เตามหาเศรษฐีกระทรวงพลังงานมีลักษณะอย่างไร ต่างจากเตาอั้งโล่ยังไง เช็คเลย

22 มิ.ย. 2565 | 06:23 น.

เตามหาเศรษฐีกระทรวงพลังงานมีลักษณะอย่างไร ต่างจากเตาอั้งโล่ยังไง เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ พร้อมข้อมูลเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทั้ง 2 แบบ

เตามหาเศรษฐีกระทรวงพลังงานมีลักษณะอย่างไร เป็นคำถามที่กำลังต้องการคำตอบเป็นอย่างมาก หลังจากที่กระทรวงพลังงานเฟซบุ๊ก กระทรวงพลังงาน ได้แชร์โพสต์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

 

เชิญชวนคนไทยลดการใช้พลังงานด้วยการหันมาใช้ เตาอั้งโล่ หรือในชื่อ เตามหาเศรษฐี ที่สามารถประหยัดไม้ ฟืนและถ่านที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

 

ทั้งนี้ จากการสืบค้นข้อมูลของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทน พพ. ได้มีการเผยแพร่อธิบายคุณลักษณะของ "เตามหาเศรษฐี" โดยระบุว่า

 

  • ลักษณะเพรียว น้ำหนักเบากว่า

 

  • ถังเปลือกเตาใช้โลหะหนา  ผุกร่อนช้าและแข็งแรงทนทาน

 

  • ปากเตาลาดเอียงลงด้านใน สามารถวางภาชนะหุงต้ม (หม้อ) ได้ 9 ขนาด ตั้งแต่เบอร์ 16-32

 

  • เส้าเตาวางภาชนะหุงต้ม ต่ำขอบเตาเล็กน้อย ขอบเตาเสมอกันโดยรอบ ความร้อนสูญเสียสู่บรรยากาศน้อย 

 

  • เมื่อวางภาชนะหุงต้ม ก้นภาชนะหุงต้มอยู่ต่ำกว่าขอบเตา

 

  • ช่องบรรจุถ่านได้ 400 –500 กรัม ซึ่งเพียงพอต่อการหุงต้มอาหารแต่ละมื้อโดยไม่ต้องเติมถ่านอีก

 

  • รังผึ้งหนาทาด้วยดินปั้นเตาคุณภาพดีทนทาน รูรังผึ้งเล็ก และเรียวดูดอากาศได้ดี

 

  • ตัวเตาทำด้วยดินเหนียวปั้นเตาอย่างดี

 

  • มีฉนวนกันความร้อนระหว่างถังเปลือกเตากับตัวเตา 

 

เตามหาเศรษฐีกระทรวงพลังงานมีลักษณะอย่างไร

 

  • ขณะหุงต้มไม่มีควันและก๊าซพิษเกิดขึ้น เนื่องจากเผาไหม้สมบูรณ์

 

  • ให้ความร้อนสูง อุณหภูมิกลางเตาประมาณ 1,000-1,200 องศาเซลเซียส

 

  • ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ย 29%

 

  • อายุการใช้งานมากกว่า 2 ปี

 

  • ประหยัดถ่านกว่าเตาอั้งโล่ท้องตลาด 30-40%

 

ราคาขายประมาณ 200-250 บาท

ส่วนเตาอั้งโล่ท้องตลาด มีลักษณะได้แก่ 

 

  • ลักษณะหนาเทอะทะ น้ำหนักมาก

 

  • ถังเปลือกเตาใช้โลหะบาง ผุกร่อนเร็ว

 

  • ปากเตาตรงวางภาชนะหุงต้มได้น้อยขนาด

 

  • เส้าเตาวางภาชนะหุงต้มสูงกว่าขอบเตา ขอบเตาเว้ามากทำให้ความร้อนสูญเสียสู่บรรยากาศมาก

 

  • เมื่อวางภาชนะหุงต้ม  ก้นภาชนะอยู่สูงกว่าขอบเตาเป็นส่วนใหญ่ 

 

  • ช่องบรรจุถ่านใหญ่ต้องใส่ถ่านมาก หุงต้มแต่ละมื้อส่วนใหญ่ต้องเติมถ่านเพิ่ม

 

  • รังผึ้งบางทำด้วยดินปั้นทั่วไป ชำรุดง่าย รูรังผึ้งใหญ่ไม่ดูดอากาศ

 

  • ตัวเตาทำด้วยดินเหนียวปั้นเตาทั่วไป

 

  • ไม่มีฉนวนกันความร้อนระหว่างถังเปลือกเตากับตัวเตา

 

  • ขณะหุงต้มจะมีควันและก๊าซพิษบางส่วนเกิดขึ้น เนื่องจากเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ 

 

ประสิทธิภาพในการใช้ถ่านระหว่างเตาแต่ละแบบ

 

  • ให้ความร้อนต่ำอุณหภูมิกลางเตาประมาณ 500 –600 องศาเซลเซียส

 

  • ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ย 21% 

 

  • อายุการใช้งานสั้นประมาณ 1 ปี

 

  • ไม่ประหยัดถ่าน เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้งานต่ำ

 

ราคาขายประมาณ 90-200 บาท