กลุ่ม CK มั่งคั่งยกแผง ‘ไซยะบุรี’ เริ่มขายไฟปลายปีนี้ สถาบันไทยทยอยเก็บหุ้น CKP

19 ม.ค. 2561 | 07:55 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

โรงไฟฟ้าพลังนํ้าไซยะบุรีลงทุนมา 10 ปี ใกล้ผลิดอกออกผล เพิ่มมูลค่ากลุ่ม ช.การช่าง GPSC และ EGCO โตด้วย เดินหน้าโครงการใหญ่ในสปป.ลาวต่อ สถาบันไทยดอดเข้าเก็บหุ้น CKP

นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP และบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ฯ พาผู้สื่อข่าวไปเยี่ยมชมโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าไซยะบุรีในสปป.ลาว และเปิดเผยว่าขณะนี้การพัฒนาโครงการมีความคืบหน้าเกือบ 90% คาดว่าจะเริ่มทดลองเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าและขายไฟให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ในปลายปีนี้ และจะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในเดือนตุลาคม 2562 มีกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ โดย CKP ถือหุ้น 30% กำไรจะเติบโตชัดเจนในปี 2563 จากกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 2,160 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 875 เมกะวัตต์ ทำให้สถาบันในประเทศเริ่มเข้ามาลงทุนในหุ้น CKP

นอกจากนั้น บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าบริเวณลุ่มนํ้าโขงในเขต สปป.ลาว ที่มีขนาดกำลังการผลิตและเงินลงทุนใกล้เคียงโครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าไซยะบุรี คาดว่าโครงการใหม่จะมีความชัดเจนในกลางปี 2561 และยังสนใจลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าในเมียนมา แต่อาจจะต้องรอ 5-10 ปี เพื่อดูความชัดเจนของนโยบายและกฎหมายการลงทุนในเมียนมาก่อน

MP17-3332-A สำหรับโรงไฟฟ้าพลังนํ้าไซยะบุรี เริ่มพัฒนาโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 แต่ลงมือก่อสร้างได้ในปี 2555 เพราะใช้เวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและการจัดหาแหล่งเงินทุนหลายปี หลังผ่านประสบการณ์ต่างๆ มาแล้ว เชื่อว่าโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในสปป.ลาว น่าจะเริ่มก่อสร้างได้เร็วกว่านั้น ส่วนอายุสัมปทานขึ้นอยู่กับการเจรจา

อย่างไรก็ตาม การทำงานที่ผ่านมา มีการลงทุนเพิ่มเติมจากงบประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จาก 1.1 แสนล้านบาทเป็น 1.3 แสนล้านบาท เพื่อเลือกเทคโนโลยีและระบบที่ดีที่สุดในโลก ทางรัฐบาลลาวได้ชดเชยให้บริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ฯ เช่น ยืดอายุสัมปทานให้อีก 2 ปี เพิ่มเป็น 31 ปี และลดภาษีให้ส่วนหนึ่ง”นายธนวัฒน์ กล่าว

ส่วนแนวโน้มการลงทุนในปีนี้ นายธนวัฒน์ กล่าวว่า ตั้งงบลงทุนไว้ประมาณ 1,600-1,700 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนเพิ่มเติมในโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าไซยะบุรี จำนวน 1,000 ล้านบาท โรงไฟฟ้าโซลาร์ รูฟท็อป ขนาด 10-20 เมกะวัตต์ มูลค่า 300-400 ล้านบาท เพื่อขายไฟในกลุ่มช.การช่างและผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม คาดรับรู้รายได้ในปีหน้า และงบศึกษาโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในลาว 100-200 ล้านบาท

728x90-03-3-503x62 (1) ทางด้านผลการดำเนินงานในปี 2563 คาดว่ากำไรจะเติบโตมาก ส่วนรายได้ในปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท บริษัทรับรู้รายได้โครงการไฟฟ้าระบบความร้อนร่วมบางปะอิน (โคเจเนอเรชัน) แห่งที่ 2 (BIC2) ที่มีกำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ รับรู้รายได้ 2,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเริ่ม COD เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ส่วนรายได้ในปีที่ผ่านมาเติบโต 10% จากปี 2559 มีรายได้รวม 6,400 ล้านบาท

“เรายังคงมุ่งหน้าลงทุนโรงไฟฟ้าพลังนํ้า เพราะถูกที่สุด เวลาผลิตกระแสไฟฟ้าไม่มีเรื่องเชื้อเพลิง มีเพียงค่าใช้จ่ายเรื่องคน โรงไฟฟ้าไซยะบุรี เราขายไฟให้กฟผ. 95% ในราคา 2 บาทเศษ สร้างกำไรในระยะยาวมีกระแสเงินสดสำหรับการลงทุนในโครงการต่อไป และบริษัทยังมีความสามารถในการกู้เงิน โดยปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net D/E) อยู่ที่ 0.7-0.8 เท่า

สำหรับโรงไฟฟ้า ไซยะบุรี มีทุนจดทะเบียน 790 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย CKP ถือหุ้นอยู่ 30%, บริษัท นที ซินเนอร์ยี่ฯ(NSC) ถือหุ้นอยู่ 25% ทั้งนี้บริษัทนทีฯ มีบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)หรือ GPSCเป็นผู้ถือหุ้น 100% บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ (BEM) ถือหุ้นอยู่ 7.5% ขณะที่ CKP มีบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) (CK) ถือหุ้นใหญ่ที่สุดตามด้วย บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน)หรือ TTW และ BEM ซึ่งได้รับประโยชน์โดยตรงจากความสำเร็จของโรงไฟฟ้าไซยะบุรี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,332 วันที่ 18 - 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9