วิธี เช็คยอดเงินชราภาพ ประกันสังคม พร้อมวิธีการคำนวณดูขั้นตอนได้ที่นี่

11 พ.ค. 2565 | 11:13 น.

วิธี เช็คยอดเงินชราภาพ ประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 www.sso.go.th พร้อมวิธีคำนวณดูขั้นตอนทั้งหมดได้ที่นี่

วิธี เช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคม www.sso.go.th  หลัง ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่  โดยเป็นการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีเงินชราภาพ ให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน โดยสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน (ขอเลือก ขอคืน และขอกู้)

  • กรณีให้ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ (ขอเลือก) 
  • กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (ขอคืน) 
  • กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ (ขอกู้) 

 

 

เช็คเงินชราภาพประกันสังคม

 

 วิธีเช็กยอดเงินชราภาพ ประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนมาตรา33/39 ดังนี้

  • คลิกไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th  ถัดจากนั้นเข้าสู่ระบบผู้ประกันตน / สมัครสมาชิก
  •  กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่าน
  •  สำหรับผู้ประกันตนมาตรา33/39 ที่เข้าเว็บนี้ครั้งแรกต้องทำการสมัครสมาชิก กรอกหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับรหัสการยืนยันตัวตน
  •  ล็อคอินเข้าระบบและเลือกผู้ประกันตน
  • เข้าสู่หน้า “ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน” โดยจะแสดงรายละเอียดของผู้ประกันตน
  • คลิก “ข้อมูลการส่งเงินสมทบ” จะแสดงข้อมูลปีล่าสุด และจะปรากฏจำนวนเงินที่เรานำส่งแต่ละเดือน ซึ่งเงินนี้จะถูกแยกเป็น 3 ส่วน

- เงินช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย (1.5%)

- เงินช่วยเหลือเมื่อว่างงาน (0.5%)

- เงินช่วยเหลือเมื่อชราภาพ (3%) รวมสูงสุด 750 บาทต่อเดือน

 

 

วิธีเช็กยอดเงินชราภาพ

 

เงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33/39

 

กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณ์สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ  ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทม

ตัวอย่าง ผู้ประกันตนได้รับคำจ้างเดือนละ 10,000 บาท คำนวณ ดังนี้

  • ถูกหักเงินสมทบ 5% ของค่าจ้าง (5 x 10,000) / 100 เท่ากับ 500 บาท
  • กรณีว่างงาน 0.5% (0.5 x 10,000) / 100   เท่ากับ 50 บาท
  • กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 3% (3 x 10,000) / 100  เท่ากับ 300 บาท 
  • ผู้ประกันตนอายุ 2 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 2 เดือน

 

*** ประโยชน์ทดแทนกรณ์บำเหน็จชรากาพจะได้รับ 300 x 2 เท่ากับ 600

  • การคำนวณเงินดือนของผู้ประกันตน ทางสำนักงานประกันสังคมจะทำการคำนวณจากเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

หมายแหตุ  ข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลที่มีในระบบ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่รวมยอดที่อยู่ระหว่างการบันทึก เงินสมทบค้างชำระหรือข้อขัดข้องอื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา.

 

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม