อนการซื้อพันธบัตร ณ สาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) /

  • บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทยมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

 

วงเงินซื้อ ข้ันต่ำ-ขั้นสูง
 

  • วงเงินซื้อขั้นต่ำ 100 บาท (100 หน่วย) และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ 100 บาท วงเงินซื้อขั้นสูงไม่เกิน 10,000,000 บาท (10,000,000 หน่วย) ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อต่อราย  
  • วงเงินซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อต่อราย

 

วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน

 

  • รุ่นอายุ 5 ปี (SBST26NA) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2569
  • รุ่นอายุ 10 ปี (SBST31NA) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2574  
  • รุ่นอายุ 5 ปี (SBST26NB) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2569
  • รุ่นอายุ 10 ปี (SBST31NB) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2574
  • รุ่นอายุ 10 ปี (SB31NA) วันที่ 24 พฤศจิกายน 2574


วันที่จ่ายดอกเบี้ย

 

  • รุ่นอายุ 5 ปี (SBST26NA) และรุ่นอายุ 10 ปี (SBST31NA) จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ในวันที่ 15 ของเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนดไถ่ถอน  
  • รุ่นอายุ 5 ปี (SBST26NB) และ รุ่นอายุ 10 ปี (SBST31NB) จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ในวันที่ 22 ของเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน ของทุกปี
  • รุ่นอายุ 10 ปี (SB31NA) จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ในวันที่ 24 พฤษภาคม และ 24 พฤศจิกายน ของทุกปี จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนดไถ่ถอน

 

วิธีจัดจำหน่าย
 

จำหน่ายผ่าน วอลเล็ตสะสมบอนด์มั่งคั่ง (วอลเล็ต สบม.) ในแอปพลิเคชันเป๋าตัง /

จำหน่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงเทพ , ธ.กรุงไทย , ธ.กสิกรไทย , ธ.ไทยพาณิชย์


การชำระเงิน

 

  • ชำระเงินผ่านวอลเล็ต สบม./
  • ชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เคาน์เตอร์ธนาคาร

 

การเสียภาษี
 

ธนาคารแห่งประเทศไทยจะหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร (บุคคลธรรมดาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ) ผู้ซื้อจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางไปรษณีย์ หรือทางอินเทอร์เน็ต กรณีที่สมัครใช้บริการข้อมูลพันธบัตรทางอินเทอร์เน็ตแล้ว (www.bot.or.th หัวข้อพันธบัตรและตราสารหนี้)ิ

 

การจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน
 

ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ในวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน กรณีเปลี่ยนเป็นพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนเงินต้นเข้าบัญชี เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคืนใบพันธบัตร