"ใบสั่งออนไลน์" ช่องทางตรวจสอบ "ใบสั่งค้างชำระ" ง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง 

21 มิ.ย. 2565 | 21:05 น.

"ใบสั่งออนไลน์" ช่องทางตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ ง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเองผ่านทางเว็บไซต์ ptm.police.go.th พร้อมวิธีการจ่ายค่าปรับ คลิกอ่านที่นี่

จากกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลมีแนวทางการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร และไม่มาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดจำนวนมาก พบว่า บางคนมีใบสั่งถึงมากกว่า 50 ใบ ที่สำคัญยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำ ๆ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและเกิดปัญหาการจราจรขึ้นได้นั้น 

 

ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถเช็คใบสั่งจราจรที่ได้รับมาว่า มีตกหล่นไปบ้างหรือไม่โดยสามารถตรวจสอบใบสั่งผ่านระบบออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ ptm.police.go.th/eTicket ซึ่งมีขั้นตอนรายละเอียดสำหรับการปฏิบัติ ดังนี้

 

ช่องทางและขั้นตอนการตรวจสอบใบสั่งผ่านระบบออนไลน์

1.เข้าเว็บไซต์ ptm.police.go.th/eTicket

  • เลือกเมนู
  • ลงทะเบียนใช้งาน

 

2.กรอกข้อมูลส่วนตัว

  • ชื่อ-นามสกุล
  • เลขบัตรประชาชน
  • เลขหลังบัตร หรือ Laser ID
  • จากนั้นคลิกปุ่ม "ถัดไป"

 

3.เลือกรูปแบบข้อมูลที่ต้องการใช้ลงทะเบียน

  • ข้อมูลรถที่ครอบครอง หรือใช้ข้อมูลใบขับขี่ โดยจะเลือกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
  • จากนั้นกด "ถัดไป"

4.กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วน

  • จากนั้น คลิก "ถัดไป" 

 

5.ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดที่ได้กรอกไว้ ทำการตรวจสอบความถูก แล้วกรอกอีเมลเพื่อใช้ในการลงทะเบียน กด "ถัดไป"

 

6.ตรวจสอบอีเมลที่ใช้ยืนยัน นำรหัส OTP จำนวน 6 หลักที่ทางระบบส่งไปยังอีเมลมาใช้เพื่อยืนยันการสมัคร

 

7.ตั้งรหัสผ่าน และ ยืนยันรหัสสผ่านอีกครั้ง เสร็จแล้วคลิก "ลงทะเบียน" เป็นอันเสร็จสิ้นสามารถ Login เข้าใช้งานได้เลย

 

8.ทำการ Login ด้วยเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้

  • จากนั้นเลือกช่วงเวลาที่ต้องการตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ
  • กรอก ทะเบียนรถ เลขที่ใบสั่ง
  • กดค้นหา หากมีใบสั่งขึ้นมาในระบบแสดงว่า มีใบสั่งค้างชำระ แต่หากไม่มีการค้างชำระ ระบบจะแจ้งว่า "ไม่พบข้อมูลใบสั่งในระบบ"

 

วิธีการจ่ายเงินค่าปรับใบสั่งจราจร

  • สถานีตำรวจ
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ไปรษณีย์ไทย
  • ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
  • ตู้บุญเติม
  • ชำระผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน KrungThai NEXT
     

"ใบสั่งออนไลน์" ช่องทางตรวจสอบ "ใบสั่งค้างชำระ" ง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง