#ล้างหนี้กยศ พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ ล่า 1 หมื่นชื่อ ยื่นแก้ไขกฎหมาย

18 ส.ค. 2565 | 02:00 น.

#ล้างหนี้กยศ พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ ยื่นแก้ไขกฎหมายกองทุน กยศ. จนเกิดกระแสดราม่า ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ด้านกยศ.ขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ถึงปี 65

วันที่ 17 ส.ค. 65  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า #ล้างหนี้กยศ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังมีการประกาศล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นแก้ไขกฎหมายกองทุน กยศ. ต่อรัฐสภาให้รัฐบาลมีกลไกเข้ามาเป็นลูกหนี้แทนผู้กู้หลังสำเร็จการศึกษา 2 ปี จนกลายเป็นกระแสดราม่า โดยความเห็นในทวิตเตอร์ มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย โดยมองว่า หนี้กยศ.เป็นหนี้ที่ตัดสินใจกู้ยืมมาเอง ดังนั้นเมื่อจบการศึกษาก็ควรที่จะเป็นผู้ใช้คืนทั้งหมด , ไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ยืมและจ่ายหนี้

 

#ล้างหนี้กยศ พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์  ล่า 1 หมื่นชื่อ ยื่นแก้ไขกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวตรวจสอบจากเว็บไซต์กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และเพจกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ไม่มีการกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว แต่มีเรื่องการขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้จากเดิม 30 มิถุนายน 2565 เป็นสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565

 

#ล้างหนี้กยศ พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์  ล่า 1 หมื่นชื่อ ยื่นแก้ไขกฎหมาย

  • ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี

 

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้

 

  • ลดเงินต้น 5%

 

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และต้องการปิดบัญชีในคราวเดียว

 

  • ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ดังนี้

 

ผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี สามารถชำระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา

 

ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีแล้ว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ www.studentloan.or.th โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี

 

  • ลดเบี้ยปรับ 80%

 

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)

 

  • ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี

 

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม(คลิกที่นี่)

 

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา

 

ปัจจุบัน พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศสมควรบูรณาการการบริหารจัดการและการดำเนินการของกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ. ให้เป็นเอกภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และเพิ่มมาตรการในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น