ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน และกำลังเผชิญหน้ากับการขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ สร้างแรงสั่นสะเทือนอีกครั้งต่อห่วงโซ่การค้าทั่วโลก ที่อาจกลับมาอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ซึ่งบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งออกเชิงรุก สร้างความได้เปรียบให้ผู้ประกอบการไทย
นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวนโยบายล่าสุดและมาตรการรับมือเชิงรุก ว่า มาตรการแรกที่ทำทันที คือ การเร่งชิงพื้นที่ตลาดสหรัฐฯ จากสินค้าจีน ไทยมีสินค้า 8 กลุ่มที่มีศักยภาพสูงในการเข้ามาแทนที่สินค้าจีนที่ถูกตั้งกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ ได้แก่ ยางล้อ ถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ข้าว ผลไม้แปรรูป อาหารกระป๋อง และเฟอร์นิเจอร์
ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านการค้า ลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ โดยส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขยายตลาดทดแทน โดยเฉพาะตลาดที่มี FTA กับไทย โดยปัจจุบันไทยมี FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้ว 14 ฉบับ และ FTA ที่ลงนามแล้วและอยู่ระหว่างการ ดำเนินการให้มีผลบังคับใช้ 3 ฉบับ นอกจากนี้ต้องเร่งหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
นอกจากนี้ กรมฯ ยังสั่งการทูตพาณิชย์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและจากสำนักงานฯ ทั่วโลก เร่งผลักดันและขยายตลาดสินค้าศักยภาพไทย รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานด้านการค้าและ ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้ารายใหม่ที่สำคัญ ในพื้นที่เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าใหม่ให้กับผู้ประกอบการไทย
อย่างไรก็ดีภาคเอกชนถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งออก ทั้งในสถานการณ์การค้าปกติและฉุกเฉิน ภาครัฐจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึก ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนรับทราบปัญหาและอุปสรรค เพื่อนำมาใช้ประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการรองรับต่างๆ ที่ตอบโจทย์สถานการณ์ฯ
สำหรับสินค้าไทยประเภทที่เสี่ยงจะถูกตั้งกำแพงภาษีเพิ่มเติมในอนาคตนั้น จะเป็นกลุ่มสินค้าที่มักถูกสวมสิทธิ์และถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่านในการเลี่ยง ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มสินค้าได้ดังนี้
นอกจากยังมีสินค้าส่งออกที่มีการใช้วัตถุดิบนำเข้าจากจีนในสัดส่วนที่สูง อาทิ
จากที่กล่าวข้างต้น อาจจะส่งผลกระทบเรื่องของขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยจะลดลง เนื่องจากราคาสินค้าจะสูงขึ้น และอาจเกิดการย้ายฐานการผลิตของบริษัทผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศอื่นที่มีข้อได้เปรียบด้านภาษีเนื่องจากต้นทุนการผลิตในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น
ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของไทยจะลดลงอย่างมาก เนื่องจากสินค้าข้างต้นเป็นสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงของมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ อาทิ
เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และการหาตลาดใหม่มาทดแทน ทางกรมฯโดยจะมีการจัดกิจกรรม US–Thailand Online Business Matching วันที่ 19 มิ.ย. 2568 โดยเชิญผู้นำเข้าสำคัญจากสหรัฐฯ มาพบปะเจรจาออนไลน์กับผู้ประกอบการไทยในสินค้าเหล่านี้โดยตรง เพื่อให้เข้าถึงตลาดได้เร็วที่สุด และแม่นยำที่สุด
ขณะเดียวกันจะมีการกิจกรรม “จับคู่ธุรกิจเชื่อมไทยสู่โลก รับมือความท้าทายการค้าโลก”(Thailand - Global Connect : Seeking New Opportunities amidst Global Trade Challenges)
โดยให้ สคต. ทั้งหมด 58 แห่งทั่วโลกเชิญผู้นำเข้าจากทั่วโลกเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ทั้งออฟไลน์ในประเทศไทย และออนไลน์ (จากยุโรป สหรัฐฯ และ ลาตินอเมริกา) เพื่อสร้างเครือข่ายการค้าให้แก่ผู้ประกอบการทุกคลัสเตอร์สินค้าและบริการ ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2568
นอกจากนี้จะมีโครงการ SMEs Pro-active DITP X EXIM Empower Financing
โดยDITP ผนึกกำลังกับ EXIM Bank ออกแพคเกจสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ส่งออก เพื่อลดผลกระทบทางการค้าและเร่งส่งออกไปต่างประเทศรวมถึงขยายตลาดใหม่ ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active
โดยผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท มีสิทธิ์ขอรับสินเชื่อธนาคารเป็นเงินทุนหมุนเวียนอนุมัติสูงสุด 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 6.25% ต่อปี ผ่อนชำระนานสูงสุด 12 เดือน กรณีวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักประกัน
นางสาวสุนันทา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับตลาดใหม่ที่มีความน่าสนใจ คือ ตลาดไนจีเรีย เคนยา และซาอุดิอาระเบีย โดยสินค้าที่มีโอกาสส่งออก ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรกลการเกษตร อาหารกระป๋อง ข้าว อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม ผลไม้แปรรูป กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์และเครื่องประดับ เป็นต้น
ทั้งนี้ จะมีการจัดคณะผู้แทนการค้าสินค้าและบริการศักยภาพของไทย เดินทางไปเจรจา
นัดหมายนักธุรกิจ ผู้ซื้อผู้นำเข้า ใน 3 ตลาดศักยภาพของตะวันออกกลางและแอฟริกา พร้อมสำรวจตลาด ในวันที่ 14 - 24 กรกฎาคม 2568
ขณะที่ด้านตลาดละตินอเมริกา อาทิ บราซิล ชิลี ทางกรมจะการจัดคณะผู้แทนการค้าสินค้าอุตสาหกรรมและอาหารของไทย เดินทางไปเจรจานัดหมายนักธุรกิจ/ผู้ซื้อผู้นำเข้า ณ นครเซาเปาโล และกรุงซันติอาโก พร้อมสำรวจตลาด ในข่วงระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2568