รายย่อยเฮ บสย.ผนึกส.อ.ท.ช่วยกรุยทางSMEsเข้าถึงสินเชื่อฟื้นเศรษฐกิจ 

03 ก.ค. 2565 | 05:50 น.

บสย. ผนึก ส.อ.ท. ลงนามความร่วมมือ “การสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจ” ผสานกำลัง ขับเคลื่อนประเทศไทย ติดปีกธุรกิจไทยสู่ความอย่างยั่งยืนคลัง ชู 8 มาตรการช่วยเหลือประชาชน

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ผนึก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผสานกำลังขับเคลื่อนประเทศไทย ติดปีกธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน ร่วมผลักดันและเสริมแกร่งศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ พร้อมมาตรการการเงินการคลัง ร่วมลงนามความร่วมมือการสนับสนุนผู้ประกอบการ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจ โดยได้รับเกียรติจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ  “การกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยมาตรการทางการเงินและการคลัง” พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานการลงนาม
    
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติร่วมงาน FTI EXPO 2022 และร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือ “การสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจ” ระหว่าง บสย. และ ส.อ.ท. โดยขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ “การกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยมาตรการการเงินและการคลัง”  โดยส่วนหนึ่งของการบรรยายได้กล่าวถึง ในช่วงที่ผ่านมาได้ออกมาตรการการช่วยเหลือประชาชน จากสถานการณ์ขัดแย้ง ยูเครน-รัสเซีย แล้วรวม 8 มาตรการ 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีคลัง กล่าวปาฐกถาในงานมหกรรม FTI EXPO 2022 และเป็นสักขีพยานmou ความร่วมมือระหว่างบสย.กับส.อ.ท.

รายย่อยเฮ  บสย.ผนึกส.อ.ท.ช่วยกรุยทางSMEsเข้าถึงสินเชื่อฟื้นเศรษฐกิจ 

โดยมี 6 มาตรการ เพื่อช่วยเหลือประชาชน จากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย เป็นมาตรการด้านพลังงาน คือ 1.มาตรการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ NGV อยู่ที่ 15.59 บาท /กิโลกรัม และคงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้กับผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถเเท็กซี่อยู่ที่ 13.62 บาท /กิโลกรัม

 

2.มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซล ขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมัน คงค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มดีเซลหมุนเร็วไม่เกิน 1.40 บาท/ลิตร

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)

รายย่อยเฮ  บสย.ผนึกส.อ.ท.ช่วยกรุยทางSMEsเข้าถึงสินเชื่อฟื้นเศรษฐกิจ 

3.มาตรการบริหารราคาน้ำมันดีเซล กรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศยังคงสูงเกินราคาที่กำหนดไว้ที่ 35 บาท/ลิตร รัฐจะอุดหนุนราคาส่วนเพิ่มร้อยละ 50

 

4.มาตรการขอความร่วมมือกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ นำส่งกำไรส่วนหนึ่งจากค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและเบนซิน เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

 

5.มาตรการช่วยเหลือด้านราคาก๊าซ LPG กำหนดราคาขายปลีก LP8 อยู่ที่ประมาณ 408 บาท / ถัง 15 กิโลกรัม ช่วยเหลือส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ร้านค้าหาบเร่แผงลอย ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เกิน 100 บาท/ราย/เดือน ช่วยเหลือลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาท/ คน / 3เดือน

 

6.มาตรการประหยัดพลังงานทั้งภาครัฐและเอกชน ขอความร่วมมือหน่วยงานรัฐและเอกชนร่วมกันประหยัดพลังงาน

รายย่อยเฮ  บสย.ผนึกส.อ.ท.ช่วยกรุยทางSMEsเข้าถึงสินเชื่อฟื้นเศรษฐกิจ 

และอีก2 ทางด้านการคลัง เพื่อช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย คือ 7.มาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการจัดอบรมภายในประเทศ ให้หักรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการอบรม และสัมมนาภายในประเทศ ในจังหวัดท่องเที่ยวรอง จำนวน 2 เท่าของรายจ่ายจริง และในจังหวัดอื่น จำนวน 1.5 เท่า

 

8.มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดนิทรรศการ และงานแสดงสินค้าภายในประเทศ ให้หักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าเช่าพื้นที่ หรือค่าบริการในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในประเทศ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง

รายย่อยเฮ  บสย.ผนึกส.อ.ท.ช่วยกรุยทางSMEsเข้าถึงสินเชื่อฟื้นเศรษฐกิจ 

โดยหลังจากการกล่าวปาฐกถา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามความร่วมมือ “การสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจ” ระหว่าง นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ขานรับนโยบายเปิดประเทศร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย สนับสนุนผู้ประกอบการทั้งระบบ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ 

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย.

