ขอขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่ กิโลเมตรแรก 45บาท

03 ก.ย. 2565 | 04:03 น.

สมาคมแท็กซี่ขอปรัยราคาค่าโดยสารแท็กซี่ กิโลเมตรแรก 45บาท แท็กซี่สนามบิน เก็บค่าจ้างเพิ่ม (เซอร์วิสชาร์จ) 50 บาท เพิ่มเป็น 75 บาท รถแท็กซี่ขนาดใหญ่ จาก 50 บาท เป็น 95 บาท กระทรวงคมนาคมไฟเขียวปรับแน่แต่ขอพิจารณาให้รอบครอบไม่เป็นภาระผู้โดยสาร ดีเดย์ธันวาคมนี้

 

กรณีสมาคมแท็กซี่สาธารณะไทย เครือข่าย 4 สมาคมแท็กซี่ เสนอให้มีการปรับอัตราค่าโดยสารรถเล็กเครื่องยนต์ 1600-1800 ซีซี เริ่มต้นในกิโลเมตรแรกเพิ่มเป็น 45 บาท จากปัจจุบัน 35 บาท จากนั้นกิโลเมตรที่ 2-10 เพิ่มเป็น 10 บาท

 

ปัจจุบันกิโลเมตรละ 5.5 บาท กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ต่ำกว่า 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คิด 5 บาทต่อนาที จากปัจุจบัน 1.50 บาทต่อนาที ซึ่งเป็นเกณฑ์ค่าโดยสารที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2557

 

กรณีการจ้างผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง หรือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บวกเพิ่มจากค่าโดยสารอีก 35 บาท แท็กซี่สนามบิน เก็บค่าจ้างเพิ่ม (เซอร์วิสชาร์จ) จาก 50 บาท เพิ่มเป็น 75 บาท และรถแท็กซี่ขนาดใหญ่ จากเดิม 50 บาท เพิ่มเป็น 95 บาท
 

 

 

 

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างรถแท็กซี่ เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2565ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาปรับค่าโดยสารรถแท็กซี่จริง แต่ยืนยันว่าจะเป็นการปรับขึ้นราคาที่จะไม่เป็นการโยนภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน

 

 

อย่างไรก็ตามจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบของทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งทางฝั่งคนขับรถแท็กซี่ เจ้าของกิจการอู่รถแท็กซี่ และผู้ใช้บริการ ที่จะพิจารณาขึ้นค่าแท็กซี่ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ และจะคุมเข้มกับปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสารให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการบริการ ที่ผู้โดยสารจะได้รับกับราคาค่าโดยสารที่ปรับสูงนี้

อยู่หว่างการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม ซึ่งยังไม่มีรายละเอียด และการประกาศผลบังคับใช้ แต่คาดว่าจะมีรายละเอียดความคืบหน้าในช่วงเดือนตุลาคม 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เนื่องจากหลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป จะมีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 5-8% ทั่วประเทศ

 

 

อย่างไรก็ตาม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดนี้ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางบก, TDRI, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฯลฯ เพื่อพิจารณาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม และศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน