ฝีดาษลิงล่าสุด ระบาดแล้วกี่ประเทศ สถานการณ์ในประเทศไทยเป็นอย่างไรดูเลย

02 มิ.ย. 2565 | 08:00 น.

ฝีดาษลิงล่าสุด รายแล้วกี่ประเทศ พร้อมเช็คอาการและสาเหตุ สถานการณ์ในประเทศไทยล่าสุด กรมควบคุมโรครายงงานยังไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ

ฝีดาษลิงล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ติดเชื้อวันที่ 30/5/2565 ดังนี้สถานการณ์ทั่วโลกของโรคฝีดาษลิง ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่มีการรายงานผู้ป่วยรายแรกใน ประเทศที่ไม่ใช่พื้นที่โรคประจำถิ่นของโรคนี้ ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 มีการรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 573 ราย (เพิ่มขึ้น 79 ราย)

  • เป็นผู้ป่วยยืนยัน 436 ราย (เพิ่มขึ้น 30 ราย)
  • ผู้ป่วยสงสัย 137 ราย (เพิ่มขึ้น 49 ราย)
  • ใน 33 ประเทศทั่วโลก (เพิ่มขึ้น 1 ประเทศ)

ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่

  • สเปน 181 ราย (ร้อยละ 32)
  • อังกฤษ 101 ราย (ร้อยละ 18)
  •  โปรตุเกส 74 ราย (ร้อยละ 13)
  • แคนาดา 63 ราย (ร้อยละ 11)
  • เนเธอแลนด์ 32 ราย (ร้อยละ 6)

 ประเทศใหม่ที่พบผู้ป่วย ได้แก่

  • เฟรนช์ เกียน่า

 

ข้อมูลทางระบาดวิทยาของสถานการณ์ทั่วโลก จากรายงานทั้งหมด มี 209 ราย ที่มีการรายงานข้อมูล

  • ปัจจัยเพศ พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ
  • เพศหญิง (ร้อยละ 3)

อายุ

  • สำหรับอายุ จากรายงาน 82 ราย ที่มี ข้อมูลทั้งหมดเป็นกลุ่มอายุ 20-59 ปี
  • จากรายงานที่มีข้อมูลอาการ 93 ราย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99)

อาการที่พบ

  • มีผื่น โดยผื่นที่พบ ได้แก่ ลักษณะแผลหรือ ulcerative lesion (ร้อยละ 79)
  •  ไม่ระบุลักษณะ (ร้อยละ 10)
  • ตุ่มน้ำใส (ร้อยละ 9)
  •  ผื่นนูน และตุ่มหนอง (ร้อยละ 1)

 

ตำแหน่งของผื่นได้แก่

  • ไม่ระบุตำแหน่ง (ร้อยละ 42)
  • บริเวณอวัยวะเพศ (ร้อยละ 57)
  • บริเวณปาก (ร้อยละ 18)
  • และบริเวณรอบทวารหนัก (ร้อยละ 1)

อาการอื่นที่พบ ได้แก่

  • ไข้ (ร้อยละ 28)
  • ต่อมน้ำเหลือง ที่ขาหนีบโต ไอ กลืนลำบากเล็กน้อย ปวดกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 1)

สายพันธ์

จากรายงานที่มีข้อมูลสายพันธุ์ 12 ราย ทั้งหมด เป็นสายพันธุ์ West African จากรายงานทั้งหมด มี 88 ราย

  • ระบุว่ามีประวัติเดินทาง 45 ราย (ร้อยละ 51)
  •  โดยมี ข้อมูลระบุมีประเทศต้นทาง 34 ราย (ร้อยละ 76)
  • ได้แก่ สเปน (ร้อยละ 41)
  • ประเทศในยุโรปแต่ไม่ระบุชื่อ (ร้อยละ 12)

 

 

 

ฝีดาษลิงล่าสุด

สถานการณ์ในประเทศไทย

  • สถานการณ์โรคฝีดาษในประเทศไทย ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยยืนยัน แต่มีรายงานผู้เข้าเกณฑ์ป่วยสงสัยจำนวน 3 ราย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อฝีดาษวานร สำหรับการประเมินความเสี่ยงของการติดต่อโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย มีโอกาสพบผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศที่มีการรายงานผู้ป่วย เช่น ไนจีเรีย สหราชอาณาจักรอังกฤษ แคนาดา สเปน โปรตุเกส

 

ประเด็นที่น่าสนใจจากต่างประเทศ

  • อิสราเอล กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) รายที่สองของประเทศแล้ว เป็นชายอายุ 30 ปี ซึ่งมีประวัติเดินทางมาจากต่างประเทศ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชีบา ก่อนหน้านี้
  • อิสราเอลรายงานการตรวจพบผู้ป่วยรายแรกของประเทศเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ซึ่งเป็นชายอายุ 30 ปี ที่มีอาการป่วยล็กน้อยและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอิชิลอฟเมืองเทลอาวีฟ ทั้งนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขอิสราเอล มีการเฝ้าติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีดาษวานร และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลก

ข้อสังเกตจากสถานการณ์ และข้อเสนอแนะ

  • ข้อสังเกตจากสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ประเทศในโซนยุโรปตะวันตกมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้มีผู้ป่วยสงสัยในประเทศเนเธอแลนด์เพิ่มขึ้น 20 รายประเทศที่พบผู้ป่วยรายใหม่ทั้งหมด มีประวัติเดินทางกลับจากต่างประเทศ รวมทั้งผู้ป่วยยืนยันในประเทศเม็กซิโกรายงานว่ามีประวัติเดินทางกลับจากประเทศเนเธอแลนด์.

ข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์โรคผีดาษลิงในประเทศไทย

  • ควรเพิ่มการเฝ้าระวังและให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยง
  • โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อการป้องกันโรคในสถานบริการที่มีความเสี่ยง
  • เน้นย้ำประชาชนให้มีการปฏิบัติตามมาตรการ UP

 

อัพเดทล่าสุดวันนี้ 31 พฤษภาคม 2565 มีการรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 696 ราย (เพิ่มขึ้น 123 ราย) เป็นผู้ป่วยยืนยัน 557 ราย (เพิ่มขึ้น 121 ราย) และผู้ป่วยสงสัย 139 ราย (เพิ่มขึ้น 2 ราย) ใน 33 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่

  • สเปน 196 ราย (ร้อยละ 28)
  • อังกฤษ 172 ราย (ร้อยละ 25)
  • โปรตุเกส 96 ราย (ร้อยละ 14)
  • แคนาดา 63 ราย (ร้อยละ 9)
  • และเนเธอแลนด์ 32 ราย (ร้อยละ 5)
  • ประเทศใหม่ที่พบผู้ป่วย ได้แก่ บราซิล พบผู้ป่วยสงสัย 3 ราย

อัพเดทล่าสุดสถานการณ์ โรคฝีดาษลิง วันนี้ 1/6/2565 ดังนี้

  • ผู้ป่วยทั่วโลก 696 ราย
  • ผู้ป่วยยืนยันในไทย 0 ราย.

 

โรคฝีดาษลิง

 

ที่มา: กรมควบคุมโรค