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย.กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ สอดรับกับนโยบายการเปิดประเทศ และการส่งเสริมการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งทุน  ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นศูนย์กลาง การเชื่อมโยงเงินทุน และโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการ SMEs” ใน  2 บทบาท  

 

บทบาทแรก บสย.เป็น Credit Enhancer ออกหนังสือค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ใช้แทนหลักประกันในการยื่นกู้กับสถาบันการเงิน เป็นการลดต้นทุนด้าน Credit หรือ Credit Cost

 

บทบาทที่สอง คือ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน F.A. Center และหมอหนี้ เพื่อให้คำปรึกษาทางการเงิน Financial Literacy ไม่ว่าจะเป็นด้านการขอสินเชื่อ ด้านการพัฒนาธุรกิจ ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และการแก้ไขหนี้ ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ซึ่งที่ผ่านมา F.A. Center ได้ให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือ SMEs ไปแล้วมากกว่า 8,000 ราย นับเป็นความต้องการวงเงินสินเชื่อกว่า 10,000 ล้านบาท

รายย่อยเฮ  บสย.ผนึกส.อ.ท.ช่วยกรุยทางSMEsเข้าถึงสินเชื่อฟื้นเศรษฐกิจ 

การลงนามในครั้งนี้ เป็นการใช้ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่เรื่องของการลงบัญชีให้ถูกต้อง การแนะนำผู้ประกอบการในการวางแผนธุรกิจ การขยายธุรกิจ

 

ขณะเดียวกันทาง บสย.เติมในส่วนของการค้ำประกัน PS9 ไปอีก 23,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศ ในส่วนที่เข้าไปค้ำประกัน 23,000 ล้านบาทนี้ เชื่อว่าจะเติมเข้าระบบเศรษฐกิจได้อีกประมาณ 70,000 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีหลังนี้   

รายย่อยเฮ  บสย.ผนึกส.อ.ท.ช่วยกรุยทางSMEsเข้าถึงสินเชื่อฟื้นเศรษฐกิจ 

"การลงนามความร่วมมือ "การสนับสนุนผู้ประกอบการ ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อการดำเนินธุรกิจ" ระหว่าง ส.อ.ท.และ บสย. ในวันนี้ จะเป็นอีกก้าวหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตอบรับการเปิดประเทศ เพื่อผลักดันการเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน"นายสิทธิกรกล่าวย้ำ

 

ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้เจอกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ไปจนถึงภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา ได้ส่งผลกระทบทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

 

วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ที่เพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อ และการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งสะท้อนจากสัดส่วนการได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ของผู้ประกอบการที่มีขนาดเล็กถึงปานกลาง หรือ SME ที่ได้รับสินเชื่อลดลง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เท่าที่ควร

 

ข้อจำกัดนี้ส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับผู้ประกอบการเป็นไปได้ยากมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอีกด้วย


สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการเป็นผู้ผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สามารถรักษาเสถียรภาพของธุรกิจ และดำเนินธุรกิจต่อไปได้ จึงเป็นที่มาของโครงการต่างๆ

 

ในความร่วมมือกับบสย.วันนี้ โดย บสย. จะดำเนินกิจกรรมให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิก ส.อ.ท. ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการพัฒนายกระดับศักยภาพด้านต่างๆ โดยได้ร่วมดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว อาทิ

 

Clinic ให้คำปรึกษาด้านการเงิน  ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ การบริหารจัดการเงินทุน การปรับโครงสร้างหนี้ และการพัฒนาธุรกิจ

 

โดยระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา มีสมาชิกของ ส.อ.ท. ให้ความสนใจรับคำปรึกษาด้านการเงิน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว กว่า 200 บริษัท การอบรมให้ความรู้ทางการเงินด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น "รู้ข้อดีบัญชีเดียว พร้อมตัวช่วย" เป็นการแนะนำให้ผู้ประกอบการทราบถึงประโยชน์ของการลงบัญชีเดียวในกิจการ "การวิเคราะห์งบการเงินฉบับ CEO" ที่แนะนำให้ผู้บริหารสามารถดูงบการเงินของธุรกิจจากมุมมองของ CEO ได้ เป็นต้น

 

หลังจากนี้ ก็จะได้มีกิจกรรมความร่วมมือกันในกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการค้ำประกันให้แก่สมาชิก ส.อ.ท. การพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆ อาทิ การตลาดเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิและศักยภาพในกระบวนการผลิต การส่งเสริมและผลักดันสมาชิก
สู่ BCG ECONOMY MODEL  ด้วยความร่วมมือของทั้งส.อ.ท.และ บสย. ซึ่งมีมาต่อเนื่องยาวนาน พร้อมความมุ่งมั่นในเป้าหมาย ที่ต้องการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ ให้สามารถนำพาธุรกิจก้าวต่อไป ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม

 

ซึ่งหลังจากนี้จะให้ความร่วมมือในกิจกรรมอื่นๆ ทั้งการช่วยเหลือด้านการค้ำประกันสินเชื่อแก่สมาชิก ส.อ.ท. การพัฒนาธุรกิจด้านต่างๆ อาทิ ด้านการตลาดและเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในกระบวนการผลิต การส่งเสริมและผลักดันสมาชิกสู่ BCG ECONOMY MODEL

 

ในการนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เยี่ยมชมบูธ บสย. และ ธปท.  ในงาน FTI Expo 2022 โดยมีนายธีรัชย์ อัตนวานิช ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้การต้อนรับ พร้อมรับมอบนโยบายร่วมกับ  นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอให้ บสย. เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs รับการเปิดประเทศ  ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่