"เฉลิมชัย” ปลื้มยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ 5 เดือนแรก โกยรายได้ 1 แสนล้าน

22 มิ.ย. 2565 | 13:41 น.

"เฉลิมชัย” รัฐมนตรีเกษตร เผยข่าวดี ยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์เพียงแค่ 5 เดือนแรกปี 65 รวมแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้น 21% ชี้ครึ่งปีหลังส่งออกเพิ่มต่อเนื่อง หลังภาครัฐคลายล็อกดาวน์-เปิดประเทศ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ทั่วโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น มีการเปิดประเทศและอุตสาหกรรมเศรษฐกิจทั่วโลกมีการขยายและฟื้นตัว ส่งผลให้สินค้าปศุสัตว์ของประเทศไทยเป็นที่ต้องการทั่วโลก โดยเพียงแค่ 5 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) ยอดส่งออกยังคงพุ่งแรงเทียบกับ 5 เดือนแรกปี 2564 ก่อน รวมมูลค่ากว่า 106,656.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.82 % ปริมาณกว่า 1,014,611 ตัน เพิ่มขึ้น 2.08% ผลจากความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าในการตรวจสอบ กำกับและควบคุมกระบวนผลิตด้านความปลอดภัยอาหารของกรมปศุสัตว์ ประเทศไทย เผยครึ่งปีหลังคาดการณ์จากเจรจาและเปิดตลาดคู่ค้าเพิ่มสำเร็จ ผลทำให้การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทยยังคงพุ่งปังเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
    

"เฉลิมชัย” ปลื้มยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ 5 เดือนแรก โกยรายได้ 1 แสนล้าน

 


 ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจหน้าที่ในการกำกับควบคุมดูแลการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยอาหาร ตั้งแต่แหล่งที่มาของสัตว์จากฟาร์มมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) โรงฆ่าและโรงแปรรูปที่มีการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (Good Hygiene Practices: GHPs) และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Points: HACCP) สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎหมายในประเทศ ตามระเบียบของประเทศคู่ค้า และตามหลักสากล 

"เฉลิมชัย” ปลื้มยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ 5 เดือนแรก โกยรายได้ 1 แสนล้าน
 

สำหรับยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) เปรียบเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 ( 5 เดือนแรกปี 64 ปริมาณ 993,916 ตัน มูลค่า 88,277.50 ล้านบาท) มีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นคิดเป็น 2.08%  มูลค่าเพิ่มขึ้น 20.82% ซึ่งในช่วงแค่ 5 เดือนแรกของปี 2565 นี้ได้มีการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปแล้วปริมาณกว่า 1,014,611 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 106,656.17 ล้านบาท แบ่งเป็นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์แปรรูปปริมาณ 415,348.23 ตัน มูลค่า 54,016.07 ล้านบาท (สินค้าประเภทเนื้อไก่แปรรูปมากที่สุดคิดเป็น 61% คู่ค้าหลักคือญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป) สินค้ากลุ่ม Non-frozen ประกอบด้วย ไข่และผลิตภัณฑ์ไข่ นมและผลิตภัณฑ์นม น้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์ผึ้ง รังนกและผลิตภัณฑ์รังนก ซุปไก่สกัด อาหารกระป๋อง และอื่นๆ รวมปริมาณ 125,077.39 ตัน มูลค่า 10,784.77 ล้านบาท (สินค้านมและผลิตภัณฑ์นมมากที่สุดคิดเป็นประมาณ 80% รองลงมาคือกลุ่มสินค้าไข่และผลิตภัณฑ์ 

 

 

"เฉลิมชัย” ปลื้มยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ 5 เดือนแรก โกยรายได้ 1 แสนล้าน

กลุ่มสินค้าปลากระป๋อง ตามลำดับ) อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet food) ปริมาณ 366,317.07 ตัน มูลค่า 36,888.73 ล้านบาท (อาหารสัตว์เลี้ยงในภาชนะบรรจุปิดสนิทมากที่สุด รองลงมาคืออาหารเม็ด คู่ค้าหลักสำคัญคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป) และอาหารปศุสัตว์ ปริมาณ 107,868.31 ตัน มูลค่า 4,966.61 ล้านบาท (เป็นปลาป่นมากที่สุด รองลงมาคืออาหารสำเร็จรูป และพรีมิกซ์ ตามลำดับ)
    
 

"เฉลิมชัย” ปลื้มยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ 5 เดือนแรก โกยรายได้ 1 แสนล้าน

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวโน้มการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในช่วงครึ่งหลังปี 65 นี้ ได้มีการเจรจาเปิดตลาดและขยายตลาดการส่งออก ส่งผลให้แนวโน้มปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงเพิ่มปริมาณและมูลค่าได้อย่างต่อเนื่อง จากสิงคโปร์มีการผ่อนปรนมาตรการนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ปีกดิบทำให้ไทยส่งออกได้มากขึ้น มาเลเซียมีการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากไทยมากขึ้นและจะมาตรวจประเมินพิจารณาขึ้นทะเบียนโรงงานนมเพิ่มเติม องค์การอาหารและยาของซาอุดิอาระเบีย (SFDA) อนุญาตให้นำเข้าไก่จากไทยได้หลังจากที่ระงับมานานและได้ขึ้นทะเบียนโรงงานสัตว์ปีกไทยเพิ่มอีก 11 โรงงาน ทำให้เป็นโอกาสในการเพิ่มตลาดส่งออกได้มากขึ้น 

 

"เฉลิมชัย” ปลื้มยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ 5 เดือนแรก โกยรายได้ 1 แสนล้าน

 

นอกจากนี้แคนาดาจะตรวจประเมินโรงงานสัตว์ปีกเพื่อพิจารณาการนำเข้าเนื้อเป็ดแปรรูปปรุงสุกจากไทย และอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นที่ต้องการในตลาดโลกส่งออกเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีโรงงานผลิตอาหารคนที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์แล้วกว่า 337 แห่ง และโรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแล้วกว่า 90 แห่ง