ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

31 พ.ค. 2565 | 05:03 น.

เริ่มแล้ว มหกรรม Pitching Startup Thailand League 2022 ระดับภูมิภาค ประเดิมที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มช.เป็นเวทีผลักดันนักศึกษาสู่การเป็นสตาร์ทอัพมืออาชีพ มีผู้เข้าแข่งขัน 49 ทีมจาก 8 มหาวิทยาลัย คัดดาวเด่นสตาร์ทอัพภาคเหนือ 3 ทีม ไปรอชิงชัยระดับประเทศ     

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เฟ้นหาดาวเด่นจากมหาลัยทั่วประเทศ ปั้นสตาร์อัพหน้าใหม่ปีที่ 6 ในการแข่งขัน Pitching Startup Thailand League 2022 ระดับภูมิภาค เป็นตัวแทนสู่การแข่งขันบนเวทีระดับประเทศ Startup Thailand League 2022 หวังผลักดันนิสิต นักศึกษาจากทั่วประเทศสู่การเป็นสตาร์ทอัพมืออาชีพ เปิดเวทีประกวดแห่งแรกที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ 

 

นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรรมแห่งชาติ หรือ NIA เผยว่า ปีนี้เป็นปีที่ 6 ที่ NIA ได้จัดงาน Startup Thailand League แม้ยังอยู่ในช่วงของโควิด เพื่อเป็นเวทีแห่งโอกาสให้นิสิต นักศึกษาที่มีไอเดียนวัตกรรม มีความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาธุรกิจแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและสังคม และผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพรุ่นใหม่มากขึ้น ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตตามเทรนด์ของโลก 

ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

นิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขัน Startup Thailand League 2022 ได้ผ่านการอบรมพัฒนาความเป็นสตาร์ทอัพ และแนวทางการพัฒนาธุรกิจเป็นเวลา 3 วัน ก่อนก้าวเข้าสู่การแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจระดับประเทศ หรือ Pitching Startup Thailand League 2022 โดยปีนี้มีมหาวิทยาลัยเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 48 แห่งทั่วประเทศ ส่งทีมเข้าแข่งขันร่วมกว่า 250 ทีม 

 

เริ่มเวทีแข่งขันแรกที่ภาคเหนือ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2565 ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2565 ภาคใต้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2565 และปิดท้ายที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ Sandbox 88 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2565

ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

จากการเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่ภาคเหนือ มีนิสิต/นักศึกษาเข้าร่วม 49 ทีมจาก 8 มหาวิทยาลัย และหลังจากนำเสนอแผนงานธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้คัดเลือก 3 ทีมโดดเด่น เป็นดาวรุ่งของภาคเหนือโดยรับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก NIA และเงินรางวัลสนับสนุนโดยธนาคารออมสิน ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม CEOs magic patches จากมหาวิทยาลัยนเรศวร รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม ConnectTheDr จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Powerpuffgirls จากมหาวิทยาลัยนเรศวร

 

โดยทั้ง 3 ทีมจะเป็นตัวแทนภาคเหนือเข้าแข่งขันในระดับประเทศ เพื่อชิงชัยเป็นสุดยอด Startup Thailand League ประจำปี 2022 นอกจากนั้น NIA จะได้คัดเลือก 100 ทีมจากทั่วประเทศ เปิดโอกาสให้ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์หรือบริการ นำเสนอแก่นักลงทุนและผู้ที่สนใจภายในงาน Demo Day 2022 ที่จะจัดขึ้นช่วงเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ โดยทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้ให้เงินสนับสนุนแก่ทุกทีม เพื่อนำไปจัดทำต้นแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Prototype)

 

นายปริวรรต กล่าวเสริมต่อว่า นอกจากโล่และเงินรางวัลที่นิสิต นักศึกษาจะได้รับแล้ว ผู้ได้เข้าแข่งขันทุกทีมจะได้รับคำแนะนำในการพัฒนาโมเดลธุรกิจ แนวทางการขยายธุรกิจ การบริหารองค์กร จากคณะกรรมการตัดสิน ที่เป็นทั้งนักลงทุนผู้เชี่ยวชาญ และสตาร์ทอัพรุ่นพี่ ที่ประสบความสำเร็จในแวดวงสตาร์ทอัพ และในอนาคตยังมีโอกาสได้เข้าสู่โครงการบ่มเพาะธุรกิจ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน 

 

ทุกทีมมีโอกาสเปิดตัวธุรกิจของตนเองให้นักลงทุนและสาธารณชนได้รู้จัก และยังเป็นการสร้างประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากการเรียนในตำรา เราเชื่อมั่นว่าการผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ จะเป็นกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโต และสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป”

 

พร้อมกันนี้ได้เตรียมส่งไม้ต่อสู่สตาร์ทอัพหน้าใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 4-5 มิถุนายน 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี

 

นายปริวรรต กล่าวอีกว่า ผลตอบรับที่ผ่านมา มีน้อง ๆ Startup ประมาณ 50 บริษัท ที่ตั้งบริษัทแล้วและมีเงินลงทุนประมาณ 80 กว่าล้านบาท และมีเกิดรายได้แล้ว เป็นการเริ่มต้นที่ดี และมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งอยากส่งเสริมอย่างจริงจัง มีการตั้งกองทุนของมหาวิทยาลัย เพื่อจะส่งเสริมลงทุนในน้อง Startup ของมหาวิทยาลัยของตนเองด้วย

 

  โครงการ Startup Thailand League เป็นโครงการเพื่อจุดประกายเริ่มต้น ที่จะผลักดันให้เกิดรุ่นใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด เข้าไปอยู่ในอีโคซิสเต็มของ Startup  ให้สามารถเกิดธุรกิจได้จริง เกิดการลงทุน และสามารถขยายงาน ไม่เพียงใในประเทศไทย ตอนนี้เริ่มสามารถเปิดในเมืองบางประเทศบ้างแล้ว

 

นางสาวธนกฤตา  เจริญพานิช รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้า SMEs Start up ส่วนการตลาดลูกค้า SMEs Start up ธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินเข้ามาร่วมกับโครงการ Startup Thailand League หลายปีแล้ว ได้เห็นความเข้มแข็งและเติบโตขึ้น แผนธุรกิจมีความชัดเจนขึ้น     

 

ในส่วนของธนาคารออมสิน ปีนี้นอกจากที่จะมาในเรื่องของการให้เงินรางวัล ทั้งการแข่งขันในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศแล้ว ธนาคารออมสินมีทุนสนับสนุน หากน้อง ๆ จาก League ต้องการต่อยอดทำเป็นธุรกิจจริง สามารถยื่นแผนธุรกิจเข้ามาที่ธนาคารออมสินได้ ธนาคารมีทุนสนับสนุนเพื่อให้เติบโตไปเป็นผู้ประกอบการ

 

ธนาคารออมสินผลักดันโครงการนี้ และสร้างผู้ประกอบการระดับมหาวิทยาลัยแล้วกว่า 60 กิจการ บางรายสามารถเติบโตไปเป็นผู้ประกอบการที่มีระดับสูงขึ้น มาขอทุนโอเพ่นอินโนเวชั่นได้มากขึ้น หรือแม้แต่ขยายโรงงาน ให้สามารถผลิตและส่งออกไปถึงต่างประเทศแล้วก็มี ซึ่งก็เป็นศิษย์เก่าของ Startup Thailand League ด้วย ธนาคารออมสินพร้อมสนับสนุนภายใต้โครงการ สตาร์ทอัพ สมาร์ทคอมพานี

ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

สำหรับทีมชนะเลิศภาคเหนือ ได้แก่ ทีม CEOs magic patches จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอแผ่นแปะแก้ปวดเมื่อย เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาและคิดค้นให้ใช้งานง่าย พกพาสะดวก และเข้าถึงได้ง่าย โดยอ้างอิงการสำรวจผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดพบว่า แผ่นแปะทั่วไปที่มีจำหน่ายช่วยลดอาการปวดเมื่อย แต่ยังไม่สามารถช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย

