“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

07 พ.ค. 2565 | 06:50 น.

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง รายได้เท่าเดินแต่รายจ่ายเกินตัว  ค่าโดยสาธารณะ ค่าน้ำมัน และอาหารสด ทั้งเนื้องสัตว์ ไข่ไก่ที่มีราคาสูงขึ้น

ของแพง ค่าครองชีพแพง สวนทางกับรายได้ของประชาชนที่ยังเท่าเดิม หลายคนต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าเงินในกระเป๋าเท่าเดิมแต่ข้าวของที่ซื้กลับแพงขึ้นทุกวัน   ทั้งนี้ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่เท่าเดิมแต่ของราค้าและบริการเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่า อำนาจในการจับจ่ายใช้สอยลดลง

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อ สูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก   หมายความว่ารายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไป หรือต่ำไป จนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น 

 

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

สาเหตุหลักๆที่ดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และการเลิกตรึงราคาดีเซล ที่ปล่อยให้ขึ้นแบบขั้นบันได จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและการผลิตสินค้า และยังมีการสูงขึ้นของก๊าซหุงต้ม รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป ที่ยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

และยังมีผลกระทบจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเม.ย.2565 เท่ากับ 105.15 เทียบกับมี.ค.2565 เพิ่มขึ้น 0.34% เทียบกับเดือนเม.ย.2564 เพิ่มขึ้น 4.65และส่งผลให้4 เดือนปี 2565 (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่มขึ้น 4.71%

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

เรามาดูกันว่า ใน1 เดือน ประชาชนจ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้  โดยพบว่า 59.28%  เป็นการซื้อสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮออล์  เช่น ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ สูงถึง23.94%   ซื้อเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 2.12%  จ่ายค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง  22.17% จ่ายค่าแพทย์ ค่ายา 5.45%  ค่าหนังสือค่าเล่าเรียน 4/24%  และ 1.35%จ่ายเงินไปกับค่าบุหรี่ เหล้าเบียร์  เป็นต้น

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

และอีก40.72% เป็นการซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮออล์การบริโภคของครัวเรือน  เช่น ค่าอาหารนอกบ้าน  6.85% ค่าเครื่องปรุงอาหาร2/17%  เนื้อสัตว์ 9.43% ผักและผลไม้ 5.20% ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์นม 2.11%  ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 3.65%  กินข้าวนอกบ้าน 8.89% เป็นต้น

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนเม.ย.65 มีรายจ่ายรายเดือนที่แต่ละครัวเรือนต้องจ่ายคือ  17,681บาท แบ่งเป็น 

  • ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,233บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 3,919 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,667 บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน เดริเวอรี่ 1,572บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า) 1,211 บาท
  • ผักและผลไม้  919 บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล  964บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 750บาท
  • ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง  646 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร 428 บาท
  •  เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 384บาท
  •  ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า  374บาท
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม 374บาท
  • ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 239 บาท

“คนไทย”จ่ายเงินไปกับอะไรบ้างในยุคข้าวของแพง