“กัญชา” ไม่ใช่ “กัญชง” ความเหมือนบนความต่าง

20 มิ.ย. 2565 | 17:05 น.

เมื่อกัญชาได้ถูกปลดล็อก เเต่เคยสงสัยกันไหมว่า “กัญชา” กับ “กัญชง” มีความเหมือนบนความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

"ปลดล็อกกัญชา" กัญชง อย่างเป็นทางการแล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุชื่อ ยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ส่งผลให้ส่วนต่างๆ ของกัญชา ไม่มีสถานะเป็นยาเสพติดอีกต่อไปนั้น

แต่เคยสงสัยกันไหมว่าว่า กัญชากับกัญชง แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะมองผ่าน ๆ ก็หน้าตาถึงได้คล้ายกันจนแยกไม่ออกจริงๆ 

พืชตระกูลเดียวกัน แต่คนละสายพันธุ์

  • กัญชาและกัญชง (Hemp) พืชทั้งสองชนิดเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์ Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน
  • ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อยจึงทำให้กัญชงและกัญชามีลักษณะที่คล้ายกัน
  • จะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ

 

ลักษณะของกัญชา กัญชง

กัญชา (Marijuana)

  • ตัวลำต้นมักจะมีลักษณะเตี้ยและเป็นพุ่ม
  • ต้นกัญชาจะแตกกิ่งก้านค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับกัญชง
  • ปล้อง/ข้อไม่ยาว
  • เปลือกไม่เหนียว ลอกยาก
  • แตกกิ่งก้านน้อย
  • ใยเส้นคุณภาพต่ำ
  • ยางดอกมีมาก
  • ออกดอกเมื่อมีอายุเกิน 3 เดือน
  • ใบ และช่อดอกมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง
  • ใบสีเขียวจัดจะมีประมาณ 5-7 แฉก
  • สารที่ทำให้เมาหรือ THC (Tetrahydroconnabinol) 

 

กัญชง Hemp

  • มีต้นที่สูงและเรียว
  •  ใบกัญชงจะมีขนาดใหญ่กว่ากัญชา เรียงสลับของใบที่ห่างกัน
  • ลักษณะของใบกัญชงจะมีประมาณ 7-11 แฉก
  • สีของใบกัญชงจะเป็นเขียวอ่อน
  • ลำต้นสูงใหญ่มากกว่า 2 เมตร
  • ปล้อง/ข้อยาว
  • เปลือกเหนียว ลอกง่าย
  • แตกกิ่งก้านน้อย
  • ใยเส้นดี มีคุณภาพ
  • ยางดอกไม่มาก
  • ออกดอกเมื่ออายุมากกว่า 4 เดือน
  • ใบ และช่อดอกเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นน้อย และอาจทำให้ปวดหัว
  • ปลูกเพื่อเอาเส้นใย เพื่อทำกระดาษ เสื้อผ้า กระเป๋า เชือก ฯลฯ
  •  THC น้อยกว่า 1 (น้อยกว่า 0.3 ไม่ถือว่าเป็นสารเสพติด)
  • เมล็ดมีโปรตีน ใช้แทนผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองได้ เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เนย ชีส น้ำมันสลัด ไอศกรีม นม ฯลฯ และนำมาทำเป็นแป้ง เพื่อทำอาหารได้
  • น้ำมันกัญชง มีโอเมก้า-3 ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

 

สรุปแล้ว กัญชาและกัญชง ภายนอกคล้ายกัน  กัญชงไม่นำมาใช้ในแง่ของยาเสพติด แต่ปลูกเพื่อใช้เส้นใยในการทำเสื้อผ้า กระดาษ เครื่องทอต่าง ๆ ขณะที่กัญชาหากนำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และถูกวิธี สามารถนำมาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยบางโรคได้

 

ข้อมูล : www.oncb.go.th