เปิดความจริง “ปลาทูหาย” ใครเป็นคนทำกันแน่!

06 ก.ค. 2565 | 14:48 น.

“มงคล” เปิดสถิติ ผลการจับปลาทู “ประมงพาณิชย์-ประมงพื้นบ้าน” ยันหลักฐาน “กรมประมง” พิสูจน์โลก ใครกันแน่ เป็นคนทำ “ปลาทูหาย" สังคมควรจะ “ทวงคืนน้ำพริกปลาทู” จากใครกัน

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ผลการจับปลาทูที่ชาวประมงพาณิชย์สงสัยมานานว่า “ปลาทูหายไปไหน” วันนี้ได้พบคำตอบแล้วว่า “ปริมาณปลาทูที่ชาวประมงพาณิชย์จับได้ลดลงนั้น เกิดจากชาวประมงพื้นบ้านได้รับสิทธิให้เข้าไปจับปลาทูในฤดูวางไข่ในพื้นที่หวงห้าม อนุรักษ์ต่างๆ อันเป็นเหตุให้ปลาทูลดลงนั่นเอง”

 

โดยเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ ที่ถูกจับก่อนวางไข่ โดยมีข้อยืนยันจากสถิติของกรมประมงระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เรือประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาทูได้เพิ่มขึ้นจากปีละ 1,000 ตันเศษ เป็นปีละ 8,000 ตันเศษ จนปีล่าสุด (2564) จับได้ถึง 12,594 ตัน ซึ่งสูงกว่าที่เรือประมงพาณิชย์จับได้เพียง 12,272 ตัน เท่านั้น

 

ผลการจับปลาทู

 

เนื่องจากตามกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้เรือประมงพื้นบ้าน สามารถ

 

1.ขยายขนาดเรือจาก 5 ตันกรอสเป็นไม่เกิน 10 ตันกรอส

 

2. เพิ่มจำนวนเรือจาก 27,000 ลำ เป็นกว่า 57,000 ลำในปัจจุบัน (ทั้งนี้ไม่รวมที่ยังไม่จดทะเบียน (ผิดกฎหมาย) อีกประมาณ 30,000 ลำ (ตามคำกล่าวอ้างของคนบางกลุ่ม)

 

3. มีการขยายขนาดเครื่องมือให้กว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น และยาวขึ้น เช่น เรืออวนลอย เรืออวนจมติดตา ที่เคยมีความยาวประมาณ 200 เมตร 2,000เมตร ไปเป็น 20,000 เมตร/ลำ เป็นต้น

 

สรุปเมื่อเป็นดังนี้ “สังคมควรจะ “ทวงคืนน้ำพริกปลาทู” จากใครกัน”แน่

 

เก็บบรรยากาศ ควันหลงจากสำนักงานประมงจังหวัดชุมพร นัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ในจังหวัดชุมพร ประเด็นกฎหมายมาตรา57 ,71(2) พรก.ประมง2558/2560 ที่อาจจะประกาศใช้ ชาวประมงจะเห็นด้วยหรือไม่

 

สรุปผลการประชุมพี่น้องประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ไม่เห็นด้วยที่จะประกาศบังคับใช้ เพราะเป็นกฎหมายที่ปฏิบัติไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบขั้นร้ายแรงต่อพี่น้องประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ดังนั้นขอให้แจ้งกรมประมงอย่าประกาศมาบังคับใช้เด็ดขาด พร้อมกันนี้ก็มีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ค้านการไม่เห็นด้วย

 

เปิดความจริง  “ปลาทูหาย” ใครเป็นคนทำกันแน่!

 

 

เช่นเดียวกับที่สมาคมการประมงสมุทรปราการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสมุทรปราการและศูนย์pipo สมุทรปราการ เปิดรับฟังความเห็น มาตรา 57 และ มาตรา 71(2) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ผู้แทนประมงพื้นบ้าน 10 ท่าน ผู้แทนประมงพาณิชย์ 10 ท่านและสมาชิกสมาคมฯ  ที่เข้ามาร่วมรับฟังความคิดเห็น ไม่เห็นด้วย กับการบังคับใช้ มาตรา 57 และ มาตรา 71(2)
 

เปิดความจริง  “ปลาทูหาย” ใครเป็นคนทำกันแน่!

 

เปิดความจริง  “ปลาทูหาย” ใครเป็นคนทำกันแน่!

เปิดความจริง  “ปลาทูหาย” ใครเป็นคนทำกันแน่!