 

ตรงนี้ทำให้เล็งเห็นถึงช่องว่างทางการตลาด จึงทำให้สนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นแปะลดอาการปวดเมื่อย และช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ลดอาการตึงเครียดให้อยู่ในผลิตภัณฑ์เดียวกัน โดยเป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดขึ้นมาใหม่จากทีมวิจัย โดยคิดค้นวิธีการสกัดสารที่มีส่วนประกอบของพริก ที่มีสรรพคุณและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการช่วยลดอาการปวดเมื่อย และวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยกัญชง ที่มีฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความ ผ่อนคลาย ลดอาการเครียด รวมถึงการพัฒนารูปแบบแผ่นแปะให้สามารถมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ภายในแผ่นแปะได้ โดยคิดค้นการตั้งต้น รับดังกล่าวขึ้นมาใหม่ภายใต้ทีมผู้เชี่ยวชาญ โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม ConnectTheDr จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอ Platform ระบบจัดการเวรแพทย์เอกชนในประเทศไทย เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคคลากรทางการแพทย์และสถานพยาบาลเอกชน ทั้งโรงพยาบาลเอกชน คลินิกเวชกรรมทั่วไป และคลินิกเวชกรรมเสริมความงามต่าง ๆ 

 

แพลตฟอร์มนี้จัดเป็นคอมมิวนิตี้สําหรับบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการดูแลในเรื่องของการจัดหา จัดจ้าง จัดซื้อ และขายงาน โดยที่จะรวบรวมงานด้านการแพทย์ ของสถานพยาบาลเอกชนทั้งหมดมาไว้ในแหล่งเดียว เพื่อสร้างเป็นแหล่งข้อมูล งานทางด้านการแพทย์ อีกทั้งยังมีระบบจัดการตารางงาน การขึ้นเวรของแพทย์ พร้อมทั้งมีระบบแจ้งเตือนการทํางาน ทําหน้าที่ เสมือนมีเลขาส่วนตัวคอยดูแลการทํางานตลอดเวลา ในส่วนของการคัดผู้เข้าใช้บริการแพลตฟอร์มนั้น มีข้อกําหนดคือ แพทย์ที่สมัครเข้าใช้บริการระบบ จะต้องได้รับการยืนยันตัวตน ว่ามีใบประกอบโรคศิลป์จริง ไม่ได้อยู่ในระหว่างการเพิกถอนใบประกอบฯ และ สถานพยาบาลเอกชนที่เข้าสมัครใช้บริการระบบ จะต้องทําการยืนยันตัวตน ว่าเป็นตัวแทนจากแต่ละสถานพยาบาลจริง

ภาคเหนือคัดดาวเด่น3ทีมส่งชิงชัยสุดยอด"สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์"ปีนี้ 

รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Powerpuffgirls จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอ KHANIP- Whitening Toner Pad แผ่นเช็ดขาหนีบเพื่อทำความสะอาดและขาวกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ
    1. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำมาใช้
    - ข้าวเหนียวดำ มีสารที่เรียกว่าโอรีซานอล ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม Dtyrosinase ทำให้ผิวบริเวณขาหนีบ ขาวกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว ช่วยลดอาการระคายเคืองผิว และยังเป็นสาร antioxidant อีกด้วย
    - สารสกัดมะขามป้อม สารสกัดจากมะขามป้อมมี AHA โดยธรรมชาติ ช่วยให้ความกระจ่างใสกับผิวและอุดมไปด้วยวิตามินซี และเป็นสาร antioxidant
    - นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยี Microencapsulation ไปใช้กับสารที่ใช้สารสำคัญที่อยู่ภายใน จะซึมเข้าสู่ผิวหนังอย่างรวดเร็ว และล้ำลึก ลดความระคายเคืองของสารออกฤทธิ์ สารสำคัญสามารถออกฤทธิ์ได้นานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น