"ฝีดาษลิงในไทย" เช็ก 5 ข้อของความยุ่งยากในการควบคุมโรคมีอะไรบ้างที่นี่

31 พ.ค. 2565 | 01:56 น.

"ฝีดาษลิงในไทย" เช็ก 5 ข้อของความยุ่งยากในการควบคุมโรคมีอะไรบ้างที่นี่ หมอยงเผยที่ระบาดปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98%

ฝีดาษลิงในไทย กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่กรมควบคุมโรค ระบุว่า พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย มีประวัติเดินทางมาเปลี่ยนเครื่องในสนามบินในไทย 2 ชั่วโมงเพื่อเดินทางต่อไปประเทศออสเตรเลีย 

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า

 

ฝีดาษวานร  2022   ความยุ่งยากในการควบคุมโรค

 

ฝีดาษวานรที่ระบาดในปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98%  และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20 ถึง 50 ปี 

 

ความยุ่งยากในการควบคุมโรค คือ 

 

  • อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย 
     
  • ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก  30% เกิดในที่ลับ  บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์

 

  • โรคนี้ติดต่อ เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด

 

  • ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน 

 

  • ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะ ที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น 

 

ขณะนี้โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยง ที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป

 

ฝีดาษลิงในไทย เช็ก 5 ข้อของความยุ่งยากในการควบคุมโรคมีอะไรบ้าง
 

หมอยงยังโพสต์ ด้วยว่า "ฝีดาษวานร" ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ รวมทั้งฝีดาษวานร สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนไวรัสในกลุ่มฝีดาษไข้ทรพิษ และ ฝีดาษวานร มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ในกลุ่มฝีดาษ ระบบภูมิคุ้มกันข้ามมาป้องกัน ซึ่งกันและกัน 

สมัยเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ที่ใช้ฝีดาษวัว (Vaccinia) มาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว  และประสบผลสำเร็จ จนในที่สุด โรคไข้ทรพิษได้หายไปจนหมดสิ้น องค์การอนามัยโลกยกเลิกการปลูกฝีอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ 2523 หลายประเทศยกเลิกก่อนหน้านั้น 

 

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนให้ดีขึ้น (ใช้ Vaccinia Ankara strain) แทนการปลูกฝี เป็นไวรัสเชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์และไม่แบ่งตัว มาใช้วิธีการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยไม่เกิดอาการตุ่มหนองฝี มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีการปลูกฝี ปัจจุบันวัคซีนได้อนุมัติใช้ทางประเทศตะวันตก ยุโรปและอเมริกา

 

โรคฝีดาษวานร วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันก็ไม่ได้เริ่มต้นมาจากศูนย์ แบบการพัฒนาวัคซีนป้องกัน covid 19