ล้นตลาด “ไข่ไก่ –ไข่เป็ด” แจ้งปรับราคาลง 20 สตางค์ มีผลแล้ว

25 ก.พ. 2568 | 01:07 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ก.พ. 2568 | 01:18 น.

ล้นตลาด “ไข่ไก่-ไข่เป็ด” หน้าฟาร์ม แจ้งปรับราคาลง 20 สตางค์ มีผลแล้ว อานิสงส์สภาพอากาศที่หนาวเย็น ส่งผลดีต่อเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น สวนทางกับต้นทุนอาหารสัตว์พุ่ง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์  2568  เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ 4 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด ได้ออกประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร อยู่ที่ฟองละ 3.20 บาท (น้ำหนัก 20.5 กก.ขึ้นไป) จากราคา 3.40 บาท/ฟอง มีผลวันนี้ทันที  จากการปรับราคาในครั้งนี้จะทำให้ราคาไข่ไก่ปรับลงแผงละ 6 บาท รวมทั้งราคาขายส่งและขายปลีกก็ปรับลดลง

ล้นตลาด “ไข่ไก่ –ไข่เป็ด” แจ้งปรับราคาลง 20 สตางค์ มีผลแล้ว

เช่นเดียวกับ สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดไข่  ได้แจ้งปรับราคาไข่เป็ดคละหน้าฟาร์ม ลง 20 สตางค์ เป็นราคา 4.40 บาทต่อฟอง จากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ส่งผลดีต่อเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และบวกกับเกษตรกรจะต้องเร่งระบายไข่ไก่ออกมาจำหน่ายเกรงว่าราคาจะต่ำลงอาจส่งผลให้ไข่ไก่ล้นตลาด 

ล้นตลาด “ไข่ไก่ –ไข่เป็ด” แจ้งปรับราคาลง 20 สตางค์ มีผลแล้ว

อย่างไรก็ดีทางกรมปศุสัตว์ยังขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ใช่ทุกราย เร่งปลดไกไข่ยืนกรงที่อายุเกิน 80 สัปดาห์ ยกเว้นรายย่อย ที่เลี้ยงต่ำกว่า 30,000 ตัว ที่ไม่ใช่ฟาร์มในระบบเกษตรพันธสัญญาของผู้ประกอบการรายใหญ่ และ ขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไกไข่รายใหญ่ ขนาดการเลี้ยง 100,000 ตัวขึ้นไป ปลดไก่ใช่ยืนกรงไม่ให้อายุเกิน 78 สัปดาห์ จนถึงเดือนเมษายน 2568

 

 

ขณะที่แหล่งข่าวเกษตรกรผู้เลี้ยงไข่เป็ด-ไข่ไก่  กล่าวว่า วงการไข่ไก่มีห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง  เริ่มตั้งแต่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ผู้รวบรวมไข่ (ล้งไข่) ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ผู้ค้าปลีก จนถึงร้านขายของชำและตลาดสดในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละขั้นมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่ทั้งหมดนี้ประโยชน์ไม่ได้ตกที่เกษตรกรผู้เลี้ยง เพราะเกษตรกรขายไข่หน้าฟาร์มแบบขายขาด ส่วนต่างราคาหลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับค่าดำเนินการในแต่ละขั้นตอน และที่สำคัญจากสถานการณ์ดังกล่าวผู้เลี้ยงขาดทุนหนัก จากอาหารสัตว์ก็ไม่ได้ปรับลดลงเลย มีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นก็อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาดูผู้เลี้ยงด้วย ไม่ใช่ห่วงแต่ผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย