ศธ.ผุด "คนละเครื่อง" อุดช่องโหว่ "เรียนออนไลน์" นร. 1.4 ล้านคน ไร้อุปกรณ์

26 ก.ย. 2565 | 09:40 น.

"ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ" แถลงเปิดโครงการ  “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้...น้องได้เรียน” เปิดรับบริจาค-สนับสนุน อุดช่องโหว่ "เรียนออนไลน์" หลังพบนักเรียนกว่า 1.4ล้านคน ไม่มีอุปกรณ์

วันที่ 26 ก.ย. 65 กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) แถลงเปิดตัวโครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้...น้องได้เรียน” แบ่งปัน Smart Device อุปกรณ์แพลตฟอร์มสำหรับการเรียนบนโลกออนไลน์ ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ ฯ ด้วยการบริจาค หรือ สนับสนุน เพื่อแก้ปัญหานักเรียนกว่า 1.4 ล้านคนไม่มีอุปกรณ์ 

 

ซึ่งโครงการดังกล่าว คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายส่งเสริมภาษาคอมพิวเตอร์ (CODING) แห่งชาติ แถลงข่าว โครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้...น้องได้เรียน” นำโดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ CODING แห่งชาติ ณ พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

ศธ.ผุด "คนละเครื่อง" อุดช่องโหว่ "เรียนออนไลน์" นร. 1.4 ล้านคน ไร้อุปกรณ์

ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า โครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้...น้องได้เรียน” ได้เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้อุปกรณ์แพลตฟอร์มสำหรับการเรียนบนโลกออนไลน์ ในการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลให้กับเด็กไทย 

 

กระทรวงศึกษาธิการจึงเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการรับบริจาคเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนของนักเรียน โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานใน ปีงบประมาณ 2566-2570

 

ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยให้สถานศึกษามีอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ และสามารถจัดสรรให้แก่นักเรียน นักศึกษาที่มีฐานะยากจนและขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนได้อย่างทั่วถึง 

ศธ.ผุด "คนละเครื่อง" อุดช่องโหว่ "เรียนออนไลน์" นร. 1.4 ล้านคน ไร้อุปกรณ์

ไปจนถึงได้พัฒนาศักยภาพจนสามารถ Re Skill-Up Skill และสร้าง New Skill ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันมียอดสนับสนุนเป็นจำนวนเงินแล้วกว่า 6,000,000 บาท หรือกว่า 7,000 เครื่อง และคาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะมียอดสนับสนุน Smart Device  ไม่น้อยกว่า 10,000  เครื่อง ตั้งเป้าปีหน้าเด็กทุกคนต้องได้เรียนอย่างทั่วถึง

 

“การศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนจากแบบเดิม ซึ่งได้ปรับมาใช้ในรูแบบออนไลน์  จึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเทคโนโลยี นั่นคือ อุปกรณ์เทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หรือมือถือ ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้ออนไลน์ได้อย่างทั่วถึง และที่สำคัญเทคโนโลยีนำพาโอกาสที่เท่าเทียมเพื่อให้ผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม”ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าว 

ศธ.ผุด "คนละเครื่อง" อุดช่องโหว่ "เรียนออนไลน์" นร. 1.4 ล้านคน ไร้อุปกรณ์

นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้คำนึงถึงการเตรียมคนไทยในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 

 

ต้องขอขอบคุณคุณหญิงกัลยาที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้...น้องได้เรียน” จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับเด็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนในเรียนของรัฐที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์ Smart Device ประมาณ 1,400,000 คน และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงองค์กรต่างๆ พร้อมให้การสนับสนุนช่วยกันแบ่งปัน Smart Device ให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

รองศาสตราจารย์ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อการศึกษาในยุคปัจจุบัน ซึ่งคุณหญิงกัลยาเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและพร้อมสนับสนุนในการจัดหาอุปกรณ์ในการเรียน เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันและอนาคต

ศธ.ผุด "คนละเครื่อง" อุดช่องโหว่ "เรียนออนไลน์" นร. 1.4 ล้านคน ไร้อุปกรณ์

ซึ่งการมีอุปกรณ์หรือ Smart Device ให้แก่นักเรียนได้ใช้งานถือเป็นการมอบโอกาสในการเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ เป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้แก่ผู้เรียนในอนาคตได้เป็นอย่างมาก

ศธ.ผุด "คนละเครื่อง" อุดช่องโหว่ "เรียนออนไลน์" นร. 1.4 ล้านคน ไร้อุปกรณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับวิธีการขอรับการสนับสนุน โครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้...น้องได้เรียน” สามารถแสกนคิวอาร์โค้ด ได้ตามช่องทางดังนี้