"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

01 ก.ค. 2565 | 13:10 น.

"กรมราง" ลงพื้นที่สแกนไฮสปีดไทย-จีน 1.79 แสนล้านบาท เร่งเอกชนตอกเสาเข็มงานโยธาตามเป้า 20% ในปีนี้ เผยคืบหน้า 14 สัญญา ขณะที่ 2 สัญญา ติดหล่มเวนคืนที่ดิน คาดเปิดให้บริการปี 70

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขน.) เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน ว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน179,400 ล้านบาท ทั้งหมด 14 สัญญา มีภาพรวมการก่อสร้าง 12% คาดว่าจะเร่งรัดการก่อสร้างให้ได้ตามเป้าหมาย 20% ภายในปี 65 หากโครงการฯแล้วเสร็จจะเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริงในช่วงปลายปี 69 และเปิดให้บริการภายในปี 70

 

 

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่โครงการทั้ง 3 สัญญา ดังนี้ สัญญาที่ 2 – 1 ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท โดยบริษัทซีวิลเอยจิเนียริง จำกัด (มหาชน) คืบหน้า 92.5% ที่ผ่านมาได้มีการขยายสัญญาออกไป 280 วัน จนถึงวันที่ 26 พ.ค.64 จากเดิมสิ้นสุดสัญญา 21 ต.ค.63 ถึงแม้ว่าปัจจุบันสัญญาสิ้นสุดแล้ว แต่ทางภาครัฐได้มีการให้เอกชนผู้รับเหมาสามารถใช้สิทธิเคลมระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาโดยไม่เสียค่าปรับในช่วงติดปัญหาสถานการณ์โควิด-19 คาดว่าสัญญาดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.65 ซึ่งจะเป็นสัญญาที่ 2 ของโครงการฯที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ

"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

 

ส่วนสัญญาที่ 3 – 4 ช่วง ลำตะคอง-สีคิ้วและช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท โดยบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) วันเริ่มสัญญา 26 ม.ค.64 สิ้นสุดสัญญา 10 ม.ค.67 ระยะเวลา 1,080 วัน คืบหน้า 27.78% ปัจจุบันติดปัญหาการขอเข้าพื้นที่ในการเวนคืนที่ดิน เนื่องจากอยู่ระหว่างรอออกพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ระหว่างนี้จะมีการตั้งงบประมาณปี 66 เพื่อจ่ายเงินชดเชยเวนคืน ประมาณ 6-7 ล้านบาท โดยการเวนคืนที่ดินในครั้งนี้เพื่อขอใช้พื้นที่ ระยะทาง 10 กม. บริเวณลาดบัวขาว,กรมชลประทาน,กรมป่าไม้และพื้นที่ของทหาร หลังจากดำเนินการเข้าพื้นที่แล้วเสร็จ ทางเอกชนผู้รับเหมาจะเร่งรัดการก่อสร้างบริเวณทางวิ่งต่อไป

 

 

 

สัญญาที่ 4 – 7 ช่วงสระบุรี – แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท โดยบริษัทซีวิลเอยจิเนียริง จำกัด (มหาชน) วันเริ่มสัญญา 19 ก.พ.64 สิ้นสุดสัญญา 3 ก.พ.67 ระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน ผลงานสะสม 22.28% ขณะนี้อยู่ระหว่างรอออกพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน บนพื้นที่ 68 ไร่ ทางเอกชนผู้รับเหมามีเตรียมพร้อมขอเข้าพื้นที่เพื่อเจรจากับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินก่อน คาดว่าสัญญาดังกล่าวจะก่อสร้างแล้วในช่วงปลายปี 67

 

"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างอีก 11 สัญญา แบ่งเป็นก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.

สัญญาที่ 3-2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท โดย บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ คืบหน้า 1.21%

"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

 

สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท โดย บจ.ไทย เอ็นยิเนียร์ และอุตสาหกรรม คืบหน้า 7.08%

 

 

สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท โดยกิจการร่วมค้า SPTK (บ.นภาก่อสร้าง ร่วมกับบริษัทรับเหมาประเทศมาเลเซีย) คืบหน้า 2.26 %

 

 

สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 10,570 ล้านบาท โดย บมจ.บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น คืบหน้า 0.04%

"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

 

สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525.35 ล้านบาท โดยกิจการร่วมค้า CAN (บจ.เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964), บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด คืบหน้า 1.88 %

สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท โดย บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น คืบหน้า 0.06%

 

"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

ส่วน 2 สัญญา อยู่ระหว่างการรอลงนามสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง ประกอบด้วย สัญญา 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก- บันไดม้าระยะทาง 30 กม. วงเงิน 9,930 ล้านบาท โดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนท์ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางที่ 11,386 ล้านบาท ที่ผ่านมาศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนจากกรมบัญชีกลางไว้ชั่วคราว ปัจจุบันรฟท.ได้มีการขอเร่งรัดศาลปกครองพิจารณาคดีในสัญญาดังกล่าว

 

 

"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

ด้านสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. วงเงิน 18,000 ล้านบาท ปัจจุบัน รฟท.ได้จ้างบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด (บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา)

 

 

 ขณะเดียวกันอีก 1 สัญญา คือ สัญญา 4-4 งานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท โดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ มีการลงนามแล้วเสร็จ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการขอใช้พื้นที่เพื่อเวนคืนที่ดิน และสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท โดยบมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนต์ อยู่ระหว่างหาข้อสรุปทางกฎหมายในการปรับแบบสัญญาให้สอดคล้องกับรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ช่วงผ่านสถานีอยุธยาเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่มรดกโลก

 

"กรมราง" เปิดแผนอัพเดท "ไฮสปีดไทย-จีน" 1.79 แสนล้าน

ทั้งนี้หากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยกระทรวงคมนาคมได้กำชับต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินโครงการให้ก่อสร้างแล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ตามแผนงานของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการผลักดันการขนส่งทางระบบรางเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่จะช่วยสร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทาง เกิดการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยต่อไป