รฟท.เร่งปิดกล่องส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดซีพี แก้ปมบึงเสือดำที่ดินมักกะสัน

20 เม.ย. 2565 | 23:40 น.

  รฟท.เร่งปิดกล่องเจรจาแก้สัญญาสัมปทานไฮสปีด 3 สนามบิน กับเอเชีย เอรา วัน หลังที่ดินมักกะสัน ติดหล่มบึงเสือดำ ลำรางสาธารณะรอ กทม. -มหาดไทยปลดล็อค

 

การเจรจาแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพี คู่สัญญา จะต้องจบลงและเริ่มเดินหน้าโครงการ

 

โดยรฟท.เตรียมออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed)  ในเดือน พฤษภาคม 2565 ให้กับเอกชน เพราะหากปล่อยให้การเจรจายืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบในวงกว้างตามมา

              

 

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 คณะกรรมการ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย รฟท. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) และบริษัท เอเชียเอราวันฯ 

 

 

ประชุมร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติ โดยเฉพาะประเด็นการส่งมอบพื้นที่บริเวณโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์มักกะสัน150 ไร่ ที่ยังติดปัญหาบึงเสือดำและลำรางสาธารณะ ซึ่งต้องรอกรุงเทพมหานคร(กทม.) และกระทรวงมหาดไทยปลดล็อก พื้นที่สาธารณะให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 

               รฟท.เร่งปิดกล่องส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดซีพี แก้ปมบึงเสือดำที่ดินมักกะสัน

 

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จึงเป็นที่มาของเอกชนไม่รับมอบพื้นที่ เพราะเกรงจะกระทบต่อการพัฒนาโดยต้องการรอให้มีการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อน ในขณะฝั่งรฟท.มองว่าหากต้องรอให้ถึงวันนั้น

 

อาจทำให้โครงการเสียหาย กระทบความเชื่อมั่น นักลงทุนในพื้นที่เขตอีอีซี ประชาชนเสียโอกาสจากการใช้บริการไฮสปีด3 สนามบินและรถไฟไทย-จีน เพราะอาจทำให้ล่าช้าทั้งสองโครงการ

อย่างไรก็ตามหากผลการประชุมได้ข้อยุติรฟท.จะเสนอ คณะกรรมการบริหารพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) บอร์ดอีอีซี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึงเสนออัยการสูงสุด ตรวจร่างสัญญาเพื่อแก้ไขสัญญาตามขั้นตอนต่อไป

              

 

รายงานข่าวผลการประชุม คณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย ฯ ประเมินว่าการเจรจายังไม่น่าจะได้ข้อยุติ  ทั้งมุมมองของฝั่งเอกชนและรฟท.ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในหลายประเด็น

 

 

โดยเฉพาะเรื่องการเงิน ภาระดอกเบี้ย ต่อการดำเนินโครงการร่วมลงทุนและบริเวณพื้นที่ทับซ้อน ระหว่างรถไฟไทย-จีน กับไฮสปีดอีอีซีเนื่องจากเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้น  ซึ่งเอกชนขอนำเรื่องนี้ไปหารือฝ่ายการเงินหรือ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกครั้งก่อนกลับมาประชุมร่วมกับรฟท.ใหม่อีกครั้ง               

 

 

 นอกจากนี้ประเด็นแอร์พอร์ตลิงก์ ที่เอกชนมองว่าเงินมัดจำ 10% หรือ 1,067 ล้านบาท ของวงเงิน ที่ต้องรับโอนสิทธิ์บริหาร 10,671 ล้านบาท ควรกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ ว่า

 

 

สามารถนำกลับมาเป็นเงินค่างวดได้ ขณะเดียวกันมติครม.ในครั้งนั้นได้เปิดช่อง ให้รฟท.ช่วยเหลือเอกชนจากแอพอร์ตลิงก์ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ว่าสามารถแบ่งชำระรายงวดได้

              

 

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า  ส่วนการเจรจาร่วมกับเอกชนในกรณีที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินทับซ้อนพื้นที่โครงการรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ได้ข้อสรุปแล้ว เบื้องต้นทางรฟท.

 

มีแนวทางให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างช่วงดังกล่าว โดยรฟท.จะร่วมใช้แนวเส้นทางการก่อสร้างบริเวณพื้นที่นี้ด้วย  จากแผนเดิมทางรฟท.เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและให้เอกชนเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นผู้พิจารณาการชำระค่างานก่อสร้างว่าเป็นอย่างไร

              

 

ส่วนกรณีที่เอกชนไม่ยอมรับแผนการส่งมอบพื้นที่ของรฟท.ที่ติดปัญหาบึงเสือดำ ที่ดินมักกะสัน ซึ่งให้เหตุผลว่า พื้นที่นั้นเป็นอุปสรรคต่อแผนลงทุนทั้งหมด และจะไม่ยอมก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจนกว่าจะเพิกถอนลำรางสาธารณะเรียบร้อยนั้น

 

 

เบื้องต้นรฟท.จะดำเนินการเพิกถอนลำรางสาธารณะตามกฎหมายได้ต่อเมื่อทางเอกชนต้องดำเนินการออกแบบรายละเอียดบริเวณพื้นที่ลํารางสาธารณะ มีผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอย่างไร

              

 

“การเพิกถอนลำรางสาธารณะจะกระทบต่อการขยายบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่าง รฟท.กับบริษัท เอเชีย เอราวันฯ จากที่จะสิ้นสุดวันที่ 24 เมษายน 2565 หรือไม่นั้น เรายังตอบไม่ได้ เนื่องจากรายละเอียดพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งต้องรอการออกแบบจากเอกชนก่อน”